ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน
ศูนย์การแพทย์
โรงพยาบาลพระรามเก้า
ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน
เพื่อความปลอดภัยโรงพยาบาลพระรามเก้า มีรถพยาบาลฉุกเฉิน (Ambulance) ที่มีบุคลากร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เพียบพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วย ตั้งแต่จุดที่รับผู้ป่วย และระหว่างการเคลื่อนย้ายมาที่ รพ. พระราม 9 มีอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถรายงานอาการ และการตรวจพบเบื้องต้นมายังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาโรคหัวใจ โรคทางสมอง ศัลยกรรม เพื่อให้คำแนะนำการรักษาเบื้องต้น และเพื่อการเตรียมการให้การรักษาผู้ป่วยทันทีที่ผู้ป่วยมาถึง รพ.
โดยปกติผู้ป่วยที่มีอาการหนัก จะมาถึงที่ห้องฉุกเฉิน เพื่อให้การรักษาเบื้องต้น โดยแพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน หรือในบางกรณีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคของผู้ป่วยรายนั้นจะมารอให้การรักษาที่ห้องฉุกเฉิน ซึ่งมีอุปกรณ์ในการช่วยชีวิตเบื้องต้นพร้อมสรรพ มีห้องปฏิบัติการช่วยชีวิต หรือ CPR ROOM (Cardio-Pulmonary Recuscitation) ที่แยกเฉพาะ พร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการช่วยชีวิตผู้ป่วย
บริการต่าง ๆ
- ห้อง CCU (Cardiac Care Unit) สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจ (ลิ้นหัวใจ ตัดต่อเส้นเลือดหัวใจตีบ)
- ห้อง ICU (Intensive Care Unit) สำหรับผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป ผู้ป่วยทางศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมสมอง หรือศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ (กระดูก และข้อ) ที่มีปัญหาอายุรกรรมร่วมด้วย หรือเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัด โดยจะมีอายุรแพทย์ประจำตลอด 24 ชั่วโมง
เวลาทำการ
ทุกวัน: ตลอด 24 ชั่วโมง
รายนามแพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคไตระยะ 5 อยู่ได้นานแค่ไหน? คำแนะนำเพื่อการรักษาที่เหมาะสม
โรคไตระยะ 5 เป็นภาวะที่ไตเสื่อมจนไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียและขจัดน้ำส่วนเกินจากร่างกายได้ ผู้ป่วยต้องพึ่งการฟอกไตหรือปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาชีวิต ระยะเวลาในการอยู่รอดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ก็จะช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
โนโรไวรัส (Norovirus) ระบาดหนัก ควรเฝ้าระวังอาการท้องเสีย
เชื้อโนโรไวรัสแพร่กระจายได้ง่าย จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโนโรไวรัส การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสและเอามือเข้าปาก
ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี…เมื่อไหร่ควรผ่า? วิธีเตรียมตัว และการดูแลหลังผ่าตัด
การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี (Cholecystectomy) เป็นการรักษาปัญหานิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อนได้ การผ่าตัดนี้มักแนะนำในผู้ป่วยที่มีก้อนนิ่วขนาดใหญ่ หรือมีก้อนนิ่วจำนวนมาก หรือในผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น การปวดท้องด้านขวาบนเฉียบพลันหรือนิ่วอุดตันในท่อน้ำดี การเอาถุงน้ำดีออกไม่ส่งผลกระทบต่อการย่อยอาหาร และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วซ้ำได้
สถาบันการแพทย์
แพทย์เฉพาะทาง
รายนามแพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคไตระยะ 5 อยู่ได้นานแค่ไหน? คำแนะนำเพื่อการรักษาที่เหมาะสม
โรคไตระยะ 5 เป็นภาวะที่ไตเสื่อมจนไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียและขจัดน้ำส่วนเกินจากร่างกายได้ ผู้ป่วยต้องพึ่งการฟอกไตหรือปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาชีวิต ระยะเวลาในการอยู่รอดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ก็จะช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
โนโรไวรัส (Norovirus) ระบาดหนัก ควรเฝ้าระวังอาการท้องเสีย
เชื้อโนโรไวรัสแพร่กระจายได้ง่าย จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโนโรไวรัส การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสและเอามือเข้าปาก
ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี…เมื่อไหร่ควรผ่า? วิธีเตรียมตัว และการดูแลหลังผ่าตัด
การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี (Cholecystectomy) เป็นการรักษาปัญหานิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อนได้ การผ่าตัดนี้มักแนะนำในผู้ป่วยที่มีก้อนนิ่วขนาดใหญ่ หรือมีก้อนนิ่วจำนวนมาก หรือในผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น การปวดท้องด้านขวาบนเฉียบพลันหรือนิ่วอุดตันในท่อน้ำดี การเอาถุงน้ำดีออกไม่ส่งผลกระทบต่อการย่อยอาหาร และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วซ้ำได้