Sleep Center
ศูนย์การแพทย์
โรงพยาบาลพระรามเก้า
ปัจจุบัน อาการนอนไม่หลับหรือภาวะคุณภาพการนอนที่ไม่ปกติ เป็นปัญหาที่พบบ่อยถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด และ 1 ใน 3 เป็นการนอนไม่หลับเรื้อรัง คือมีอาการนอนไม่หลับอย่างน้อยนาน 1 เดือน หากปล่อยให้เกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจนำไปสู่การเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นอาการอย่างหนึ่งของภาวะหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ อย่างเช่น มีการหยุดหายใจขณะหลับ หรือเกิดการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ตลอดทั้งคืน ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายขาดออกซิเจน จนเป็นสาเหตุของโรคนอนไม่หลับและอื่น ๆ อีกหลายโรค ซึ่งหากปล่อยไว้เรื้อรังมีโอกาสนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรงได้
โรงพยาบาลพระรามเก้ามีแนวคิดจัดตั้งศูนย์นิทรารมณ์ Sleep Center ขึ้น เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาอาการดังกล่าว โดยให้บริการดูแลแบบองค์รวม ตั้งแต่การทั้งการดูแลก่อนเจ็บป่วย การรักษา และการดูแลสุขภาพหลังการรักษา รวมถึงการวางแผนการรักษา เพื่อรองรับการวินิจฉัยและรักษาอาการต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
บริการของศูนย์ Sleep Center
- ตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง พร้อมเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน
- ให้คำปรึกษา และวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนหลับ
- ให้บริการการรักษาโรค และอาการที่เกี่ยวกับการนอนและระบบการหายใจ
- ให้บริการตรวจการนอนหลับ (sleep test) ตามคำสั่งแพทย์ ครอบคลุมทั้งการให้บริการในด้านสถานที่สำหรับการทดสอบ Sleep Lab ตอบโจทย์ผู้รับบริการที่ต้องการมารับการดูแลที่โรงพยาบาล
- ติดตามผลการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการรักษา
ศูนย์นิทรารมณ์ (Sleep center) โรงพยาบาลพระรามเก้า พร้อมด้วยทีมแพทย์มือหนึ่ง ด้านโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบทางเดินหายใจ และอายุรศาสตร์การนอนหลับ และด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา ให้คำปรึกษาการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนหลับ บริการตรวจการนอนหลับ (sleep test) ตามคำสั่งแพทย์ ตลอดจนรักษาโรคและอาการที่เกี่ยวกับการนอนและระบบการหายใจ เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาการนอนหลับที่ผิดปกติ ลดความเสี่ยง ‘ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea; OSA)’ ด้วยแนวทางการรักษาที่ล้ำสมัย ลดปัจจัยเสี่ยงก่อนนำไปสู่โรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
ศ.นพ.ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม แพทย์หัวหน้าศูนย์นิทรารมณ์ (Sleep center) โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า “ศูนย์ Sleep Center โรงพยาบาลพระรามเก้า ตระหนักถึงความสำคัญของผู้ป่วยที่ปัญหาด้านการนอนที่ควรได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและเฉพาะทาง โดยให้บริการที่ครอบคลุมครบวงจร ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง พร้อมเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและได้รับมาตรฐาน เราให้คำปรึกษาการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนหลับ ให้บริการการรักษาโรค และอาการที่เกี่ยวกับการนอนและระบบการหายใจ ตลอดจนให้บริการตรวจการนอนหลับ (sleep test) ตามคำสั่งแพทย์ ครอบคลุมทั้งการให้บริการในด้านสถานที่ โดยห้อง Sleep Lab จะให้ความรู้สึกถึงความเป็นส่วนตัว สะดวกสบาย และมีความปลอดภัย อุ่นใจเปรียบเสมือนอยู่ที่บ้าน พร้อมทั้งยังมีการติดตามผลการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการรักษา”
ซึ่งการตรวจ Sleep Test เป็นการตรวจการนอนหลับเพื่อสังเกตการทำงานของร่างกาย และหาสาเหตุของความผิดปกติต่างๆ ในระหว่างการนอนหลับ เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (obstructive sleep apnea; OSA) การกระตุกของกล้ามเนื้อต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เพื่อให้แพทย์สามารถนำผลการตรวจไปวางแผน หรือติดตามการรักษาได้อย่างถูกต้อง
Sleep center โรงพยาบาลพระรามเก้า มีการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เรียกว่า เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องหรือเครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) มาช่วยในการรักษาผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอน ซึ่งเป็นการรักษาที่นิยมและได้ผลดีวิธีหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนขณะหลับทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนธรรมดา หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับน้อยถึงรุนแรง
สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับคำปรึกษา เพื่อเข้ารับการตรวจ Sleep test สามารถพิจารณาว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยสังเกตอาการผิดปกติดังต่อไปนี้
- นอนกรน
- มีเสียงกรนหยุดเป็นพักๆ พลิกตัวบ่อยๆ
- หายใจลำบากและสงสัยว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ
- ง่วงนอนช่วงกลางวันมากผิดปกติ ทั้งที่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ตื่นเช้าไม่สดชื่น มีอาการปวดหัวหลังตื่นนอน และรู้สึกอ่อนเพลียหลังตื่นนอนบ่อยๆ
- มีพฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติ เช่น แขนขากระตุกระหว่างนอนหลับ นอนกัดฟัน นอนละเมอ หรือสะดุ้งตื่นเป็นประจำ
- นอนหลับยาก หรือรู้สึกนอนหลับได้ไม่เต็มที่บ่อยๆ มากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ดังนี้ ผู้ที่เสี่ยงจะเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea; OSA) ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีภาวะชักขณะนอนหลับหรือเป็นโรคลมหลับ (narcolepsy) ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับที่ยังรักษาไม่ได้ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น สำหรับผู้ที่จะเข้ารับบริการด้วยเครื่อง CPAP นี้ ต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อน โดยผู้รับบริการสามารถทดลองใช้เครื่องก่อนตัดสินใจรับบริการได้
“การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือมากจนเกินไป เป็นสัญญาณร้ายที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งยังกระทบไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ สมาธิลดลง ความจำลดลง ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความรู้สึก เช่น หงุดหงิด เบื่อหน่าย ท้อแท้ ผลกระทบเหล่านี้ หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดเป็นโรคอื่นๆ ตามมา ทั้งโรคทางร่างกาย และโรคทางจิตใจ ดังนั้น หากมีอาการนอนไม่หลับและไม่สามารถกลับสู่การนอนหลับตามปกติได้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่ปัญหาการนอนจะมีผลกระทบในด้านอื่นๆ”
สำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการหรือมีความเสี่ยง
สามารถติดต่อเพื่อเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและนัดหมายได้ที่ Website: https://hubs.li/Q01HC3m00
Line: https://lin.ee/vR9xrQs หรือ@praram9hospital
Facebook: www.facebook.com/praram9Hospital
หรือ โทร.1270
โรงพยาบาลพระรามเก้า HEALTHCARE YOU CAN TRUST เรื่องสุขภาพ…ไว้ใจเรา #Praram9Hospital
รายนามแพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคไตระยะ 5 อยู่ได้นานแค่ไหน? คำแนะนำเพื่อการรักษาที่เหมาะสม
โรคไตระยะ 5 เป็นภาวะที่ไตเสื่อมจนไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียและขจัดน้ำส่วนเกินจากร่างกายได้ ผู้ป่วยต้องพึ่งการฟอกไตหรือปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาชีวิต ระยะเวลาในการอยู่รอดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ก็จะช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
โนโรไวรัส (Norovirus) ระบาดหนัก ควรเฝ้าระวังอาการท้องเสีย
เชื้อโนโรไวรัสแพร่กระจายได้ง่าย จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโนโรไวรัส การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสและเอามือเข้าปาก
ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี…เมื่อไหร่ควรผ่า? วิธีเตรียมตัว และการดูแลหลังผ่าตัด
การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี (Cholecystectomy) เป็นการรักษาปัญหานิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อนได้ การผ่าตัดนี้มักแนะนำในผู้ป่วยที่มีก้อนนิ่วขนาดใหญ่ หรือมีก้อนนิ่วจำนวนมาก หรือในผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น การปวดท้องด้านขวาบนเฉียบพลันหรือนิ่วอุดตันในท่อน้ำดี การเอาถุงน้ำดีออกไม่ส่งผลกระทบต่อการย่อยอาหาร และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วซ้ำได้
สถาบันการแพทย์
แพทย์เฉพาะทาง
รายนามแพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคไตระยะ 5 อยู่ได้นานแค่ไหน? คำแนะนำเพื่อการรักษาที่เหมาะสม
โรคไตระยะ 5 เป็นภาวะที่ไตเสื่อมจนไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียและขจัดน้ำส่วนเกินจากร่างกายได้ ผู้ป่วยต้องพึ่งการฟอกไตหรือปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาชีวิต ระยะเวลาในการอยู่รอดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ก็จะช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
โนโรไวรัส (Norovirus) ระบาดหนัก ควรเฝ้าระวังอาการท้องเสีย
เชื้อโนโรไวรัสแพร่กระจายได้ง่าย จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโนโรไวรัส การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสและเอามือเข้าปาก
ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี…เมื่อไหร่ควรผ่า? วิธีเตรียมตัว และการดูแลหลังผ่าตัด
การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี (Cholecystectomy) เป็นการรักษาปัญหานิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อนได้ การผ่าตัดนี้มักแนะนำในผู้ป่วยที่มีก้อนนิ่วขนาดใหญ่ หรือมีก้อนนิ่วจำนวนมาก หรือในผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น การปวดท้องด้านขวาบนเฉียบพลันหรือนิ่วอุดตันในท่อน้ำดี การเอาถุงน้ำดีออกไม่ส่งผลกระทบต่อการย่อยอาหาร และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วซ้ำได้