Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ICL เลนส์เสริม ทางเลือกของการแก้ไขสายตา

พญ.อรทัย สุวจนกรณ์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 12 กันยายน 2024
Intraocular Collamer Lens

ในปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาสายตามีหลากหลายวิธี เช่น การใช้แว่นตา, คอนแทคเลนส์ หรือการทำเลสิค (LASIK) แต่สำหรับบางคนที่มีข้อจำกัดไม่สามารถทำเลสิคได้ เช่น ผู้ที่มีสายตาสั้น, สายตาเอียงมากเกินไป หรือผู้ที่มีความหนาของกระจกตาไม่เพียงพอ ICL (Implantable Collamer Lens) เป็นทางเลือกที่อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้

ทำความรู้จัก ICL

ICL (Implantable Collamer Lens) คือเลนส์เสริม ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขสายตาผิดปกติได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง เป็นวัสดุทางการแพทย์ที่ทำจาก Collamer ซึ่งประกอบด้วยคอนลาเจน (Collagen) และโคโพลีเมอร์ (Copolymer) มีความปลอดภัยสูง เข้ากันได้ดีกับร่างกาย จึงไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกัน

เลนส์เสริม ICL จะถูกสั่งตัดพิเศษ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพตาของแต่ละคน จักษุแพทย์จะทำการใส่ ICL เข้าไปในตาที่ตำแหน่งหลังม่านตา หน้าต่อเลนส์แก้วตาเพื่อช่วยแก้ไขสายตา โดย ICL จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถอยู่ในดวงตาไปได้ตลอด อย่างไรก็ตามจักษุแพทย์สามารถนำเลนส์นี้ออกหรือเปลี่ยนได้ (Removable/Reversible) หากมีความจำเป็น โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเนื้อเยื่อตาถาวร

ICL เหมาะกับใคร

  1. ผู้ที่อายุ 21-45 ปี 
  2. ผู้ที่มีสายตาคงที่แล้ว (คือเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 0.5D ใน 1ปี ) 
  3. ผู้ที่มีสายตาสั้น ยาว เอียงมากๆ 
  4. ผู้ที่มีกระจกตาบาง
  5. ผู้ที่มีตาแห้งมาก 
  6. ผู้ที่ไม่มีโรคตาอย่างอื่น เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ม่านตาอักเสบ เป็นต้น 
  7. ผู้ที่มีช่องหน้าม่านตากว้างเพียงพอ
  8. ผู้ที่ไม่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  9. ผู้ที่ไม่ต้องการทำเลสิค

ข้อดีของ ICL

  1. สามารถแก้ไขค่าสายตาสั้น ยาว หรือเอียงมากได้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีค่าสายตาสูงมากจนไม่สามารถทำเลสิคได้ ซึ่ง ICL สามารถแก้ไขสายตาสั้นได้ถึง -18.0D , สายตายาวได้ถึง +10.0D และสายตาเอียงได้ถึง 6.0D 
  2. ไม่มีการสูญเสียเนื้อเยื่อกระจกตา โดยการใส่ ICL ไม่มีการปรับแต่งเนื้อเยื่อกระจกตา จึงไม่เสียโครงสร้างถาวรของกระจกตาและไม่ทำให้กระจกตาบางลงเหมือนการทำเลสิค 
  3. แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว 
  4. โอกาสเกิดตาแห้งหลังทำน้อยกว่าการทำเลสิค เนื่องจาก ICL ไม่ได้แก้ไขที่กระจกตาโดยตรง จึงไม่รบกวนเส้นประสาทตาที่กระจกตา
  5. สามารถถอดออกได้ (Removable) โดยทั่วไปเมื่อใส่เลนส์เสริม ICL แล้ว สามารถอยู่ในตาไปได้ตลอด แต่สามารถถอดออกหรือเปลี่ยนเลนส์ได้หากมีความจำเป็น หรือในอนาคตอายุมากขึ้น เกิดภาวะต้อกระจก สามารถนำ ICL ออกและผ่าตัดต้อกระจกได้ในคราวเดียวกัน 
  6. คุณภาพการมองเห็นคมชัด 
  7. โอกาสเกิดแสงกระจายน้อยกว่าการทำเลสิค
  8. สามารถกรองแสง UV ซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตาได้

ข้อจำกัด และผลข้างเคียงของ ICL

  1. ต้องมีช่องหน้าม่านตากว้างพอที่จะใส่เลนส์เสริม ICL ซึ่งต้องตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ และประเมินโดยจักษุแพทย์
  2. เนื่องจาก ICL เป็นเลนส์ที่ส่งตัดพิเศษเฉพาะบุคคล จึงอาจต้องใช้ระยะเวลาในการรอตัดเลนส์
  3. มีโอกาสเกิดผลข้างเคียง เช่น ความดันตาสูงชั่วคราวหลังผ่าตัด และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในตาได้ ถึงแม้จะมีโอกาสน้อย แต่มีความจำเป็นต้องดูแลความสะอาด และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

กระบวนการการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL มีขั้นตอนดังน้ี:​

  1. การประเมินสภาพดวงตา: จักษุแพทย์จะทำการวัดค่าสายตาและประเมินสภาพดวงตาอย่างละเอียด เพื่อเลือกขนาดของเลนส์ ICL ที่เหมาะสม และสั่งตัดเลนส์พิเศษเฉพาะบุคคล
  2. การเตรียมการผ่าตัด: ก่อนการผ่าตัดจะมีการหยอดยาชาและยาขยายม่านตาเพื่อเตรียมดวงตาให้พร้อม
  3. การฝังเลนส์ ICL: เลนส์ ICL จะถูกนำเข้าไปในดวงตาผ่านทางแผลเล็กๆ ที่บริเวณขอบกระจกตา โดยจะวางเลนส์เสริมไว้บริเวณหลังม่านตา หน้าเลนส์แก้วตา กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที โดยแผลผ่าตัดจะสมานตัวได้โดยไม่จำเป็นต้องเย็บแผล
  4. การติดตามหลังการผ่าตัด: หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องมีการตรวจติดตามผลเป็นระยะ ตามคำแนะนำของแพทย์

สรุป

ICL (Implantable Collamer Lens) เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับการแก้ไขปัญหาสายตา โดยเฉพาะในกรณีที่เลสิคไม่สามารถทำได้ การใส่เลนส์เสริม ICL ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาสายตากลับมามองเห็นชัดเจนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากสนใจเข้ารับการรักษา สามารถติดต่อเข้ารับการปรึกษากับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแนวทางการรักษาที่เหมาะสมให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับดวงตาของคุณต่อไป

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.อรทัย สุวจนกรณ์

พญ.อรทัย สุวจนกรณ์

ศูนย์จักษุ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์จักษุ_1-1

ศูนย์จักษุ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา