โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD)
โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD) เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของ ประเทศไทย เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาดจําเป็นต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายใน การรักษาสูงมากโดยเฉพาะเมื่อเข้าสู้โรคไตวายระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease, ESRD) ซึ่ง จําเป็นต้องให้การรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องหรือการ ผ่าตัดปลูกถ่ายไต อุบัติการณ์ของโรคไตเรื้อรังและโรคไตวายระยะสุดท้ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทําให้โรคนี้ นอกจากจะเป็นปัญหาที่สําคัญในปัจจุบันแล้ว จะเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในอนาคตอย่างมาก จึงมีความจําเป็นที่จะต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อป้องกันหรือชะลอไม่ให้เกิดโรคไตวายระยะ สุดท้ายโดยควรให้การดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อชะลอการเสื่อมของไตให้ได้ผลดี ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมี โอกาสที่จะพบโรคร่วมได้หลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่ สําคัญของผู้ป่วยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความผิดปกติของการทํางานของไตที่พบในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จะเป็นมากขึ้นและรุนแรงขึ้นตามการเสื่อมของไต ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถรักษาหรือควบคุมเพื่อ ป้องกันไม่ให้รุนแรงขึ้นจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วย
คําจํากัดความของโรคไตเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง หมายถึง ผู้ป่วยที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในสองข้อต่อไปนี้
1.ผู้ป่วยที่มีภาวะไตผิดปกตินานติดต่อกันเกิน 3 เดือน ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอัตรากรองของไต (glomerularfiltration rate, GFR) ผิดปกติหรือไม่ก็ได้ ภาวะไตผิดปกติ หมายถึง มีลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจปัสสาวะอย่างน้อย 2 ครั้ง ในระยะเวลา 3 เดือนดังต่อไปนี้
- ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
- ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และตรวจพบ microalbuminuria
- ถ้าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคเบาหวานและตรวจพบ proteinuria มากกว่า 500 mgต่อวัน หรือมากกว่า 500 mg/g creatinine
- ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ (hematuria)
- ตรวจพบความผิดปกติทางรังสีวิทยา
2.ตรวจพบความผิดปกติทางโครงสร้างหรือพยาธิสภาพ ๐ ผู้ป่วยที่มี GFR น้อยกว่า 60 m/min/1.73m ติดต่อกันเกิน 3 เดือน โดยที่อาจจะตรวจพบหรือไม่พบว่า มีร่องรอยของไตผิดปกติก็ได้