ปัญหาของผู้สูงอายุ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ หู-คอ-จมูก ที่สำคัญคือ
คอ-จมูก
นอนกรน
กรณีเช่นนี้จำเป็นต้องรีบตรวจหาตำแหน่งที่เป็นสาเหตุของโรค โดยการใช้กล้อง Flexible ENT-scope ทำ
Muller’s test (ภาพ 3) และการสังเกตตรวจจับความผิดปกติเวลานอน (Sleep study)
การแพทย์ปัจจุบันเราสามารถแก้ไขเรื่องนอนกรน และทางเดินหายใจติดขัดเวลานอน โดยการผ่าตัดและ/หรือ
การใช้เครื่องมือพิเศษอื่น ๆ ได้ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ และเป็นการแก้ไขที่ต้น
เหตุที่แท้จริง .
ผู้สูงอายุที่พบว่านอนกรนมาก กลางคืนนอนมีหายใจสะดุด ตื่นบ่อย หายใจติดขัด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ
นำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง , โรคหัวใจ สมอง-ความจำเสื่อม มีอาการเพลียเมื่อตื่นนอนตอนเช้า แม้จะนอน
วันละ 7-8 ชั่วโมงก็ตาม สาเหตุจากทางเดินหายใจติดขัดเวลานอน (Obstructive sleep apnea) ทำให้ออกซิเจน
ไปเลี้ยงสมองไม่พอ มีแก๊ส CO2 คั่งในร่างกายการตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีเชื้อสายจีนตอนใต้ เช่น แต้จิ๋ว, กวางตุ้ง ,
ไหหลำ เป็นต้น และผู้ที่มีประวัติ สูบบุหรี่มาเป็นเวลาหลายปี แม้ขณะนี้จะหยุดสูบไปแล้วก็ตาม ควรได้รับการ
ตรวจทาง หู-คอ-จมูก ร่วมกับการส่องกล้องตรวจช่องจมูก – กล่องเสียง (Flexible rhinonasopharyngo –
laryngoscopy) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการตรวจหามะเร็งในช่อง-หลังจมูก และกล่องเสียง ถ้าเกิดพบความผิด
ปกติ จะได้รับการรักษาในระยะต้นๆ มะเร็งในระยะต้นๆ ซื่งโอกาสรักษาให้หายขาดก็มีสูงขึ้น (ภาพ 2)
การได้ยินลดลง – หูตึง
อันตรายจากมะเร็งของช่องจมูก-คอ-กล่องเสียง
เรื่องทางเดินหายใจติดขัดเวลานอน – นอนกรน ซึ่งมักจะถูกมองข้ามความสำคัญไป
หูตึง
คนอายุเกินกว่า 60-70 ปี อาจมีประสาทหูเสื่อมโดยเฉพาะในย่านความถี่สูง จะมากหรือน้อยนั้น บางส่วน
เกี่ยวข้องกับทางกรรมพันธุ์ ผลกระทบต่อการได้ยินจะยิ่งรุนแรง ถ้าผู้สูงอายุนั้นเคยมีปัญหาเรื่องหูน้ำหนวก
หรือเคยได้รับผลกระทบจากเสียงดังเกินขนาดมาก่อนในช่วงเยาว์วัย
อาการหูตึง อาจแสดงออกในลักษณะต่างๆ กันเช่น
1. เวลาสนทนาในหมู่คนมากๆ จะฟังคำพูดลำบาก
2. ต้องอาศัยการมองริมฝีปากผู้พูด ถึงจะจับความได้ดีขึ้น
3. มีคนทักท้วงว่าฟังคำพูดผิดบ่อยๆ กว่าแต่ก่อน
ก่อนใช้เครื่องขยายเสียง – เครื่องช่วยฟัง ควรตรวจการได้ยินโดยผู้ชำนาญเสียก่อน ผลการตรวจที่ละเอียดไม่เพียงแต่ทำให้เราสามารถเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมแต่ยัสามารถช่วยตรวจหาสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้หูตึงได้ เช่น โรคของหูส่วนกลาง ซึ่งสามารถรักษา – ผ่าตัด ให้ดีขึ้นได้
ผู้สูงอายุถ้าการได้ยินเสื่อมลงอย่างรวดเร็วอาจมีสาเหตุอื่นๆ นอกจากประสาทหูเสื่อมตามอายุ เช่น การมีน้ำขัง