กระดูกและข้อ โรคที่ต้องดูแลตั้งแต่วัยรุ่น ความเสื่อมของกลุ่มเนื้อเยื่อกระดูกและข้อ อาจเกิดขึ้นตั้งแต่วัย 30 ปีต้นๆ แต่กว่าจะปรากฏอาการก็ต้องใช้เวลาอีกระยะ เราจะนิยามเป็นโรคก็ต่อเมื่ออาการเกิดขึ้น เมื่อกระบวนการเสริมสร้างซ่อมแซมน้อยกว่ากระบวนการทำลาย อาการเริ่มแรกของข้อเสื่อมคืออาการข้อฝืดหรือติดขัด ในระยะหลังๆ จึงมีอาการปวดและบวมผิดรูป ส่วนในการเสื่อมของกระดูกบางเนื่องจากมวลกระดูกลดลงเรื่อยๆ ซึ่งไม่มีอาการ แต่จะแสดงอาการเมื่อกระดูกหักเอง หรือหักง่ายในวัยชรา อาการปวดกระดูกและข้อ อาจจะเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่สะสมเรื้อรัง ซึ่งมักเกิดจากการสะสมความเครียด และการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง พบบ่อยในผู้ที่ทำงานออฟฟิศและไม่ดูแลตัวเอง ถือเป็นส่วนสำคัญของโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) สาเหตุการเกิดโรค ในส่วนของเนื้อกระดูก เกิดจาภาวะขาดสมดุลของแคลเซียมทีละน้อยเป็นเวลานาน ปัจจัยที่ทำให้เกิดมากขึ้นได้แก่ ภาวะเป็นกรด เช่น การดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ สูบบุหรี่ และรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีโซเดียมมากเกินไป ส่วนที่ข้อนั้นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสื่อมมากขึ้นได้แก่ การใช้งานหนักเกินไป การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่ใช้ข้อมากๆ ปัจจัยสำคัญที่แก้ไขไม่ได้คือพันธุกรรม สาเหตุการเกิดโรค สาเหตุการเกิดโรคในส่วนของกระดูกจะเกิดจากภาวะการสูญเสียแคลเซียม ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกายมีภาวะเป็นกรดมากไป เช่น การดื่มน้ำอัลม ชา กาแฟ ชอบทานเนื้อสัตว์ ทานโซเดียมมากไป และสูบบุหรี่ ส่วนอาการที่ข้อนั้นอาการเสื่อมจะเกิดขึ้นจากที่ใช้งานหนัก เช่น การเล่นกีฬาที่ใช้ข้อมากๆ ใช้ข้อส่วนหนึ่งส่วนใดมากเกินไป และขาดการดูแล ข้อบ่งชี้การเกิดโรค อาการเสื่อมของข้อ สังเกตง่ายๆ จากอาการฝืดของส่วนๆ นั้น เมื่ออยู่ในอิริยาบถเดียวนานๆ พอเปลี่ยนอิริยาบถแล้ว จะต้องอยู่นิ่งๆ สักพักก่อนจะเคลื่อนไหวได้ เช่น นั่งนานๆ แล้วเมื่อจะยืนตรงจะทำในทันทีไม่ได้ ต้องค่อยๆ ยืดตัวขึ้น ในบางรายที่เป็นมากจะเริ่มมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ทางการแพทย์เรียกว่า Stiffness หรืออาการข้อฝืด ซึ่งเกิดจากการที่น้ำหล่อลื่นในข้อเสื่อมคุณภาพ ส่วนอาการกระดูกบางนั้น ไม่มีอาการบ่งชี้ ต้องใช้การตรวจของแพทย์เท่านั้น การดูแลป้องกัน พลเอก นพ.สหชาติ พิพิธกุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า อาการเสื่อมของกระดูกและข้อนั้น สามารถดูแลได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายที่มีการทิ้งน้ำหนัก เช่น วิ่งเหยาะๆ หรือแอโรบิค จะช่วยให้กระดูกและข้อแข็งแรง โดยพฤติกรรมส่วนใหญ่ที่พบในคนไข้คือ ขาดการดูแลร่างกายและมีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค การรักษาทางการแพทย์ โดยปกติผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการ ข้อฝืด ข้อติด ควรจะมาพบแพทย์แต่เนิ่นๆ ซึ่งแพทย์จะได้พิจารณาอาการเจ็บป่วย และพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เพื่อปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม อาจต้องออกกำลังกายด้วยท่าเฉพาะ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อพยุงข้อต่อ แต่ในบางรายที่เป็นมาก แพทย์อาจพิจารณา การทำกายภาพบำบัด และให้ยาร่วมด้วย ทั้งยารับประทาน และยาฉีดที่ข้อโดยตรง ในรายที่มีปัญหาค่อนข้างมาก จนไม่สามารถฟื้นฟูได้ อาจจะต้องทำการรอผ่าตัดเปลี่ยนข้อ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พลเอก นพ.สหชาติ พิพิธกุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า
กระดูกและข้อ โรคที่ต้องดูแลตั้งแต่วัยรุ่น
Knowledge
Praram 9 Hospital
Related articles
Diabetes Symptoms: Key Warning Signs Not to Ignore!
Discover key warning signs of diabetes and learn how to identify early symptoms, such as frequent urination, excessive thirst, and unexplained weight loss. Understand the importance of timely diagnosis and effective management strategies to prevent serious complications. Explore tips for managing diabetes risk through diet, exercise, and regular checkups. Take control of your health—consult a healthcare provider if you experience potential diabetes symptoms.
Cervical Cancer Vaccine: How Many Doses Do You Need?
Learn everything you need to know about the cervical cancer vaccine: where to get it, dosage recommendations, timing, and how to maximize its effectiveness. Protect yourself and loved ones from HPV-related cancers with this essential guide.
Treatment of Stroke and Prevention of Recurrence
A stroke, also known as paralysis or hemiplegia, is a dangerous and urgent condition that can affect both the elderly and working-age individuals.