เช็คตรงนี้ก่อน คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?
สัญญาณโรคหลอดเลือดหัวใจตี
แน่นหน้าอก
ปวดร้าวไปที่กราม แขน หรือไหล่ซ้าย
เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง
นั่งพักแล้วอาการแน่นหน้าอกดีขึ้น
“หากมีอาการเหล่านี้ ควรหาสาเหตุอย่างเร่งด่วน
เพราะอาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ”
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ รักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft – CABG)
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ คือ การต่อหลอดเลือดใหม่ให้กับเส้นเลือดหัวใจเพื่อเลี่ยงตำแหน่งที่มีการตีบหรือตัน โดยจะทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น
“หลักการนี้ คล้ายกับการสร้างถนนเลี่ยงเมือง
เพื่อเลี่ยงการจราจรติดขัดนั่นเอง”
ผ่าตัดบายพาสหัวใจ ทำอย่างไร?
เลือก “หลอดเลือด” ที่จะนำมาทำบายพาส
ศัลยแพทย์หัวใจจะทำการเลือกหลอดเลือด ที่มีคุณภาพดีจากส่วนอื่นในร่างกายผู้ป่วย เช่น หลอดเลือดดำจากขา หรือหลอดเลือดแดงจากทรวงอกหรือปลายแขน (ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคน) เพื่อใช้เป็น graft ทำบายพาสหลอดเลือดแดงส่วนที่ตีบหรืออุดตัน
ทำการผ่าตัดบายพาส
แพทย์จะใช้หลอดเลือดที่เตรียมไว้เบื้องต้น ทำการผ่าตัดเพื่อต่อปลายหลอดเลือดข้างหนึ่งเข้ากับหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ส่วนปลายหลอดเลือดอีกข้างหนึ่งจะต่อเข้ากับหลอดเลือดหัวใจบริเวณใต้ต่อจุดที่ตีบหรืออุดตัน (Coronary Artery)
“วิธีนี้จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น
จึงบรรเทาอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
และช่วยทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น”
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ : https://www.praram9.com/cabg/
ผ่าตัดบายพาสหัวใจกับเรา ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า
สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า มีทีมแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจและหลอดเลือด ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการดูแลผู้ป่วย ที่เข้าใจคุณ และพร้อมจะให้การดูแล เพื่อให้คุณได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับคนที่คุณรัก
- ดูแลด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน
เพื่อการตรวจหาร่องรอยของโรคหัวใจและหลอดเลือด และนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการดูแลคุณ
- เทคนิคการรักษา และอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล
เพื่อการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคหัวใจอย่างละเอียด ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ - ให้การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ โดยทีมแพทย์ นักกายภาพบำบัด และทีมบุคลากรที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดบายพาส หัวใจ
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดบายพาสหัวใจ
เนื่องจากการผ่าตัดบายพาสหัวใจเป็นการผ่าตัดใหญ่ ทีมศัลยแพทย์และพยาบาลจะคอยให้คำปรึกษาและเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ภายใต้ มาตรการรักษาความปลอดภัย COVID safe hospital ดังนี้
- รับประทานอาหารและยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
- เข้าพักที่โรงพยาบาล 1 วันก่อนผ่าตัดเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย
- เข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด 19 ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- ประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัดโดยทีมศัลยแพทย์หัวใจและวิสัญญีแพทย์
- ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ปอด และเจาะเลือดสำหรับเตรียมเลือดสำรองไว้
- กรณีการหยุดยาต้านเกล็ดเลือดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ในผู้ป่วยแต่ละราย
การดูแลหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ
ถ้าหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะใช้พักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากผ่าตัด หลังจากนั้นแพทย์จะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน และนัดหมายให้มาพบ เพื่อติดตามอาการและผลการรักษาต่อไป
“ไม่เพียงแค่ขั้นตอนการรักษาเท่านั้น…
การดูแลและฟื้นฟูผู้เข้ารับการผ่าตัด
เพื่อเตรียมพร้อมให้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ
ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน”
วางใจแม้ต้องผ่าตัดบายพาสหัวใจ
ด้วยมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL
เนื่องจากในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ทางโรงพยาบาลพระรามเก้ามีมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL คำนึงถึงผู้เข้ารับการรักษาเป็นสำคัญ เราจึงทำงานอย่างหนัก เพื่อให้คุณอุ่นใจ มั่นใจ และปลอดภัยจากโควิด 19 แม้ต้องผ่าตัดในช่วงนี้ อย่างครอบคลุม ดังนี้
ผู้เข้ารับการผ่าตัดปลอดภัย
- ตรวจคัดกรองโควิด-19 ตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ก่อนผ่าตัดทุกราย
- แยกห้อง แยกอุปกรณ์ และเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถใช้แล้วทิ้ง กรณีผู้ป่วยมีความเสี่ยงติดเชื้อและจำเป็นต้องผ่าตัด
บุคลากรของโรงพยาบาลปลอดภัย
- ตรวจคัดกรอง บุคลากรทุกคน ทุกวันก่อนเข้าปฏิบัติงาน
- เจ้าหน้าที่ทุกคนสวมชุดป้องกันร่างกาย (PPE) ขณะผ่าตัด
อุปกรณ์และเครื่องมือผ่าตัดปลอดภัย
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ผ่าตัดทุกชิ้น ด้วยการนึ่งทำลายเชื้อ (Sterilization)
- เช็ดทำความสะอาดเครื่องมือในห้องผ่าตัดด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ
เรามีบริการการรักษาโรคหัวใจด้วยการผ่าตัดบายพาสหัวใจ แม้ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโควิด-19
ด้วยมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL
เพียงติดต่อสอบถามและปรึกษาเราได้ตามรายละเอียดข้างล่างนี้
ติดต่อสอบถาม สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า
ชั้น 3 อาคาร A โรงพยาบาลพระรามเก้า
โทรศัพท์ : 1270