โรคหัวใจไม่น่ากลัว…อยู่ที่ตัว…ที่คุณทำ You are what you eat, what you do สิ่งที่เกิดกับตัวเรานั้นเกิดเนื่องจากพฤติกรรมหรือการกระทำของตัวเราเอง โรคต่างๆก็เช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มของโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อเช่น โรคหัวใจ เบาหวาน อ้วน ไขมันสูง ความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้มักจะเกิดร่วมกันพร้อมๆกันในกลุ่มคนที่ไม่ดูแลตัวเองมีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง มีชีวิตที่เร่งรีบทำงานแข่งกับเวลาตลอด ทานอาหารเร่งรีบโดยไม่คำนึงถึงชนิดหรือจะทานให้ครบทุกหมวดหมู่ ทานอาหารเนื่องจากอิ่มอร่อยความอยาก เพื่อชดเชยกับความเหนื่อยความเครียด ทำงานมากพักผ่อนน้อย เหล่านี้เป็นการสร้างพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ นำไปสู่ภาวะการเกิดโรคหัวใจรวมและโรคในกลุ่มนี้ ดังนั้นถ้าทุกคนดูแลรักษาตนดี ทานพอควร ออกกำลังกายประจำ พักผ่อนให้พอดี โอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจและโรคกลุ่มนี้ก็น้อยลง เป็นการป้องกันตนเองก่อนที่จะเกิดโรค แต่ถ้าเกิดโรคขึ้นแล้ว การทานยาประจำ และการผ่าตัดทำบอลลูนขยายเส้นเลือดที่ตีบเป็นการรักษาตามอาการไม่ได้ทำให้หายขาดจากโรค การแก้ไขดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพียงส่วนเล็กน้อย ไม่ได้แก้ไขส่วนอื่นของเส้นเลือดที่ยาวมากมายที่มีอยู่ทั่วตัวเรา ดังนั้นถ้าคงดำเนินหรือมีพฤติกรรมการการดำรงชีวิตเหมือนเดิมอีกในไม่ช้าโรคเก็จะกลับมาเยือน ต้องทำการแก้ไขอีก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตให้ถูกต้อง ทานยาประจำ ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำต่อเนื่องตลอดไปหลังการเกิดโรคและได้รับการรักษาแก้ไข เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำขึ้นอีก ขบวนการนี้โดยรวมคือการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โดยเริ่มจากการชะลอความเสื่อมคือการดูแลก่อนการเกิดโรคหรือการป้องกันการเกิดโรค การดูแลขณะเป็นโรคพร้อมช่วยแก้ไขสมรรถภาพร่างกายที่ผิดปกติขณะเป็นโรคให้กลับสู่สภาพเดิม ดังนั้นทุกคนต้องเริ่มดูแลสุขภาพฟื้นฟูร่างกายชะลอความเสื่อมของหัวใจป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (คงสภาพความหนุ่มสาว) เริ่มกันตั้งแต่วันนี้เถิดครับ
โรคหัวใจ ไม่น่ากลัว.. อยู่ที่ตัว.. ที่คุณทำ
Knowledge
Praram 9 Hospital
Related articles
Diabetes Symptoms: Key Warning Signs Not to Ignore!
Discover key warning signs of diabetes and learn how to identify early symptoms, such as frequent urination, excessive thirst, and unexplained weight loss. Understand the importance of timely diagnosis and effective management strategies to prevent serious complications. Explore tips for managing diabetes risk through diet, exercise, and regular checkups. Take control of your health—consult a healthcare provider if you experience potential diabetes symptoms.
Cervical Cancer Vaccine: How Many Doses Do You Need?
Learn everything you need to know about the cervical cancer vaccine: where to get it, dosage recommendations, timing, and how to maximize its effectiveness. Protect yourself and loved ones from HPV-related cancers with this essential guide.
Treatment of Stroke and Prevention of Recurrence
A stroke, also known as paralysis or hemiplegia, is a dangerous and urgent condition that can affect both the elderly and working-age individuals.