บทความสุขภาพ
ไขข้อสงสัย เสริมสร้างความรู้ เพื่อดูแลสุขภาพของตัวเองและครอบครัว
โรคไตเรื้อรัง สาเหตุเกิดจากอะไร พร้อมแนะนำวิธีการรักษา
สถานการณ์โรคไตในปัจจุบัน ข้อมูลจากการศึกษาจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรค
มะเร็งปอดรักษาหายไหม มาฟังคำตอบกัน!
มะเร็งปอดรักษาหายไหม” คำตอบของคำถามนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะของโรค ประเภทของมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งหากมะเร็งปอดถูกตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น โอกาสในการรักษาให้หายขาดก็จะสูงกว่า การรักษามะเร็งปอดนั้นมีหลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัด การฉายแสง เคมีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งการเลือกวิธีที่เหมาะสมแพทย์ต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย
รู้จัก “มะเร็งหัวใจ” โรคหายาก ลุกลามเร็ว!
มะเร็งหัวใจพบได้น้อย แต่มีความรุนแรงสูงและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม มะเร็งหัวใจชนิดที่มีต้นกำเนิดจากหัวใจพบได้ไม่บ่อย ในขณะที่มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่นพบได้มากกว่า การตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเพิ่มโอกาสการมีชีวิตรอดได้ การดูแลสุขภาพหัวใจ การตรวจร่างกายประจำปี และการสังเกตอาการผิดปกติจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งหัวใจได้
ICL เลนส์เสริม ทางเลือกของการแก้ไขสายตา
ในปัจจุบันการแก้ไขปัญหาสายตามีหลากหลายวิธี เช่น การใช้แว่นตา, คอนแทคเลนส์ หรือการท าเลสิค (LASIK) แต่สำหรับบางคนที่มีข้อจำกัดไม่สามารถทำเลสิคได้เช่น ผู้ที่มีสายตาสั้น, สายตาเอียงมากเกินไป หรือผู้ที่มีความหนาของกระจกตาไม่เพียงพอ ICL (Intraocular Collamer Lens) เป็นทางเลือกที่อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้
VKH: โรคหายากที่ทำให้ตาบอดชั่วคราว
VKH เป็นโรคที่มีการอักเสบขึ้นในดวงตาทั้ง 2 ข้าง มักพบในช่วงกลุ่มอายุ 20-50 ปี โดยอาจมีอาการที่ส่วนอื่นของร่างกายร่วมด้วย เช่น ผิวหนัง หู หรือระบบประสาทและสมอง
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก” ฉีดตรงไหน ฉีดกี่เข็ม ตอนไหนบ้าง?
การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก และคำถามที่ว่า “วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ฉีดกี่เข็ม” คำตอบคือวัคซีนนี้มักต้องฉีด 2-3 เข็ม ขึ้นอยู่กับอายุและประเภทของวัคซีน การฉีดให้ครบตามจำนวนที่กำหนดและในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ลิ้นหัวใจรั่ว…อาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น อาจเป็นสัญญาณเตือนที่ต้องระวัง!
ลิ้นหัวใจรั่วเป็นภาวะที่ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ การวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้องจะช่วยชะลอความรุนแรงของโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การควบคุมความดันโลหิต ไขมัน การออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพหัวใจอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยป้องกันและทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง ลดความเสี่ยงของโรคลิ้นหัวใจรั่วได้
เข้าใจโรคกระดูกพรุน สาเหตุ อาการ และการป้องกัน
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบบ่อย และเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหัก หรืออาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยผู้สูงอายุ การป้องกัน การเข้ารับการตรวจสุขภาพของกระดูก หรือหากตรวจพบภาวะกระดูกพรุน การรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงและชะลอการเสื่อมสภาพของกระดูกได้
กระดูกหัก ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว
กระดูกหักเป็นภาวะที่กระดูกมีการแตกหรือหัก อาจเกิดจากอุบัติเหตุหรือโรคบางชนิด ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิต การเข้าใจกระดูกหักมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้เราป้องกันและรับมือกับภาวะนี้ได้อย่างเหมาะสม