โดย ทพ.วิจิตร ธรานนท์
หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า รากเทียม (dental implant) หรือไม่ทราบว่า รากเทียม คืออะไร
และมักจะมีคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น รากเทียมฝังในคนสูงอายุได้หรือไม่ รากเทียมมีอายุการใช้งานนาน
เท่าไหร่ การฝังรากเทียมเจ็บหรือไม่ เป็นต้น ในบทความนี้จะได้อธิบายถึงภาพรวมของงานทันตกรรมราก
เทียมตั้งแต่ รากเทียมคืออะไร มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร ปัญหาที่เกิดจากการฝังรากเทียมที่พบได้บ่อยๆ
มีอะไรบ้าง
รากเทียม (Dental Implant)
รากเทียมเป็นวัสดุที่ทำมาจากโลหะ titanium ซึ่งโลหะชนิดนี้สามารถเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้ ไม่ก่อให้
เกิดพิษหรืออันตราย รากเทียมค้นพบโดย Professor Branemark ในปี ค.ศ.1952 ซึ่งประมาณ 60 ปี
ก่อน สำหรับประเทศไทยเริ่มมีการนำรากเทียมเข้ามาได้ประมาณ 15 ปีก่อน
ในระยะแรกๆ มักจะมีการฝังรากเทียมในคนสูงอายุ เนื่องจากคนสูงอายุมักจะต้องใช้ฟันปลอมชนิดถอนได้
ทั้งปาก (full denture) ปัญหาที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ ฟันปลอมล่างมักจะไม่แน่นหรือหลุดง่ายขณะใช้งาน
หรือใช้บดเคี้ยวอาหารได้ไม่ดี ดังนั้นการฝังรากเทียมเพื่อช่วยยึดฟันปลอม จะทำให้ฟันปลอมถูกยึดแน่นขึ้น
และสามารถใช้งานหรือมีประสิทธิภาพการบดเคี้ยวดีขึ้น ในระยะต่อมาๆ มาเริ่มมีการประยุกต์นำรากเทียม
มาฝังในคนหนุ่มสาวมากขึ้นโดยฝังรากเทียม เพื่อทดแทนฟันแท้ที่สูญเสียซึ่งอาจจะเนื่องจากอุบัติเหตุหรือ
ฟันผุ เป็นต้น
ส่วนประกอบของรากเทียม
รากเทียมเมื่อทำสำเร็จ เช่น ฟัน 1 ซี่ จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1.รากเทียม (fixture)
2.เดือยรองรับครอบฟัน (Adutment)
3.ครอบฟัน (Crown)
1.รากเทียม (fixture)
2.เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment)
3.ครอบฟัน (crown)
รากเทียมในปัจจุบันมีหลายขนาดด้วยกัน แล้วแต่ระบบหรือบริษัทที่ผลิต โดยทั่วไปจะมีขนาดเล็ก
ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ทันตแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะฝังรากเทียม
หลังจากที่ฝังรากเทียมเรียบร้อยแล้ว และปล่อยให้กระดูกเจริญเข้ามายึกกับรากเทียมอย่างแน่นหนา
แล้ว ก็จะมีการนำเดือยเข้ามาขันใส่เข้าไปในรากเทียมอีกที เพื่อจะได้ใช้เป็นที่รองรับครอบฟัน ซึ่ง
ส่วนนี้ทำสำเร็จรูปมาแล้วจากบริษัทที่ผลิต
ครอบฟันที่ใช้สำหรับงานทันตกรรมรากเทียม จำเป็นต้องทำรากโลหะที่เป็น Semiprecious
หรือ precious alloy ทั้งนี้เพื่อให้เข้ากันได้กับโลหะที่ใช้ทำรากเทียม ส่วนด้านนอกของครอบฟัน
จะทำด้วยกระเบื้อง (poreclain)
ขั้นตอนการรักษา
เมื่อผู้ป่วยตัดสินใจที่จะรับการฝังรากเทียม ทันตแพทย์ก็จะพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลองฟันออกมาใช้สำหรับ
วางแผนการรักษา และทำเครื่องมือที่ช่วยในการฝังรากเทียมให้ถูกต้องด้วย นอกจากนี้จำเป็นต้องถ่าย x-ray
เพื่อศึกษาตำแหน่งที่จะฝังเทียมว่าอยู่ใกล้กับอวัยวะที่สำคัญอะไรบ้าง ที่สำคัญ ได้แก่ maxillary sinus
หรือ inferier alvevlar nerve เป็นต้น
โดยทั่วๆ ไปถ้าสันเหงือกของผู้ป่วยมีขนาดที่เหมาะสมก็สามารถฝังรากเทียมได้เลย แต่ในบางกรณีที่สัน
เหงือกบาง หรือกระดูกบางไม่เพียงพอแก่การฝังรากเทียม ก็จำเป็นต้องปลูกกระดูกก่อนประมาณ 3 เดือน ถึง
จะฝังรากเทียมได้
การฝังรากเทียมจะทำร่วมกับการฉีดยาชาเฉพาะที่ หรือบางกรณีที่ผู้ป่วยกลัวหรือวิตกกังวล ก็อาจจะวางยา
สลบได้ หลังจากที่ฝังรากเทียมเรียบร้อยแล้วก็จะทิ้งเอาไว้ประมาณ 3-6 เดือน แล้วแต่บริเวณที่ฝังโดยทั่วไป
รากเทียมที่ฝังในขากรรไกรล่างจะทิ้งไว้ 3 เดือน ในขณะที่รากเทียมที่ฝังที่ขากรรไกรบนจะฝังเอาไว้นาน
6 เดือน ก่อนที่จะใส่เดือยแล้วทำครอบฟัน
โรคแทรกซ้อน (complications)
ปัญหาหรือโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการฝังรากเทียมที่พบบ่อยๆ ได้แก่
1.บวม
2.เลือดออก
3.โรคติดเชื้อ
4.ชาริมฝีปากล่าง
5.รากเทียมไม่ติด
6.ฝังรากเทียมไม่ได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาของทันตกรรมรากเทียมมีราคาสูงมาก ควรหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
ให้น้อยที่สุด ผู้ป่วยควรที่จะได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมรากเทียม ซึ่งโดยทั่วไปจะ
ทำงานกันเป็นทีมให้บริการแก่ผู้ป่วย ได้แก่ ศัลยแพทย์ช่องปาก (oral & maxillofacial surgeon)
และทันตพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการใส่ฟัน (Prosthodentist) ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวจะวางแผนการฝังราก
เทียมได้อย่างรอบคอบ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง