“กันไว้ดีกว่าแก้ เพราะถ้าแย่เดี๋ยวจะแก้ไม่ทัน” สุภาษิตโบราณนี้เข้ากับทุกยุคสมัย โดยเฉพาะแนว นิยมด้านสุขภาพในปัจจุบันที่เน้นเชิงป้องกันมากขึ้น ทั้งการออกกําลังกาย อาหารการกิน อาหารเสริม และการตรวจสุขภาพประจําปี หนึ่งในหัวข้อสําคัญ สําหรับการตรวจสุขภาพ ได้แก่ การตรวจคัดกรอง โรคมะเร็ง
(การตรวจคัดกรองหมายถึงการตรวจหา โรคแม้มีได้มีอาการ) โรคใดบ้างที่ควรได้รับการตรวจ คัดกรอง และเหตุผลคืออะไร ซึ่งองค์การอนามัย โลกให้คําอธิบายและหลักเกณฑ์ไว้ชัดเจนดังนี้ 1.เป็นโรคที่พบบ่อย 2.เป็นโรคที่มีระยะเวลาที่ไม่แสดง อาการยาวนาน 3.เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ 4. วิธีการตรวจมีความแม่นยําและเชื่อถือได้ 5. วิธีการ ตรวจเป็นที่ยอมรับ
โรคที่มีคุณสมบัติครบถ้วนชัดเจนคือ มะเร็ง เต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง และเป็นโรคเงียบ กล่าวคือ มีระยะเวลาที่ไม่แสดง อาการยาวนานจากรอยโรคเล็กๆ ใช้เวลาเจริญ เติบโตจนกระทั่งเป็นก้อนที่คลําได้เฉลี่ยถึงสองปี ซึ่ง การตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรมและอัลตรา ชาวต์เต้านมจะช่วยให้เริ่มวินิจฉัยและรักษาได้เร็ว ขึ้นมาก ส่งผลถึงความยุ่งยากในการรักษาและอัตรา การหาย ในขณะเดียวกันการรักษามะเร็งเต้านม ในปัจจุบันได้ผลดีมาก มากกว่า 70% ของผู้ป่วย สามารถหายขาดจากโรคได้ การตรวจคัดกรองโรค มะเร็งเต้านม วิธีที่เป็นมาตรฐานได้แก่การทําแมม โมแกรม ซึ่งก็คือการเอ็กซเรย์เต้านมนั่นเอง แต่เป็น เครื่องมือที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อการตรวจเต้า นม มีสองขั้นตอน ได้แก่ การบีบเนื้อเต้านมและ การเอ็กซเรย์ เป้าหมายของการบีบเนื้อเต้านมคือ การทําให้ความหนาของเนื้อที่จะเอ็กซเรย์บางลง
เพื่อลดการทับซ้อนกันของเนื้อเยื่อเต้านมส่งผลให้ ตรวจพบก้อนได้ง่ายมากขึ้นและใช้รังสีน้อยลง ซึ่ง ในปัจจุบันกล่าวได้ว่าปริมาณรังสีที่ได้รับน้อยมากๆ จนไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด ความผิดปกติที่อาจ เกิดจากมะเร็งและสามารถเห็นในแมมโมแกรม ได้แก่ ก้อนในเต้านม, หินปูนเกาะผิดปกติในเนื้อเต้านม และโครงสร้างที่ผิดรูปไปของเต้านม อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจส่งผลให้ความแม่นยําในการตรวจ เต้านมด้วยการทําแมมโมแกรมลดลง เช่น ในผู้ที่มี ความหนาแน่นของเนื้อเต้านมสูง เต้านมจะมีความ ทึบรังสีมากขึ้น และอาจซ้อนทับกันจนบังก้อนที่มี อยู่ได้ ในกรณีที่เนื้อเต้านมมีความหนาแน่นสูงนี้ อาจส่งผลให้ความแม่นยําในการตรวจคัดกรองด้วย แมมโมแกรมอย่างเดียวลดลงมากถึง 50% ซึ่งการ ตรวจเสริมด้วยอัลตราซาวด์จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เป็นอย่างดี
การตรวจอัลตราซาวด์เต้านม เป็นการตรวจ ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแบบเดียวกับการอัลตรา ซาวด์ช่องท้องที่เราคุ้นเคยนั่นเอง การทํางานของ การเครื่องมือนี้คล้ายกับโซนาร์ที่ใช้หาปลาทะเล แต่ภาพที่ได้มีความละเอียดมากกว่า โดยหัวตรวจ อัลตราซาวด์จะปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงออกมา และรับคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับเอามาประมวลผล สร้างเป็นภาพ โดยมีหลักการว่าเนื้อเยื่อแต่ละชนิด จะสะท้อนเสียงกลับได้ไม่เท่ากัน จากนั้นเอาข้อมูลที่ ได้ทั้งความลึกและปริมาณเสียงที่สะท้อนกลับมา สร้างเป็นภาพ อัลตราซาวด์สามารถตรวจหาก้อน ในเต้านมได้แม้เนื้อเยื่อจะมีความหนาแน่นมากจน ไม่สามารถตรวจด้วยแมมโมแกรมได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองยังจําเป็นต้องใช้การตรวจแมม โมแกรม เพราะลักษณะหินปูนที่เกาะในเนื้อเต้านม และโครงสร้างที่ถูกดึงบิดไปยังเป็นรอยโรคที่พบโดย แมมโมแกรมและแทบจะไม่เห็นในอัลตราซาวด์เลย
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในยุโรปตะวัน ตกหรือสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่จะเป็นบริการที่จัดโดย รัฐให้ตรวจได้ฟรี และเป็นการตรวจแมมโมแกรมเพียง อย่างเดียว จนเมื่อพบความผิดปกติจึงจะเรียกกลับ มาตรวจซ้ําด้วยอัลตราซาวด์ แต่ในประเทศไทยเรา มักพบผู้หญิงที่เต้านมมีความหนาแน่นสูง (เต้านมเล็ก กว่า แต่ปริมาณต่อมน้ํานมเท่ากัน) ซึ่งมีผลให้ความไว ของแมมโมแกรมในการตรวจหาก้อนลดลง ดังนั้นใน ประเทศไทยเราจึงตรวจทั้งแมมโมแกรมและอัลตรา ชาวดเต้านมไปพร้อมๆ กัน จากรายงานการวิจัยพบ ว่าการตรวจแมมโมแกรมเพียงอย่างเดียวมีความไว ในการวินิจฉัยความผิดปกติได้ประมาณ 85-90% แต่ ในเต้านมที่มีความหนาแน่นสูงความไวในการตรวจ
จะลดลงเหลือเพียง 35-50% แต่ถ้าได้รับการตรวจ อัลตราซาวด์ร่วมด้วยความไวในการตรวจพบความ ผิดปกติจะเพิ่มกลับไปเป็น 90-95% เกณฑ์ที่มีเหตุผล ทางวิชาการเป็นที่ยอมรับทั่วโลกสําหรับการตรวจคัด กรองมะเร็งเต้านมคือ ควรได้รับการตรวจคัดกรอง ทุกปี โดยเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปี และตรวจ ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ยังสามารถใช้ชีวิตประจําวัน ปกติได้เครื่องมืออื่นๆ ที่มีความพยายามนํามาใช้ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแต่ยังพบว่าไม่เหมาะ สมนัก ได้แก่ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Breast) การตรวจวิธีนี้มีความไวในการตรวจ พบความผิดปกติสูงมากกว่าแมมโมแกรมมาก แต่ ในขณะเดียวกันกลับพบว่าความไวที่มากเกินไป นี้ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดโดยไม่จําเป็น เพิ่มมากขึ้น อาจพูดได้ว่าการตรวจวิธีนี้มีความไว มากเกินไปจนทําให้มองเห็นรอยโรคที่ไม่ใช่มะเร็ง เป็นรอยโรคที่มีความน่าสงสัย
ดังนั้นการนําวิธี การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ในผู้ป่วย ทั่วไปยังเป็นสิ่งที่เกินความจําเป็น แต่สามารถนํา มาใช้ได้ด้วยความระมัดระวังหรือใช้ในผู้ที่มีความ เสียงสูงมาก เช่น ทราบแน่นอนว่ามีพันธุกรรมผิด ปกติ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง สารบ่งชี้มะเร็งคือ สารที่สร้างโดยเซลล์มะเร็งและไม่สร้างโดยเชลล์ ปกติหรือสร้างในปริมาณต่ํามากๆ ถ้ากล่าวเพียง แค่นี้โดยคําจํากัดความแล้วสารบ่งชี้มะเร็งน่าจะ ใช้ในการตรวจหามะเร็งได้และมีความสะดวกใน การใช้อย่างมาก เพราะใช้แค่การตรวจเลือด แต่ ในความเป็นจริงสารต่างๆ เหล่านั้นแม้ไม่สร้าง โดยเชลล์ปกติ แต่กลับมีการตรวจเลือดพบสารบ่ง ชี้มะเร็งต่างๆ ได้สูงมากขึ้นในภาวะที่มีการอักเสบ ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย สารบ่งชี้มะเร็งเกือบ ทั้งหมดมีความไวต่ําและมีความจําเพาะต่ํา กล่าว คือ แม้ขณะเป็นมะเร็งก็อาจตรวจไม่พบสารบ่ง ชี้มะเร็ง โชคร้ายไปกว่านั้นบางขณะแม้ไม่เป็น มะเร็งก็ยังอาจตรวจพบสารบ่งชี้มะเร็งสูงขึ้นได้ อีกด้วย ซึ่งทําให้เกิดความยุ่งยากอย่างมากกว่าจะ สามารถวินิจฉัยได้แน่นอนว่าไม่ได้เป็นมะเร็งและ ยังเสียสุขภาพจิตอย่างร้ายแรงอีกด้วย