นายแพทย์ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย อายุรแพทย์ และ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินอาหาร
และโรคตับ ร.พ. พระรามเก้า
1. เชื้อนี้ทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายรูปแบบดังนี้ครับ
ลำใส้อักเสบ ท้องเสีย หรือ ปวดท้อง gastroenteritis
ไข้สูง ไข้ไทฟอยด์ enteric fever
ติดเชื้อในกระแสเลือด บางคนมี ช๊อคร่ามด้วย bacteremia
ติดเชื้อในระบบเส้นเลือด หรือ หัวใจ endovascular infections
ติดเชื้อเฉพาะที่เล็ก ๆ เช่นติดเชื้อในกระดูก หรือ เป็นฝี focal infections such as
osteomyelitis and abscesses
2. ติดเชื้อได้มากขนาดไหน เป็นปัญหาสำคัญหรือไม่
มีการศึกษาพบว่ามีการติดเชื้อกลุ่มนี้ถึง 2-4 ล้านคนในประเทศอเมริกาเลยครับ
ส่วนใหญ่เป็นลักษณะท้องเสีย ปวดท้อง มากที่สุด
การติดเชื้อ จากอาหาร พบถึง 9.7 % ของการติดเชื้ออาหารเป็นพิษจากแบคทีเรีย และ ทำให้เกิด
การเสียชีวิตในอาหารเป็นพิษจากเชื้อนี้มากกว่าเชื้ออื่น คือ ประมาณถึง 30.6 % ในการศึกษาในปี
1999
ลักษณะการติดเชื้อ
พบว่าการรับเชื้อเข้าไปมาก ๆ จะมีระยะฟักตัวเร็วกว่า (เป็นไม่นานหลังรับเชื้อ) ได้รับเชื้อไปน้อย
การรับเชื้อน้อย ๆ บางราย อาจรับไปแล้วไม่ป่วย แต่เป็นพาหะนำเชื้อต่อ โดยไม่มีอาการ ขณะเดียว
กันคนที่รับเชื้อไปน้อยมาก ก็ตามก็ป่วยได้เช่นกัน
การรับยาฆ่าเชื้อ อาจทำให้เชื้อเข้าไปในตัวลดลง จนอาจทำให้ป่วยลดลง หรือ ไม่ป่วย
ภาวะที่ไม่มีกรดในท้อง เช่น ในเด็กแรกเกิด เคยผ่าตัดกระเพาะ หรือ ได้ยาโรคกระเพาะมาก่อน
จะทำให้เกิดติดเชื้อโรคนี้ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่มีกรดเป็นด่านในการฆ่าเชื้อนี้ครับ
พบว่าการแพร่ในน้ำดื่มจะมีเชื้อเจือจางน้อยกว่า จึงเป็นเฉพาะเพียงบางคนเท่านั้น และ ใช้ระยะ
ฟักตัวช้ากว่าในอาหาร คือ การแพร่ทางน้ำอาจตรวจพบได้ช้ากว่าการพบในอาหาร และ ไม่เป็น
กันทุกคน หรือ มาเป็นภายหลังดื่มเป็นวัน ๆ ก็ได้ครับ
เชื้อไทฟอยด์ อาจค้างอยู่ในเนย เนื้อแช่แข็ง หรือ ice cream เป็นเดือน ๆ ก็ได้ครับ