บทความสุขภาพ
ไขข้อสงสัย เสริมสร้างความรู้ เพื่อดูแลสุขภาพของตัวเองและครอบครัว
ไขมันในเลือดสูง…สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกันเพื่อสุขภาพที่ดี
ไขมันในเลือดสูง (dyslipidemia) เป็นภาวะที่ควรได้รับความสนใจและป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ การรู้จักสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันไขมันในเลือดสูงจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร การออกกำลังกาย และการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพและป้องกันไขมันในเลือดสูง
อาการความดันสูงเป็นอย่างไร? อันตรายเงียบ… รู้ไว้ก่อน ป้องกันได้
ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไต และหัวใจล้มเหลว อาการความดันสูงเป็นอย่างไร มักเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย การทราบสัญญาณเตือนต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย จะช่วยให้เฝ้าระวังอาการได้ดีขึ้นและป้องกันอาการอันตรายถึงชีวิตได้ด้วย
บอกลาไซนัสเรื้อรัง ด้วยการผ่าตัดไซนัสแบบส่องกล้อง ฟื้นตัวไว ไร้รอยแผล
การผ่าตัดไซนัสด้วยการส่องกล้องเป็นวิธีการรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรังที่มีแผลเล็กและใช้เวลาพักฟื้นน้อย โดยใช้กล้องที่ติดอยู่กับเครื่องมือพิเศษเพื่อทำการผ่าตัดผ่านทางจมูก ช่วยลดความเสียหายของเนื้อเยื่อโดยรอบและให้ประสิทธิภาพการรักษาที่สูง
กระดูกสะโพกหัก ปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุ
กระดูกสะโพกหักพบบ่อยในผู้สูงอายุ จากการพลัดตกหกล้ม นำไปสู่การบาดเจ็บ กระทบต่อคุณภาพชีวิต และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตได้ การป้องกันสามารถทำได้โดยการเสริมความแข็งแรงของกระดูกโดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี ออกกำลังกายเพื่อเสริมสมดุลของร่างกาย และจัดบ้านให้ปลอดภัย
โรคหัวใจและโรคไต: ความสัมพันธ์อันตรายที่ควรรู้
โรคไตและโรคหัวใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน โรคไตเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้โดยตรง ในทางกลับกัน โรคหัวใจก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไตได้เช่นกัน ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโรคไตและโรคหัวใจเป็นสิ่งสำคัญเพื่อการป้องกันอย่างถูกต้อง
ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ตรวจง่าย ป้องกันมะเร็งได้ก่อนสายเกินไป
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่มีความสำคัญในการป้องกันและรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะช่วยค้นหามะเร็งลำไส้ และหากพบก้อนเนื้อ แพทย์สามารถตัดออกได้เลยก่อนลุกลามกลายเป็นมะเร็ง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ สัญญาณเตือนที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย
หากมีอาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ใจสั่น หวิว ๆ วูบบ่อย ๆ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หรือแน่นหน้าอก ควรรีบปรึกษาแพทย์
กระดูกพรุน สาเหตุของกระดูกเปราะ หักง่าย ภัยเงียบของผู้สูงวัย
โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่พบได้บ่อยในวัยสูงอายุ เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจน แต่จะพบสัญญาณเตือนก็ต่อเมื่อมีภาวะกระดูกพรุนแล้ว เช่น กระดูกหัก หลังค่อม ส่วนสูงลดลง เพื่อลดการเกิดโรคกระดูกพรุนและรักษาไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี ควรปรับพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง
หัวใจโต สัญญาณเตือนโรคหัวใจ
โรคหัวใจโตเป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ภาวะนี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ และสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและอาจถึงแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที