ในอดีตผู้ป่วยที่มีความพิการหรือสูญเสียอวัยวะของบริเวณใบหน้า อาจจะมีสาเหตุเนื่องจาก
1. อุบัติเหตุ (Trauma)
2. ภายหลังการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งของใบหน้าและช่องปาก (Cancer Surgery)
3. ความพิการนั้นอาจจะเป็นมาตั้งแต่กำเนิด (Congenitial anomalies)
ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีความจำเป็นต้องอำพรางบริเวณที่มีการสูญเสียอวัยวะไป ทำให้ไม่มีความมั่นใจในการใช้
ชีวิตในสังคม เช่น ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียใบหูไปมักจะใช้ผมปกปิดบริเวณดังกล่าว ผู้ป่วยที่สูญเสียตามักจะใส่
แว่นตาเพื่ออำพราง เป็นต้น
ในปัจจุบันงานทันตกรรมรากฟันเทียม ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมากจนกระทั่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก
และถือว่าเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งของงานทันตกรรม จากผลสำเร็จอย่างสูงของการฝังรากฟันเทียมในกระดูก
ขากรรไกร เพื่อรองรับฟันปลอม ทำให้มีการพัฒนา และประยุกต์การฝังรากเทียมที่บริเวณกระดูกขากรรไกร
และใบหน้า เพื่อใช้เป็นที่ยึดเกาะอวัยวะเทียมของบริเวณใบหน้า เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้
สูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมาผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะใช้กาวเป็นตัวยึดอวัยวะเทียมเหล่านั้น ซึ่งเมื่อมีเหงื่อออกก็จะทำ
ให้อวัยวะเทียมดังกล่าวหลุดออกมาได้ง่าย
ผู้ป่วยกลุ่มใดบ้างที่เหมาะสมที่สามารถรับการฝังรากเทียมได้
1.) ผู้ป่วยที่มีความพิการเนื่องจากได้รับอุบัติเหตุ (รูปที่ 1)
2.) ผู้ป่วยที่มีความพิการมาตั้งแต่กำเนิด (รูปที่ 2)
3.) ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งบริเวณใบหน้า และได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้ว (รูปที่ 3)
ขั้นตอนการฝังรากเทียมบริเวณกระดูกใบหน้า
ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียอวัยวะบริเวณใบหน้าเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือผู้ป่วยที่มีความพิการตั้งแต่กำเนิดสามารถที่
จะรับการฝังรากเทียมได้เลย ส่วนผู้ป่วยที่เคยผ่านการฉายแสงมาก่อนหรือรักษามะเร็งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ
ต้องได้รับ hyperbanc oxygen ก่อนการฝังรากเทียม เพื่อช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยง
บริเวณนั้นมากยิ่งขึ้น
การฝังรากเทียมบริเวณกระดูกใบหน้า จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ และการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
ระหว่างศัลยแพทย์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (เป็นทันตแพทย์ที่ได้ผ่านการอบรมเฉพาะทางสาขานี้) และ
ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำอวัยวะเทียมของใบหน้า (Maxillofacial prosthetist)
ขั้นตอนการทำงาน เริ่มจากการจำลองอวัยวะเทียมบริเวณที่มีปัญหาก่อน แล้วจึงกำหนดตำแหน่งที่จะฝังราก
เทียม ซึ่งโดยปกติจะฝังประมาณ 2 – 3 ตัว เพื่อใช้เป็นหลักสำหรับยึดเกาะอวัยวะเทียม (รูปที่ 4)
การฝังรากเทียมจะทำภายใต้การวางยาสลบ เนื่องจากอาจจะมีการทำศัลยกรรมอย่างอื่นร่วมด้วย การฝังราก
เทียมดังกล่าวอาจจะทำการผ่าตัดครั้งเดียว หรือสองครั้ง แล้วแต่กรณีๆ ไป ภายหลังจากที่ฝังรากเทียมใน
กระดูกแล้วก็จะรอให้รากเทียมยึดติดกับกระดูก (Osseointegration) เป็นระยะเวลาประมาณ 3 – 4 เดือนก่อน
ที่จะเริ่มทำอวัยวะเทียมนั้นๆได้ (รูปที่ 5 , 6)
ข้อดีของการฝังรากเทียม บริเวณกระดูกใบหน้า ได้แก่ เป็นที่ยึดเกาะที่ดีแก่อวัยวะเทียมต่างๆ โดยไม่ต้อง
คำนึงถึงเรื่องเหงื่อออก, ทำให้เพิ่มความมั่นใจแก่ผู้ป่วยในการนำไปสู่สังคม, การดูแลรักษาความสะอาดง่าย
ข้อเสียของการฝังรากเทียม บริเวณกระดูกใบหน้า นอกจากเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงแล้ว จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยว
ชาญที่เคยผ่านการทำงานด้านนี้ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด.