Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ตับอักเสบฉับพลัน และข้อแนะนำสำหรับผู้มีตับอักเสบ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 8 พฤษภาคม 2019

คำแนะนำ การตรวจดูว่ามีอาการตับอักเสบ แทรกซ้อนหรือยัง หรือ มีความเสี่ยงตับอักเสบ

กรณีมีอาการผิดปกติ เช่น

– มีไข้ – ปัสสาวะเข้มขี้น – ตัว หรือ ตาเหลือง

– อ่อนเพลีย – ท้องโตขึ้น – ปวดท้อง แน่นท้อง

– ซึมลง – จ้ำเลือดตามตัว

: ควรปรึกษาแพทย์

ข้อแนะนำสำหรับผู้มีตับอักเสบ

– ข้อแนะนำทั่วไป

: แรกสุดต้องแน่ใจว่าตับอักเสบเกิดจากสาเหตุที่หมอแนะนำจริงนะครับ ให้ปรึกษากับหมอที่ดูแลครับ เพราะตับอักเสบอาจจากเรื่องอื่นไม่ได้จากที่หมอบอกมาก็ได้ครับ คือที่หมอบอกมาผลไม่แน่นอนหรือไม่ แพทย์ที่ดูแลจะตอบได้ครับว่าแน่นอนขนาดไหน ไม่ได้สงสัยโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่
1 ควรตรวจเช็คกับแพทย์ตามที่แนะนำครับ
2 การปฏิบัติตัว ควรหลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสมุนไพร ที่มีผลต่อตับ
3 เลี่ยงการทำงานหนักหักโหม อดนอน ให้นอนพักเยอะ ๆ
4 หลีกเลี่ยงยากดภูมิต้านทาน ยาภูมิแพ้ เช่นยากลุ่ม steroid ถ้าหมอไม่แนะนำ
5 งดดื่มเหล้า ยาดองเหล้า
6 อย่ากินถั่วบด ข้าวโพดแห้ง หรือ พริกป่นที่ทิ้งค้าง ทำค้าง เพราะอาจมีเชื้อราอัลฟาร์ทอกซิน กระตุ้นให้เกิดมะเร็งตับได้
7 มีอาการผิดปกติ เช่น

– มีไข้ – ปัสสาวะเข้มขี้น – ตัว หรือ ตาเหลือง

– อ่อนเพลีย – ท้องโตขึ้น – ปวดท้อง แน่นท้อง

– ซึมลง – จ้ำเลือดตามตัว

: ควรปรึกษาแพทย์
8 ระวังมีดโกนหนวด ตุ้มหู ระวังแปรงสีฟัน และ แม้การติดต่อทางน้ำลายไม่ใช่การติดต่อหลัก แต่ ก็ควรแยกช้อนกลางทานอาหารไว้ก่อนจะดีกว่าครับ
9 ควรเช็ค และพิจารณาฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ หลังหายอักเสบฉับพลัน
10 อาหารไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ปัจจุบันเลิกความเชื่อการกินน้ำหวานแล้ว ให้ทานตามปกติ และ ตรงข้ามครับ อย่ากินหวานจัดเพราะจะเปลี่ยนเป็นไขมันทำให้ตับอักเสบมากขึ้นได้ครับ
– ระวังเพียงอาหารควรสุกสะอาดระวังท้องเสียแทรกซ้อนนะครับ

– ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับคนที่มีตับอักเสบ เพิ่มเติม แยกตามสาเหตุ

A. กรณีตับอักเสบจากการกินยาที่มีผลต่อตับ

1. กรณีตับอักเสบจาก แพ้แบบภูมิแพ้ยา ให้งดยานั้นเด็ดขาด

: แต่ถ้าเป็นตับอักเสบเพราะอักเสบเพราะรับยาเกินขนาดปกติ สามารถรับยานั้นอีกได้

: ให้ปรึกษาแพทย์ว่าเป็นแบบไหนกันแน่ รับยานี้ได้อีกหรือไม่ หรือห้ามทานยานี้เด็ดขาด

: ความแน่นอนในการวินิจฉัยจะดูที่การอักเสบหายภายใน 1 เดือนหรือไม่ มักแน่นอนว่าการอักเสบนั้นเกิดจากยา กรณีค่าการอักเสบลดลงแค่ครึ่งหนึ่งภายใน 1 เดือน ความแน่นอนจะลดลงว่าเกิดจากยาแน่นอนหรือไม่ อาจต้องตรวจสาเหตุตับอื่น ๆ เพิ่มเติมครับ

B. กรณีตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ

– ควรนำญาติหรือผู้ที่มีตับอักเสบในครอบครัวร่วมด้วยที่อาจเป็นสาเหตุ หรือ อาจติดจากเราไปเช็ค และระวังแพร่ติดไปยังผู้อื่น เช่น นำคู่สมรสหรือแฟน ที่เรายุ่งเกี่ยวด้วยมาเช็ค และ ฉีดวัคซีนป้องกัน

– การหายหรือไม่อยู่ที่ภูมิต้านทานเรา และ ไวรัสที่มีมากน้อยเพียงใดครับ และ ทำตามข้อ 1-10 ให้เคร่งครัดนะครับ

บทความล่าสุด

ทำไมกินหมูแล้วหูดับ?

อ่านเพิ่มเติม
หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ทำไมกินหมูแล้วหูดับ?

โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อสู่คนได้ 2 ทาง

อ่านเพิ่มเติม
หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา