ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก
ศูนย์การแพทย์
โรงพยาบาลพระรามเก้า
เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่พบบ่อย สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย เกิดจากเซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในการนำน้ำตาลจากในกระแสเลือดมาใช้เป็นพลังงาน โดยเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอินซูลินที่สร้างจากตับอ่อน เมื่อฮอร์โมนอินซูลินหลั่งออกมาไม่เพียงพอ หรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน เป็นภาวะที่เรียกว่า “ภาวะดื้อต่ออินซูลิน” มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง เมื่อสะสมเป็นระยะเวลานาน ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นภาวะเลือดเลี้ยงไม่เพียงพอ เนื่องจากหลอดเลือดแดงตีบตัน เช่น โรตไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นประสาทส่วนปลาย แผลเบาหวาน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน เช่น ภาวะโคม่าจากน้ำตาลในเลือดสูง (hyperosmolar hyperglycemic state; HHS) ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับภาวะเลือดเป็นกรด (diabetic ketoacidosis; DKA) และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ได้แก่
- อายุมากกว่า 35 ปี
- ภาวะอ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25 กก.ต่อ ตร.ม. และมีประวัติ พ่อ แม่ พี่ หรือน้องเป็นเบาหวาน
- เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือรับประทานยาอยู่
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ มากกว่าหรือเท่ากับ 250 มก.ต่อดล. และหรือไขมันดี HDL ต่ำกว่า 35 มก.ต่อดล.)
- มีประวัติเป็นโรคเบาวานตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 4 กก.
- ตรวจเลือดเป็นเบาหวานแฝง ระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหาร ( fasting blood sugar) 100-125 มก.ต่อดล. หรือ น้ำตาลหลังทดสอบดื่มกลูโคส 75 กรัม 2 ชม. 140-199 มก.ต่อดล.
- มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
- กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome)
- มีภาวะดื้ออินซูลิน เช่น โรคอ้วนอันตราย ( ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 40) มี acanthosis nigrican ผิวหนังบริเวณคอ ข้อพับหนาตัวมีสีคล้ำน้ำตาล
- ติดเชื้อไวรัส HIV หรือโรค AIDS
หรืออาจสังเกตอาการของโรค ได้แก่
- รู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ
- ปัสสาวะบ่อย
- น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ตาพร่า ตามัว
- มีแผลหายช้า
- ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า
- รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย
- รู้สึกหงุดหงิดหรืออารมณ์แปรปวน
หากเข้าข่ายความเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและนำไปสู่การป้องกันและการรักษาที่เหมาะสม
ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
การให้บริการของศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก รพ.พระรามเก้า
การรักษาดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นการดูแลแบบองค์รวม ทั้งโรคเบาหวาน และโรคร่วม เช่น ภาวะอ้วน ไขมันในเลือดสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ภาวะตับอักเสบจากไขมันเกาะตับ หรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น
ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก รพ.พระรามเก้า ให้การดูแลแบบสหวิชาชีพ มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวานและโรคเมตาบอลิก พยาบาลเบาหวาน นักโภชนาการผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่จะคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำ ดูแล ประเมินผล รักษา ตลอดจนติดตามผลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พร้อมอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องมือที่ทันสมัย รวมถึงประสานงานกับศูนย์การแพทย์อื่น เพื่อการรักษาครบวงจร เพื่อความสุขในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและยืนยาว ตามคำมั่นสัญญาที่ว่า “Healthcare you can trust”
ด้านการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากการงดรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ให้พลังงาน (fasting blood sugar; FBS) เป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือด
- การตรวจค่าน้ำตาลสะสมหรือระดับฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) เป็นค่าแสดงระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อการวินิจฉัยโรคเบาหวานในผู้ที่ระดับน้้ำตาลในเลือดหลังการงดอาหารอาจจะไม่สูงชัดเจน และใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วย เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการรักษา
- การตรวจความทนกลูโคส (oral glucose tolerance test; OGTT]) การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลของร่างกายเพื่อประเมินว่าผู้ถูกทดสอบมีสัญญาณของภาวะก่อนเบาหวานหรือเป็นโรคเบาหวานแล้ว
- การตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือด ณ เวลาใดก็ได้ (random plasma glucose) โดยไม่ต้องมีการงดเครื่องดื่มและอาหารก่อนตรวจ เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด แล้วนำค่าที่ได้ไปพิจารณาร่วมกับอาการของผู้ป่วย เพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวาน
ด้านการรักษาโรคเบาหวาน
ให้บริการการรักษาโรคเบาหวานทั้งการรักษาด้วยยารับประทาน ยาฉีดอินซูลิน รวมถึงยากลุ่มใหม่ที่ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมอาการ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมทั้งการติดตามการรักษา
การบริการอื่น ๆ
- ประเมินภาวะเสี่ยงก่อนการเป็นเบาหวาน รวมทั้งวิธีป้องกันโรคเบาหวาน
- ให้คำแนะนำในการการควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงกับคนปกติ ในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ
- ให้บริการเครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง (continuous glucose monitoring; CGM)
- การตรวจเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
- ให้บริการตรวจรักษาหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้คลอดทารกอย่างปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
- ให้บริการโปรแกรมลดน้ำหนักเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันสูง โรคไขมันในเลือด และโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ให้บริการรักษาโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคทางระบบหลอดเลือด การรักษาแผลที่หายยาก การรักษาโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท การผ่าตัดหลอดเลือดเพื่อรักษาเท้า
- ให้บริการความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- ให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางระบบต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน)
- ให้บริการโปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวานประจำปี
ติดต่อสอบถามศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก รพ.พระรามเก้า
ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก ชั้น 3 อาคาร A โรงพยาบาลพระรามเก้า
เลขที่ 99 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 1270
เวลาทำการ
วันจันทร์-วันเสาร์ : เวลา 9.00 – 20.00 น.
วันอาทิตย์ : เวลา 8.00 – 16.00 น.
รายนามแพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาวะเลือดเป็นกรด DKA ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ภาวะ DKA คือ ภาวะที่เลือดเป็นกรดจากการคั่งของสารคีโตนร่วมกับมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ดูแลเท้าให้ดี ประหนึ่งดูแลใบหน้า ช่วยลดความเสี่ยงจากเบาหวานลงเท้า
“เบาหวานลงเท้า” คือหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน ศึกษาอาการเพื่อการดูแลอย่างถูกวิธี
โรคอ้วน โรคเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยงอาการรุนแรง จากติดโควิด 19
คนที่เป็นโรคอ้วน ส่วนใหญ่มักจะมีโรคประจำตัวเรื้อรังอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคเบาหวาน จึงควรรีบฉีดวัคซีนแต่เนิ่น ๆ
สถาบันการแพทย์
แพทย์เฉพาะทาง
รายนามแพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาวะเลือดเป็นกรด DKA ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ภาวะ DKA คือ ภาวะที่เลือดเป็นกรดจากการคั่งของสารคีโตนร่วมกับมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ดูแลเท้าให้ดี ประหนึ่งดูแลใบหน้า ช่วยลดความเสี่ยงจากเบาหวานลงเท้า
“เบาหวานลงเท้า” คือหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน ศึกษาอาการเพื่อการดูแลอย่างถูกวิธี
โรคอ้วน โรคเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยงอาการรุนแรง จากติดโควิด 19
คนที่เป็นโรคอ้วน ส่วนใหญ่มักจะมีโรคประจำตัวเรื้อรังอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคเบาหวาน จึงควรรีบฉีดวัคซีนแต่เนิ่น ๆ