Day: May 11, 2019
ผิวหนังในผู้หญิงแต่ละวัย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผิวหนังในผู้หญิงแต่ละวัย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในแต่ละช่วงชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ผิวหนังก็เช่นกัน โดยการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังในบางวัยก็จะก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังต่างๆตามมา เช่น การเป็นสิวในวัยรุ่น เราจึงควรต้องทำความรู้จักกับผิวหนังและเกิดการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัย เพื่อเตรียมตัวดูแลผิวหนังให้สดใส สมวัย เริ่มที่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่น เป็นช่วงที่ผิวหนัง มีการเปลี่ยนแปลงมากด้านการเจริญเติบโต คือ มีการเพิ่มขึ้นของผิวหนังตามขนาดน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วพื้นที่ผิวของผิวหนังจะขยายประมาณ 7 เท่า นับตั้งแต่แรกเกิดจนโตเต็มวัย อีกทั้งผิวหนังเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลของฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง โดยฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth Hormone) และฮอร์โมนเพศ *วัยเด็ก ผิวหนังมักไม่ค่อยมีปัญหา นอกจากมีการผิดปกติของผิวหนังที่ได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรมอยู่แล้ว จนเข้าสู่วัยเรียน เมื่อเข้าโรงเรียนจะมีโอกาสเกิดผิวหนังอักเสบติดเชื้อต่างๆได้ง่าย เช่น หัด หัดเยอรมัน , สุกใส , หูด , หูดข้าวสุก , แผลพุพอง จนไปถึงหิดและเหาซึ่งจะติดต่อกันง่ายในโรงเรียน *วัยรุ่น ด้วยอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ ทำให้มีขนขึ้นตามที่ต่างๆของร่างกาย และต่อมไขมันทำงานมากขึ้นจึงทำให้เกิดสิว ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ในวัยรุ่นเกือบทุกคน รวมถึงผื่นแพ้สัมผัสจากเครื่องสำอางก็สามารถพบได้เพราะวัยรุ่น เป็นวัยที่รักสวยรักงาม และเริ่มมีการใช้เครื่องสำอางต่างๆมากขึ้น อีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย คือ ปัญหากลิ่นตัว เนื่องด้วยอิทธิพลของฮอร์โมน ทำให้ต่อมเหงื่อ ต่อมสร้างกลิ่นทำงานมากขึ้นนั่นเอง *วัยผู้ใหญ่วัยทำงาน เป็นวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีระดับฮอร์โมนเพศหญิงเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือน ซึ่งผิวหนังก็ได้รับอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วยที่พบได้บ่อย คือ ผิวหน้า , เส้นผม รู้สึกมันขึ้นหรือแห้งลง ผิวหนังบวมน้ำขึ้น เป็นสิว ถ้ามีโรคผิวหนังอยู่แล้ว เช่น สะเก็ดเงิน , ผื่นหน้าแดง , เริม ช่วงมีรอบเดือนจะมีอาการของโรคนั้นๆมากขึ้นได้ *วัยทำงาน ในบางอาชีพที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี , โลหะบางอย่าง อาจทำให้เกิดผื่นผิวหนังต่างๆและโรคที่เกิดจากอาชีพการงานได้ ผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากเครื่องสำอาง ก็พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยนี้เพราะเป็นวัยที่มีการใช้เครื่องสำอางกันทั่วไป *ผู้หญิงตั้งครรภ์ เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆมากมาย ส่งผลทั้งต่อร่างกายและจิตใจและส่งผลต่อผิวหนัง คือ มีการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนังบริเวณต่างๆมากขึ้น เช่น หัวนม , อวัยวะสืบพันธุ์ ผิวหนังบริเวณตรงกลางของหน้าท้อง ร่วมกับมีการขยายของผิวหนังมากในทุกส่วน ทั้งหน้าท้อง , แขนขา ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแตกลาย และผื่นคันได้มากกว่าปกติ ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อก็ทำงานมากขึ้นระหว่างที่ตั้งครรภ์ จึงอาจพบว่ามีเหงื่อออกมากจนเกิดผื่น ผิวหนังอักเสบจากเหงื่อ ผิวจะมันขึ้นจนอาจพบสิวที่ใบหน้า , หน้าอกและแผ่นหลังได้มากขึ้น เล็บ , ผมและขนตามร่างกายก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน บางคนจะมีขนตามร่างกายมากขึ้นได้ เล็บมีการร่อนได้ ส่วนผมไม่พบว่ามีการร่วงมากขึ้นหรือขึ้นดกกว่าปกติ จนกระทั่งหลังคลอดซึ่งจะมีโอกาสเกิดผมร่วงบางหลังคลอดได้ *วัยหมดประจำเดือน เมื่อเข้าสู่อายุ 45- 55 ปี ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ในวัยนี้ฮอร์โมนเพศจากรังไข่จะลดลงมาก ซึ่งมีผลต่อผิวหนังโดยตรง ทั้งผิวหนัง ร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ ผิวหนังจะเสียความยืดหยุ่นไป ผิวจะแห้งและบางลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของผิวหนังได้ง่ายขึ้น ผิวหนังที่แห้งก็เป็นผื่นได้ง่ายเช่นกัน การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยนี้ ก็มีผลโดยตรงต่อผิวหนัง โดยฮอร์โมนทดแทนสามารถกระตุ้นให้เกิดฝ้า , เส้นเลือดฝอยที่ผิวหน้าขยาย , ไฝที่มีอยู่เข้มขึ้น โตขึ้น นอกจากนี้ มีรายงานว่าการให้ฮอร์โมนทดแทน อาจเกี่ยวข้องกับ การเกิดผื่นลมพิษเรื้อรังและโรคผิวหนังบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับแสงแดด *วัยหลังหมดประจำเดือน ผิวหนังของผู้หญิงวัยนี้ จะเสียความยืดหยุ่นไปมาก อีกทั้งเกิดริ้วรอย จุดด่างดำมากโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด ซึ่งผิวหนังบางลงและมีเนื้องอกของผิวหนังต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เช่น กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ซีสต์ ใต้ผิวหนังและมะเร็งผิวหนังชนิดต่างๆ ต่อมไขมันทำงานน้อยลงมาก ส่งผลให้ผิวหนังแห้ง ในบางคนผิวจะแห้งมาก จนเกิดอาการคันที่ผิวหนังเรื้อรัง และอาการคันที่ผิวหนังเรื้อรังบางครั้งก็เป็นอาการแสดงของโรคบางโรคได้ ผมจะบางลง และมีสีผมจางลง มีผมหงอกมากขึ้น เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังเปราะแตกง่าย จึงอาจเกิดรอยช้ำ จ้ำเลือดใต้ผิวหนังได้บ่อย
วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง
วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง ยาก่อนอาหาร ให้รับประทานยาก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง – 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ดี หากลืมรับประทานยาในช่วงเวลาดังกล่าว ให้รับประทานยาเมื่อผ่านอาหารมื้อนั้นไปแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับยาที่ใช้รักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน จะออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหว ของกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งควรรับประทานก่อนอาหารเพื่อลดการคลื่นไส้อาเจียน ยาหลังอาหาร ให้รับประทานยาหลังอาหารประมาณ 15 -30 นาที ยาที่ให้รับประทานหลังอาหารมักเป็นยาทั่วๆไป ซึ่งอาหารที่ทานเข้าไปจะไม่รบกวนการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิดได้ ยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที สามารถรับประทานยาหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จทันทีหรือรับประทานยาไปพร้อมๆกับมื้ออาหารได้ เพราะยาประเภทนี้มักเป็นยาที่ออกฤทธิ์เป็นกรด ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อรับประทานขณะท้องว่าง ดังนั้นจึงต้องทานอาหารหรือน้ำเพื่อช่วยในการทำให้ฤทธิ์ของยาเจือจาง ยาก่อนนอน ให้รับประทานยาในช่วงก่อนเข้านอนตอนกลางคืนประมาณ 15-30 นาที ยาที่รับประทานตอนท้องว่าง ให้รับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดี ยาที่ต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน เป็นยาที่ต้องการออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน ยาที่ห้ามบด ห้ามเคี้ยว เป็นยาประเภทเม็ดเคลือบให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ (Enteric Coated Tablet) ยาที่ทำรูปแบบนี้จะเป็นตัวยาที่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยจะเคลือบเม็ดยาเพื่อให้ยาแตกตัวในลำไส้ หากบดหรือเคี้ยวยาชนิดนี้จะทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร หรืออาจเป็นยาที่ออกแบบพิเศษ เพื่อให้คงการออกฤทธิ์ตลอดเวลา หากเราบดหรือเคี้ยวยาจะทำให้คุณสมบัติของยาเปลี่ยนแปลงไป หลีกเลี่ยงการรับประทานยากับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน เช่น เหล้า ไวน์ เบียร์ ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม ควรรับประทานยาพร้อมกับน้ำเปล่าที่สะอาดและไม่ควรเป็นน้ำอุ่น ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเป็นประจำ สม่ำเสมอ ไม่ปรับเพิ่มหรือลดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ควรมาพบแพทย์ตามเวลานัด เพื่อติดตามผลการรักษา ปัญหาการใช้ยาหรือปัญหาข้างเคียงต่างๆที่อาจเกิดได้จากการรับประทานยา อย่าลืมนะคะ…ว่ายาที่ใช้ได้สำหรับเรา ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยท่านอื่น แม้ว่ายาจะสามารถใช้รักษาให้หายป่วยและทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักไว้เสมอ คือ ยาทุกชนิดล้วนแล้วแต่มีอันตราย เช่นเดียวกับที่มีคุณประโยชน์ ดังนั้น ก่อนใช้ยาควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนใช้ทุกครั้ง
รู้จักโรคภูมิแพ้ ก่อนโรคร้ายจะรู้จักคุณ ตอนที่2
การรักษาโรคภูมิแพ้ การรักษาด้วยยา ยารักษาโรคภูมิแพ้หลายชนิดเป็นยาสามัญที่คุณสามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไป แต่ยารักษาโรคภูมิแพ้บางอย่างก็ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายให้ แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ใช้ยาสามัญหรือสั่งจ่ายยาเฉพาะให้ หรือทั้งสองอย่างการรักษาด้วยยาจะได้ผลดีที่สุดเมื่อใช้อย่างถูกต้องตามที่แพทย์แนะนำ 1. ยาแก้แพ้ (Antihistamine) ยาแก้แพ้เป็นยาที่ใช้บ่อยที่สุดในการรักษาโรคภูมิแพ้ ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยป้องกันไม่ให้ Histamineรบกวนเยื่อบุช่องจมูก จึงช่วยป้องกันอาการต่างๆ เช่น การจาม คันจมูก และมีน้ำมูกไหล คุณอาจซื้อยาแก้แพ้เองได้ โดยไม่ต้องให้แพทย์สั่ง แต่ยาเหล่านี้อาจทำให้ง่วงนอนได้ ส่วนยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ง่วงนอนนั้น ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายให้หรือปรึกษาเภสัชกร ยาแก้แพ้ป้องกัน Histamine ไม่ให้รบกวนเยื่อบุช่องจมูก ลดการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล 2. ยาลดอาการคัดจมูก (Decongestant) ยาลดอาการคันจมูกจะลดอาการบวมของเยื่อบุช่องจมูก ทำให้ช่องจมูกโล่งขึ้น และลดความดันในโพรงจมูก ยาชนิดนี้คุณสามารถซื้อได้เอง หรือจะให้แพทย์สั่งจ่ายให้ก็ได้ ยาลดอาการคัดจมูกมีอยู่ 2 แบบคือ ยาเม็ด และยาพ่นจมูก ควรลองรับประทานยาสัก 2-3 วัน เพื่อบรรเทาอาการ แต่หากจำเป็นต้องใช้ยาติดต่อกันเกินกว่า 1 สัปดาห์ ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากยามีผลต่อความดันโลหิต สำหรับยาพ่นจมูกนั้น ควรใช้ต่อเมื่อแพทย์แนะนำเท่านั้น เพราะอาการจะแย่ลงได้ถ้าใช้บ่อยเกินไป ยาลดอาการคัดจมูกจะช่วยให้อาการบวมของเยื่อบุจมูกลดลง ทำให้ช่องจมูกโล่งขึ้น 3. สเตอรอยด์ (Corticosteroid) สเตอรอยด์เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง (ไม่ใช่พวก Anabolic Steroid ซึ่งพวกนักกีฬาใช้เป็นยาโด๊ป) ซึ่งช่วยลดอาการบวม คัน และจาม โดยการป้องกันเยื่อบุช่องจมูกจากการระคายเคือง ยาสเตอรอยด์มักเป็นชนิดสำหรับพ่นเข้าจมูกโดยตรง แต่จะต่างจากยาลดอาการคัดจมูกแบบพ่น ซึ่งคุณหาซื้อได้ทั่วไป สเตอรอยด์ควรต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายและต้องใช้อย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลดี ยากลุ่มนี้อาจมีอาการข้างเคียงบางอย่าง เช่น จมูกแห้ง มีเลือดออกทางจมูก หรือแสบจมูก หากคุณจำเป็นต้องใช้สเตอรอยด์ขนาดสูงขึ้นสำหรับช่วงเวลาสั้นๆ แพทย์ก็อาจสั่งจ่ายในรูปยาเม็ด สเตอรอยด์ช่วยป้องกันเยื่อบุช่องจมูกจากการระคายเคือง การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ แพทย์อาจแนะนำคุณให้ล้างจมูกเป็นครั้งคราวด้วยน้ำเกลือ (Saline Solution) โดยเฉพาะในรายที่มีไซนัสอักเสบร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้เยื่อบุช่องจมูก ทำให้รู้สึกสบายขึ้น และยังช่วยชะเอามูกและคราบต่างๆ ออกไปด้วย คุณสามารถหาซื้อชุดน้ำเกลือสำหรับทำความสะอาด ได้ตามร้านขายยาทั่วไป การฉีดยารักษาอาการภูมิแพ้ (Allergy Shots) หากการทานยาไม่สามารถบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ได้ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการฉีดยา ซึ่งก็คือสารละลายที่มีสารที่คุณแพ้ผสมอยู่จำนวนเล็กน้อย เช่น อาจเป็นเกสรดอกไม้หรือไรฝุ่น ปริมาณของสารภูมิแพ้จะค่อย ๆ ถูกเพิ่มขึ้นทีละน้อยในแต่ละครั้งที่คุณฉีด จนถึงระดับหนึ่งเรียกว่า ระดับรักษา หรือ maintenance level โดยในช่วง 3-6 เดือนแรก การฉีดยาอาจทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จากนั้นระยะห่างของการฉีดแต่ละเข็มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณเดือนที่ 6 ระยะฉีดยาจะเลื่อนเป็นเดือนละครั้งและฉีดสม่ำเสมอต่อไปอีกประมาณ 2-3 ปี วัตถุประสงค์ของการรักษาด้วยยาฉีดนี้คือเพื่อให้ร่างกายของคุณมีปฏิกิริยาต่อสารภูมิแพ้ลดลง ซึ่งผลของการรักษาด้วยวิธีนี้ช่วยให้อาการภูมิแพ้ของคนไข้จำนวนมากบรรเทาลงได้ การบังคับตัวเอง การรักษาโดยการฉีดยาภูมิแพ้จะไม่ได้ผลหากคุณไม่สามารถรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอตามตารางที่แพทย์จัดให้ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องมีวินัยในการรักษา หากมีความจำเป็นต้องเลื่อนนัดการฉีดยาในครั้งใด ต้องติดต่อกับแพทย์ของคุณเพื่อขอนัดใหม่เสมอ การผ่าตัด ในบางกรณี สาเหตุของโรคภูมิแพ้อาจเป็นโรคที่อยู่ในจมูกหรือโพรงอากาศ ซึ่งไม่สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาหรือการฉีดยาได้ แพทย์ก็อาจแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาโรคภูมิแพ้เท่านั้น การผ่าตัดเองไม่สามารถรักษาโรคภูมิแพ้ได้โดยตรง แต่จะช่วยในการตัดเอาติ่งเนื้อ (polyp) หรือสิ่งกีดขวางในช่องจมูกหรือโพรงจมูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้อาการของโรคภูมิแพ้เลวลง หากคุณมีปัญหาที่อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์ของคุณจะช่วยให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้ การปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ การสัมผัสกับสารแพ้อยู่เสมอ ย่อมทำให้คุณเกิดอาการแพ้อยู่เสมอเช่นกัน ดังนั้นการควบคุม หรือหลีกเลี่ยงสารแพ้จึงเป็นส่วนสำคัญของแผนการรักษา คำแนะนำต่อไปนี้ช่วยคุณได้ แต่อาจไม่ต้องทำทุกอย่างในคราวเดียวกัน ควรเริ่มโดยเลือกทำเพียงหนึ่งหรือสองอย่างสำหรับสารแพ้แต่ละอย่างที่คุณแพ้ หลังจากนั้นค่อยทำเพิ่มทีละน้อย ยิ่งคุณสามารถหลีกเลี่ยงสารแพ้ได้มากเท่าใดคุณจะยิ่งรู้สึกสบายขึ้นเท่านั้น 1. การหลีกเลี่ยงฝุ่นในบ้าน – ฝุ่นในบ้านรวมถึงไรฝุ่นที่เกาะอยู่เป็นสิ่งที่แทบจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย แม้แต่บ้านที่สะอาดที่สุดก็ยังมีไรฝุ่น แต่คุณยังพอจะควบคุมมันได้ ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ – หุ้มเบาะที่นอน รวมทั้งขาสปริงและหมอนหนุนด้วยผ้ากันไรฝุ่น ซึ่งไรฝุ่นไม่สามารถลอดผ่านผิวที่นอนขึ้นมาได้ – พยายามลดปริมาณฝุ่นในบ้าน ด้วยการกำจัดของไม่จำเป็นที่วางระเกะระกะออก โดยเฉพาะในห้องนอนควรยกเอาสัตว์สตัฟฟ์ ของตกแต่งบนฝาผนัง ของกระจุ๋มกระจิ๋ม หนังสือ และเฟอร์นิเจอร์ที่มีรอยแยกหรือลายแกะสลักมาก ๆออกจากห้อง – พยายามให้มีพรมในบ้านน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะจะเป็นที่อาศัยของไรฝุ่นได้ – เช็ดฝุ่นออกสักอาทิตย์ละสองครั้งด้วยผ้าเปียกและควรดูดฝุ่นด้วยเครื่องอย่างสม่ำเสมอ สวมหน้ากากกรองฝุ่นในขณะทำความสะอาด – ซักผ้าปูที่นอน เครื่องนอน และผ้าม่านอย่างสม่ำเสมอโดยใช้น้ำร้อนอย่างน้อย 60 องศาเซลเซียส สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้เพราะน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นไม่สามารถฆ่าไรฝุ่นได้ 2. การหลีกเลี่ยงเชื้อรา หากคุณแพ้เชื้อรา ต้องให้ความสนใจกับบริเวณที่จะมีน้ำขังได้ คำแนะนำต่อไปนี้จะช่วยในการการหลีกเลี่ยงเชื้อราได้ – ถ่ายน้ำออกจากบริเวณที่มีน้ำขังในสนามหญ้า เก็บกวาดเศษใบไม้และวัชพืชก่อนที่จะเริ่มเน่า เก็บของหมักให้ห่างจากตัวบ้าน – ถ้ามีรอยซึมจากก๊อกน้ำหรือหลังคารั่วต้องรับซ่อมทันที – ถ้าภายในบ้านชื้น ควรใช้เครื่องกำจัดความชื้น – หลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ในบ้าน และรักษาบริเวณชื้นแฉะให้สะอาดปราศจากเชื้อรา – ทำความสะอาดฝักบัวและอ่างอาบน้ำอย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำยาทำความสะอาดและตรวจดูว่ามีเชื้อราขึ้นที่ม่านห้องน้ำหรือไม่ 3. การหลีกเลี่ยงสัตว์ รังแค น้ำลาย และปัสสาวะของสัตว์ล้วนอาจเป็นสารแพ้ แมวจะสร้างปัญหามากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น สัตว์ที่มีขนยาวยังอาจมีฝุ่น เชื้อรา และเกสรดอกไม้ติดมาด้วย วิธีที่ดีทีสุดที่จะหลีกเลี่ยงสารแพ้จากสัตว์ คือการไม่เลี้ยงสัตว์ แต่หากคุณมีสัตว์เลี้ยงอยู่แล้วและไม่สามารถแยกจากมันได้ควรพยายามเลี่ยงการคลุกคลีสัมผัสกับมันเท่าที่จะทำได้ คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยได้ – การอาบน้ำให้สัตว์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารภูมิแพ้ลงได้มาก และยังเป็นการล้างเอาน้ำลาย ฝุ่น เชื้อรา และเกสรดอกไม้ออกจากขนของมันด้วย หลังอาบน้ำแล้ว หากสามารถล้างตัวมันด้วยน้ำกลั่นได้ก็จะยิ่งได้ผลดี 4. การหลีกเลี่ยงแมลงสาบ ฝุ่นซากแมลงสาบเป็นสาเหตุสำคัญของโรคภูมิแพ้ในคนไทยแมลงสาบมีค่อนข้างชุกชุมในที่มีเศษอาหารวิธีกำจัดคือ – ขจัดแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงสาบในครัว ถังขยะ ตู้กับข้าว ท่อระบายน้ำ และห้องน้ำ – พยายามกันสัตว์เลี้ยงไว้นอกบ้านเท่าที่เป็นไปได้ ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในห้องนอน – ล้างมือทุกครั้งที่คุณสัมผัสสัตว์เลี้ยง และพยายามให้มันอยู่ห่าง ๆ จากใบหน้าของคุณ 5. การหลีกเลี่ยงเกสรดอกไม้
โรคลำไส้แปรปรวน ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่
1. โรคลำไส้แปรปรวน คือ โรคอะไร ตอบ โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) เป็นภาวะเรื้อรังของลำไส้ ซึ่งประกอบด้วยอาการหลัก คือ ปวด หรือ อึดอัดท้อง และ มีลักษณะอาการสัมพันธ์กับการถ่าย หรือ อุจจาระที่เปลี่ยนไป (บ่งบอกว่าเป็นการปวดจากลำไส้ใหญ่) ซึ่งไม่พบว่ามีสาเหตุใด ๆ 2. โรคนี้พบได้มากแค่ไหน คนอื่น ใคร ๆ เป็นโรคนี้กันมากไหม ตอบ ภาวะโรคนี้พบได้มากเลยทีเดียว เรียกว่าบางการศึกษาพบว่าเป็นภาวะที่ทำให้ทำงานไม่ได้เป็นภาวะโรคอันดับ 2 รองจากไข้หวัด พบว่ามีถึง10 ถึง 20 % ของประชากรทั่วไปเลย แต่มีเพียงแค่ 15 % ของผู้ที่ปัญหาจากโรคนี้ที่เข้าตรวจ หรือ ปรึกษาแพทย์ 3. โรคนี้หายได้หรือไม่ ตอบ พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้น หรือ หายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ จากลักษณะนี้ทำให้เกิดความหงุดหงิดในการรักษาทั้งแพทย์ และ ผู้ป่วย การรักษาพบว่าดีขึ้นได้มากขึ้น ถ้าผู้ป่วยทราบว่าลักษณะโรคนี้ ดีขึ้นแต่ไม่หาย และ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุโรคร้ายแรงใด ๆ เลย ดังกล่าว 4. สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME) ตอบ มีหลายทฤษฎี ที่เสนอว่าน่าอธิบาย ภาวะโรคนี้ได้ แม้มีการศึกษาโรคนี้กันมากมาย แต่พบว่าไม่มีทฤษฎีใดอธิบายในคนไข้ได้ทุกคนถูกต้องเหมือนกันหมดได้เลย ทฤษฎีแรก เสนอว่าน่าเกิดจากการบีบตัวผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ อาจเรียกว่าตะคริว ลำไส้เกร็งตัวผิดปกติ (spastic colon) การบีบตัวอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดการปวดเกร็งลำไส้ ผู้ป่วยบางรายจึงตอบสนองต่อการให้ยาคลายลำไส้ (antispasmodic) และ ให้ใยอาหาร (fiber)(สารนี้อาจทำให้เกิดการทำให้การบีบตัวของลำไส้เข้าที่ กลับสู่ปกติได้ (regulate contractions)) แต่ดังที่กล่าวแล้ว ภาวะนี้ไม่สามารถอธิบายผู้ป่วยได้ทุกคนจากการพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดภาวะนี้ตามหลังการติดเชื้อ เช่นเชื้อไข้รากสาด หรือ เชื้อแบคทีเรียอาหารเป็นพิษ เช่น Salmonella หรือ Campylobacter กลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่ของโรคนี้ ไม่มีประวัติการติดเชื้อนำ ตามทฤษฎีนี้ผู้ป่วยโรคนี้พบว่ามีหลาย ๆ คนที่มีภาวะทางจิตเวช หรือ ความเครียดร่วมด้วย แต่อาจเป็นผล คือตามที่กล่าวแล้วว่าภาวะนี้พบได้มาก และ ผู้ป่วยไม่สนใจจะมารักษา ผู้ที่มีภาวะเครียด หรือ จิตเวชมีแนวโน้มจะเข้าปรึกษาแพทย์ได้มากอยู่แล้ว จึงอาจพบผู้ป่วยโรคนี้ที่มีจิตเวชได้มากกว่าปกติก็ได้ ไม่ได้เป็นต้นเหตุที่แท้จริง ส่วนทฤษฎีที่ว่าภาวะเครียด กังวลใจ อาจมีผลต่อลำไส้ทำให้เกิดการปวด หรือ รู้สึกไวขึ้นได้นั่นเองภาวะไวต่ออาหาร หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี (Food intolerances) พบได้เกือบทุกคนในภาวะนี้ จึงเป็นไปได้ว่าโรคนี้อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือ ไวต่ออาหาร (food sensitivity หรือ allergy) พบว่าทฤษฎีนี้ยากที่จะพิสูจน์ และได้รับการศึกษาอย่างมากขณะนี้ การจดดูรายการอาหารที่ ทำให้อาการมากขึ้น และหลีกเลี่ยงซึ่งทำได้ยาก (การรักษานี้เรียกว่า การทานอาหารแบบคัดออกหลีกเลี่ยง elimination diet) แต่การทำวิธีดังกล่าวนอกจากอาจเลือกอาหารได้ผิด และทำได้ยาก ยังทำให้ผู้ป่วยขาดอาหารที่สำคัญบางอย่างไปโดยไม่จำเป็น และ อาจไม่เป็นสาเหตุที่แม้จริงได้ รวมทั้งผู้ป่วยยังเข้าสังคมไม่ได้ดี และ อาหารเองก็มีการปะปนกันดูได้ยากด้วย เช่นนม จะรวมทั้งครีม หรือ อาหารบางอย่างที่ใส่นมโดยไม่รู้ตัวด้วย อาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้กำเริบได้ ได้แก่ อาหารกลุ่มนม (dairy products) ซึ่งมีสาร lactose, อาหารกลุ่มถั่ว และ อาหารกลุ่มผัก cruciferous vegetables (เช่น broccoli, กะหล่ำ cauliflower, brussels sprouts, และ cabbage) ส่วนใหญ่ทำให้เกิดลมในท้อง หรือ ลำไส้เกร็งตัวได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้หลาย ๆ การศึกษาพบว่า IBS อาจเกิดจาก ความไวต่อความรู้สึกของลำไส้มากเกินไป โดยไม่ได้มีโรค หรือ การบีบตัวผิดปกติใด ๆ เลย ( เรียกว่า ลำไส้ไวขึ้น “visceral hyperalgesia”) ดังนั้นแม้ลม มีการบีบตัวปกติ อุจจาระ หรือ อาหารปกติ ก็ทำให้เกิดการปวดรุนแรงได้ พบว่าการรักษาซึ่งสนับสนุนทฤษฎีนี้คือ พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งตอบสนองต่อยากลุ่มลดการไวต่อการปวด เช่น ( low doses ของ imipramine หรือ nortriptyline) เป็นต้น 5. อาการของโรคนี้มีอะไรบ้าง ตอบ IBS มักพบตั้งแต่อายุยังน้อย โดยผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า แม้ตามที่กล่าวอาจเกิดจากผู้หญิงเองอยากพบ เข้าปรึกษาแพทย์มากกว่าผู้ชายก็ได้ ในบางประเทศเช่นอินเดียพบว่าพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการมีดังนี้ 5.1 ปวดท้อง – มักเป็นลักษณะบีบ (crampy) มีความรุนแรงไม่เท่ากัน และมักอยู่ในส่วนของลำไส้ด้านล่างด้านซ้าย แต่ลักษณะการปวดอาจเป็นแบบอื่นเช่นตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มีความรุนแรงต่าง ๆกัน รวมทั้งตำแหน่งอาจอยู่ที่ใดก็ได้ด้วย ไม่เหมือนกันในแต่ละคน บางคนพบว่าเมื่อเครียด หรือ ทานอาหารบางอย่างอาจทำให้แย่ลงมากขึ้นได้ บางรายการถ่ายทำให้อาการหาย หรือ ลดลงไปได้ บางรายปวดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน 5.2 มีลักษณะการถ่ายผิดไป (Altered bowel habits)
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
คนทั่วไปเมื่ออดอาหาร น้ำตาลในเลือดลดลง ร่างกายจะมีกลไกเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในร่างกายโดยผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมน เช่นใช้ glycogen ที่สะสมอยู่ที่ตับ ใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้แทน แต่ผู้ป่วยเบาหวานที่น้ำตาลไม่ได้ต่ำโดยธรรมชาติแต่เกิดจากยาเบาหวานนั้น กลไกช่วยเหลือของร่างกายอาจไม่เพียงพอจนทำให้มีอันตรายถึงหมดสติได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำพบได้เรื่อยๆในผู้ป่วยเบาหวานที่พยายามควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี เมื่อกินอาหารได้น้อย กินอาหารผิดเวลา ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมมาก จึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ จึงควรที่จะรู้จักภาวะนี้ให้ดี ผู้ป่วยส่วนหนึ่งรู้จักอาการแต่แก้ไขไม่ถูกต้องจึงทำให้น้ำตาลกลับเป็นตรงข้าม คือสูงขึ้นจนน่ากลัว Q: ผู้ป่วยเบาหวานคนไหนบ้างเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ? A : – ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานไม่รุนแรงรักษาโดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายโดยไม่ใช้ยาเบาหวานไม่เสี่ยงต่อภาวะนี้ – ผู้ป่วยใช้ยาที่ไม่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลต่ำ ได้แก่ Metformin หรือ glucophage Pioglitazone หรือ actos หรือ ulmos Januvia หรือ glavus Glucobay, Basen * ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้แม้หลายตัวรวมกันก็มักไม่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ – ผู้ป่วยที่ใช้ยาที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ ยากลุ่ม Sulfonyluria ได้แก่ glibenclamide(daonil) , glibenclamide(minidiab), glimepiride(amaryl) , gliclazide(diamicron) ยากลุ่ม novonorm ยาฉีดอินซูลินทุกชนิด Q : ทำไมจึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ? A : ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่สมดุล ของอาหาร ปริมาณยากิน ยาอินซูลิน กิจกรรมในวันนั้น และการเจ็บป่วย ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ได้รับยารักษาเบาหวานที่ไม่เหมาะสมทั้งชนิดของยา ขนาดยามากเกิน และเวลาบริหารยา กินอาหารปริมาณน้อยกว่าเดิมหรือไม่เพียงพอ หรือมื้ออาหารถูกงดหรือเลื่อนเวลาออกไปจากเวลาปกติ และการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบอาหารทำให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตลดลง มีการใช้กลูโคสเพิ่มขึ้น เช่น ออกกำลังกายมากขึ้น การผลิตกลูโคสที่ตับ น้อยลง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ โรคตับแข็ง ร่างกายมีความไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น เช่น น้ำหนักตัวลดลง ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น การกำจัดอินซูลินหรือยารักษาเบาหวานลดลง เช่น การทำงานของไต หรือ ตับ เสื่อมลง สูงอายุ มีการควบคุมเบาหวานอย่างเข้มงวดโดยกำหนดระดับเป้าหมาย HbA1c และ ระดับน้ำตาลในเลือดที่ใกล้เคียงระดับปกติมากหรือที่ระดับปกติ เคยมีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดโดยเฉพาะระดับรุนแรงเกิดขึ้นมาก่อน เคยมีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดโดยไม่มีอาการเตือนเกิดขึ้นมาก่อน Q : อาการอย่างไรบ่งว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ ? A : อาการแตกต่างไปในแต่ละคน อาการเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้น และอาการสมองขาดน้ำตาล อาการที่พบได้ เช่น ตัวสั่น มือสั่น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย เหงื่อแตก หิว ตามัว หน้าซีด อารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด เศร้า โมโห โดยไม่มีเหตุผล เซื่องซึม สับสน สมาธิสั้น ชาบริเวรรอบปาก เป็นลม หมดสติ ชัก เป็นต้น หากมีเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วพบว่า น้ำตาลน้อยกว่า 70 มก.ดล. หรือขึ้น Lo แสดงว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ หากไม่สามารถเจาะน้ำตาลได้ทันทีแต่มีอาการชัดเจน ควรรักษาแก้ไขเบื้องต้นก่อนเช่นกัน Q : หากน้ำตาลต่ำแล้วควรทำอย่างไร ? A : แบ่งความรุนแรงเป็นสองระดับตามความรู้สึกตัว 1. ผู้ป่วยยังรู้สึกตัวช่วยเหลือตนเองได้ ให้กินคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็ว 15-20 กรัม หรือ 1 ส่วน รอ 15 นาที เจาะน้ำตาลปลายนิ้วใหม่ ถ้าน้ำตาลในเลือดยังต่ำอยู่ กินคาร์โบไฮเดรตอีก 15-20 กรัม จนกว่าน้ำตาลมากกว่า 70มก.ดล. กรณีเป็นก่อนมื้ออาหาร ควรกินอาหารทันที หากเป็นระหว่างมื้ออาหาร ให้กินคาร์โบไฮเดรต ดูดซึมช้า 1 ส่วน ปริมาณคาร์โบไอเดรตชนิดดูดซึมเร็ว 15 กรัม *(อย่างใดอย่างหนึ่ง) ลูกอม 3 เม็ด น้ำผลไม้ 120-180 ซีซี น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ่ง เฮลบลูบอย 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณคาร์โบไอเดรตชนิดดูดซึมช้า 15 กรัม *(อย่างใดอย่างหนึ่ง) ขมนปัง 1 แผ่น กล้วยหรือแอ๊ปเปิ้ล 1 ลูก โยเกิร์ต 200 กรัม นมจืด 1 กล่อง ข้าวต้ม หรือโจ๊ก ½ ถ้วย ** ข้อควรระวัง ผู้ป่วยมักกินน้ำตาลมากเกินไป เนื่องจากอาการไม่ดีขึ้นทันที ทำให้น้ำตาลขึ้นสูงมาก ให้รอประเมินผลที่ 15 นาที *** ของหวานที่ใช้ไม่ได้ ช็อคโกเลต คุ้กกี้ เค้ก เนื่องจากมีไขมันสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง 2. หากผู้ป่วยหมดสติ หรือรู้สึกตัวแต่ช่วยตัวเองไม่ได้ จัดเป็นน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง โทรตามรถพยาบาล ถ้าหมดสติห้ามให้น้ำหวานหรือลูกอมเนื่องจากอาจสำลักได้ ห้ามใส่มือหรือช้อนเข้าไปในปาก น้ำตาลต่ำขณะนอนหลับ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ ถ้ากินอาหารมื้อเย็นน้อย หรือออกกำลังกายหนัก อันตรายเนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกตัวตื่นมากินน้ำหวานแก้ไขได้ทัน สังเกตอาการ ดังนี้ ชุดนอนเปียกเหงื่อ ปวดศรีษะเมื่อตื่นนอน ฝันร้าย ไม่รู้สึกพักผ่อน ยังเพลีย วิธีแก้ไข ตรวจเช็คระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ช่วง
ไข้หวัดใหญ่ โรคใกล้ตัวที่ป้องกันได้
โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันที่มีการระบาดทั่วโลก ซึ่ง ทุกคนมีโอกาสได้รับเชื้อนี้ ไข้หวัดใหญ่ติดต่ออย่างไร เชื้อไข้หวัดใหญ่ติดต่อกันได้ง่าย ผ่านทางระบบทางเดินหายใจหรือการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง เช่น ไอ จามรดกัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่แออัดหรือสถานที่ๆมีระบบปรับอากาศ หรือจับต้องสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย และในช่วง 1-2 วัน ก่อนจะแสดงอาการ ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นหรือคนในครอบครัวโดยไม่รู้ตัว อาการของโรค อาการที่สำคัญเริ่มด้วย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลียมาก ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว เจ็บคอ คัดจมูก หรือบางคนอาจมีอาเจียนท้องเสียด้วย โดยทั่วไปจะมีอาการ 7-10 วัน หลังจากหายบางคนจะมีอาการอ่อนเพลียอยู่อีกหลายวัน ความรุนแรงของโรค ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เสียชีวิตจากเชื้อไข้หวัดใหญ่เองหรือเกิดจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดตามมา เช่น โรคปอดบวม โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ การป้องกัน ปิด การปิดปากปิดจมูกเมื่อป่วย ไอ จามโดยใช้กระดาษทิชชู่ สามหน้ากากอนามัย หรือไอใส่ต้นแขนตนเอง ล้าง ล้างมือบ่อยๆก่อนรับประทานอาหาร หลังไอจาม สั่งน้ำมูก จับต้องสิ่งของหรือพื้นผิวที่มีคนสัมผัส เลี่ยง เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม เลี่ยงสถานที่ๆคนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก (โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด) หยุด หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับผู้อื่นเมื่อป่วย เพื่อให้หายป่วยเร็วและไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น ฉีด ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้กับกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง ข้อมูลตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคนี้แล้ว วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ถ้าไม่เคยฉีดมาก่อน ในปีแรกให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน หลังจากนั้นให้ฉีดเข็มเดียวในแต่ละปี สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ฉีดปีละครั้ง โดยทั่วไปวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ร้อยละ 60-90 % หรือหากเป็นโรค อาการของโรคมักไม่รุนแรง ซึ่งภูมิคุ้มกันต่อโรค ไข้หวัดใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน 10-15 วัน และภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่นี้จะอยู่ได้นานถึง 1 ปี
โรคติดบุหรี่
“บุหรี่ทำให้อายุสั้นลงโดยเฉลี่ย 13.2 ปีในผู้ชาย และ 14.5 ปีในผู้หญิง ” การติดบุหรี่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่ป้องกันได้ ควันบุหรี่มีผลกระทบต่อหัวใจและระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ , อัมพฤกษ์อัมพาต , ถุงลมโป่งพองและมะเร็ง (โดยเฉพาะมะเร็งปอด , มะเร็งในช่องปาก , มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งตับอ่อน) นอกจากนี้ยังมีผลต่อหลอดเลือดและโรคความดันโลหิตสูง ผลกระทบของบุหรี่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและปริมาณบุหรี่ที่สูบต่อวัน ในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งหลายชนิดที่มีผลต่อเซลล์ในร่างกาย และยังมีสารนิโคตินซึ่งเป็นสารเสพติดที่มีผลต่อร่างกายและจิตใจ บุหรี่ยังมีผลต่อเด็กทารกในครรภ์ ทำให้มารดาที่ตั้งครรภ์มีโอกาสแท้งบุตร คลอดบุตรที่เสียชีวิต คลอดบุตรที่มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ บุหรี่ยังมีผลทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง บุหรี่ทำให้อายุสั้นลงโดยเฉลี่ย 13.2 ปีในผู้ชาย และ 14.5 ปีในผู้หญิง ผู้สูบบุหรี่มือสองมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 25-30 % และมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติ 20-30% ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การสูบบุหรี่เป็นโรคเรื้อรังอย่างหนึ่งที่เป็นๆหายๆ และมีแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพไม่ต่างจากโรคเรื้อรังอื่นๆโดยให้ชื่อโรคนี้ว่า “โรคติดบุหรี่” และถ้าไม่เลิกสูบบุหรี่จะมีผู้เสียชีวิตอันสืบเนื่องจากบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ปัจจุบันมีบริการช่วยเลิกบุหรี่โดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์หรือบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ การที่ผู้ป่วยไม่ทราบและไม่เข้าถึงการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ ทำให้คนส่วนมากเลือกวิธีการเลิกบุหรี่ด้วยตนเองแบบหักดิบซึ่งมีอัตราความสำเร็จต่ำและมีโอกาสกลับไปสูบบุหรี่ซ้ำได้มาก เมื่อท่านตั้งใจที่จะลด ละ เลิกบุหรี่อย่างแท้จริง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ที่คอยให้คำปรึกษา ท่านจะได้รับการซักถามประวัติการสูบบุหรี่ และจะได้รับคำแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด โดยได้รับการประเมินความประสงค์และความพร้อมในการเลิกบุหรี่ ประเมินความรุนแรงของการติดบุหรี่ ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นเร้าให้สูบบุหรี่ รวมถึงจะได้รับการช่วยเหลือและบำบัดรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ และจะมีการนัดติดตามอาการและผลการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่มีประวัติการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ เหนื่อยง่าย มีเสมหะมาก ไอเรื้อรัง จะได้รับคำแนะนำให้ตรวจสมรรถภาพทางปอดเพื่อค้นหาโรคระบบทางเดินหายใจ หากพบว่าในครอบครัวมีบุคคลอื่นที่สูบบุหรี่ แนะนำให้เลิกสูบบุหรี่กันทุกคน พร้อมทั้งแนะนำให้สมาชิกคนอื่นในครอบครัวมาปรึกษาเรื่องเลิกบุหรี่ด้วย ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพทำให้อัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จเพิ่มขึ้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1. สารนิโคตินทดแทน ซึ่งจะช่วยลดอาการอยากบุหรี่ให้ลดลงและลดอาการถอนนิโคติน ในเมืองไทยมียาในรูปแบบหมากฝรั่งและแบบแผ่นติดผิวหนัง 2. ยากลุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของนิโคติน ได้แก่ nortriptyline , buproprion SR , varenicline ยาเหล่านี้มีฤทธิ์ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ได้ และทำให้ผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น สำหรับการรักษาทางเลือก เช่น แพทย์แผนไทย การฝังเข็ม อาจมีส่วนช่วยให้สามารถเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น แต่ยังต้องรอดูข้อมูลสนับสนุนต่อไปในอนาคต ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีความจำเป็นในการใช้ยาเพื่อช่วยเลิกบุหรี่ แต่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ กรณีที่ผู้ติดบุหรี่ได้พยายามเลิกบุหรี่แล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จอาจรู้สึกท้อแท้ได้ เนื่องจากธรรมชาติของโรคติดบุหรี่เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นๆหายๆ ขอเพียงแต่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง ในกรณีดังกล่าวการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือบุคลากรวิชาชีพทางสาธารณสุข เพื่อรับคำแนะนำหรือรับยาจะทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่เพิ่มขึ้น
เบาหวานขึ้นตา Diabetic retinopathy
เบาหวานขึ้นตา Diabetic retinopathy ศูนย์อายุรกรรม Q: ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงตาบอดมากกว่าคนปกติเพราอะไร A: ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงโรคตามากขึ้น ทั้งต้อกระจก ต้อหิน เส้นประสาทตาและเส้นประสาทกล้ามเนื้อตาผิดปกติ และเบาหวานขึ้นจอตา(Diabetic retinopathy) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของตาบอดในประชากรโลกปัจจุบัน ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน 2-3 ปี พบเบาหวานขึ้นตาร้อยละ 3-4 และเพิ่มเป็นร้อยละ 15-20 เมื่อเป็นเบาหวานนาน 15 ปี Q: สาเหตุของเบาหวานขึ้นตา A: ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำลายผนังหลอดเลือดในจอประสาทตา ทำให้เกิดโป่งพอง อุดตัน มีการรั่วซึมของสารน้ำและเม็ดเลือด เกิดจอประสาทตาบวม จอตาขาดเลือดจึงงอกเส้นเลือดใหม่ซึ่งเปราะ แตกง่ายเกิดเลือดออกเข้าวุ้นตาทำให้ตามัวจนถึงตาบอด หรือเกิดพังผืดดีงรั้งจอตาทำตาบอดได้เช่นกัน Q: ป้องกันเบาหวานขึ้นตาได้อย่างไร A: ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้ปกติ Q: การตรวจโรคเบาหวานขึ้นตาทำอย่างไร A: แนะนำผู้ป่วยเบาหวานทุกรายตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง โดยการตรวจประกอบด้วย – การวัดสายตา – การวัดความดันลูกตา – หยอดยาขยายม่านตา เพื่อให้ตรวจจอตาได้ชัดเจน ซึ่งยาทำให้ตาลายชั่วคราวประมาณ 4 ชม. ไม่สามารถขับรถได้ และรอม่านตาขยาย 1 ชม. จึงตรวจได้ – ตรวจ Slit lamb เพื่อดูกระจกตาและส่วนหน้าของตา – ตรวจจอประสาทตาด้วย Indirect Ophalmoscope Q: โรคเบาหวานขึ้นตารักษาอย่างไร A: ระยะต้น เพียงควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้ปกติ ระยะต่อมา รักษาด้วยการฉายเลเซอร์ที่จอประสาทตา ยับยั้งไม่ลุกลาม หรือการฉีดยา Anti-vascular endothelial growth factor เข้าวุ้นตา เพื่อลดการงอกของหลอดเลือดใหม่ ในรายที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น การดึงรั้งจอประสาทตาจนหลุดลอก ต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด เป็นต้น
ผิวหนังในผู้หญิงแต่ละวัย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผิวหนังในผู้หญิงแต่ละวัย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในแต่ละช่วงชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ผิวหนังก็เช่นกัน โดยการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังในบางวัยก็จะก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังต่างๆตามมา เช่น การเป็นสิวในวัยรุ่น เราจึงควรต้องทำความรู้จักกับผิวหนังและเกิดการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัย เพื่อเตรียมตัวดูแลผิวหนังให้สดใส สมวัย เริ่มที่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่น เป็นช่วงที่ผิวหนัง มีการเปลี่ยนแปลงมากด้านการเจริญเติบโต คือ มีการเพิ่มขึ้นของผิวหนังตามขนาดน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วพื้นที่ผิวของผิวหนังจะขยายประมาณ 7 เท่า นับตั้งแต่แรกเกิดจนโตเต็มวัย อีกทั้งผิวหนังเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลของฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง โดยฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth Hormone) และฮอร์โมนเพศ *วัยเด็ก ผิวหนังมักไม่ค่อยมีปัญหา นอกจากมีการผิดปกติของผิวหนังที่ได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรมอยู่แล้ว จนเข้าสู่วัยเรียน เมื่อเข้าโรงเรียนจะมีโอกาสเกิดผิวหนังอักเสบติดเชื้อต่างๆได้ง่าย เช่น หัด หัดเยอรมัน , สุกใส , หูด , หูดข้าวสุก , แผลพุพอง จนไปถึงหิดและเหาซึ่งจะติดต่อกันง่ายในโรงเรียน *วัยรุ่น ด้วยอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ ทำให้มีขนขึ้นตามที่ต่างๆของร่างกาย และต่อมไขมันทำงานมากขึ้นจึงทำให้เกิดสิว ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ในวัยรุ่นเกือบทุกคน รวมถึงผื่นแพ้สัมผัสจากเครื่องสำอางก็สามารถพบได้เพราะวัยรุ่น เป็นวัยที่รักสวยรักงาม และเริ่มมีการใช้เครื่องสำอางต่างๆมากขึ้น อีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย คือ ปัญหากลิ่นตัว เนื่องด้วยอิทธิพลของฮอร์โมน ทำให้ต่อมเหงื่อ ต่อมสร้างกลิ่นทำงานมากขึ้นนั่นเอง *วัยผู้ใหญ่วัยทำงาน เป็นวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีระดับฮอร์โมนเพศหญิงเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือน ซึ่งผิวหนังก็ได้รับอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วยที่พบได้บ่อย คือ ผิวหน้า , เส้นผม รู้สึกมันขึ้นหรือแห้งลง ผิวหนังบวมน้ำขึ้น เป็นสิว ถ้ามีโรคผิวหนังอยู่แล้ว เช่น สะเก็ดเงิน , ผื่นหน้าแดง , เริม ช่วงมีรอบเดือนจะมีอาการของโรคนั้นๆมากขึ้นได้ *วัยทำงาน ในบางอาชีพที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี , โลหะบางอย่าง อาจทำให้เกิดผื่นผิวหนังต่างๆและโรคที่เกิดจากอาชีพการงานได้ ผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากเครื่องสำอาง ก็พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยนี้เพราะเป็นวัยที่มีการใช้เครื่องสำอางกันทั่วไป *ผู้หญิงตั้งครรภ์ เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆมากมาย ส่งผลทั้งต่อร่างกายและจิตใจและส่งผลต่อผิวหนัง คือ มีการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนังบริเวณต่างๆมากขึ้น เช่น หัวนม , อวัยวะสืบพันธุ์ ผิวหนังบริเวณตรงกลางของหน้าท้อง ร่วมกับมีการขยายของผิวหนังมากในทุกส่วน ทั้งหน้าท้อง , แขนขา ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแตกลาย และผื่นคันได้มากกว่าปกติ ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อก็ทำงานมากขึ้นระหว่างที่ตั้งครรภ์ จึงอาจพบว่ามีเหงื่อออกมากจนเกิดผื่น ผิวหนังอักเสบจากเหงื่อ ผิวจะมันขึ้นจนอาจพบสิวที่ใบหน้า , หน้าอกและแผ่นหลังได้มากขึ้น เล็บ , ผมและขนตามร่างกายก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน บางคนจะมีขนตามร่างกายมากขึ้นได้ เล็บมีการร่อนได้ ส่วนผมไม่พบว่ามีการร่วงมากขึ้นหรือขึ้นดกกว่าปกติ จนกระทั่งหลังคลอดซึ่งจะมีโอกาสเกิดผมร่วงบางหลังคลอดได้ *วัยหมดประจำเดือน เมื่อเข้าสู่อายุ 45- 55 ปี ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ในวัยนี้ฮอร์โมนเพศจากรังไข่จะลดลงมาก ซึ่งมีผลต่อผิวหนังโดยตรง ทั้งผิวหนัง ร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ ผิวหนังจะเสียความยืดหยุ่นไป ผิวจะแห้งและบางลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของผิวหนังได้ง่ายขึ้น ผิวหนังที่แห้งก็เป็นผื่นได้ง่ายเช่นกัน การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยนี้ ก็มีผลโดยตรงต่อผิวหนัง โดยฮอร์โมนทดแทนสามารถกระตุ้นให้เกิดฝ้า , เส้นเลือดฝอยที่ผิวหน้าขยาย , ไฝที่มีอยู่เข้มขึ้น โตขึ้น นอกจากนี้ มีรายงานว่าการให้ฮอร์โมนทดแทน อาจเกี่ยวข้องกับ การเกิดผื่นลมพิษเรื้อรังและโรคผิวหนังบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับแสงแดด *วัยหลังหมดประจำเดือน ผิวหนังของผู้หญิงวัยนี้ จะเสียความยืดหยุ่นไปมาก อีกทั้งเกิดริ้วรอย จุดด่างดำมากโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด ซึ่งผิวหนังบางลงและมีเนื้องอกของผิวหนังต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เช่น กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ซีสต์ ใต้ผิวหนังและมะเร็งผิวหนังชนิดต่างๆ ต่อมไขมันทำงานน้อยลงมาก ส่งผลให้ผิวหนังแห้ง ในบางคนผิวจะแห้งมาก จนเกิดอาการคันที่ผิวหนังเรื้อรัง และอาการคันที่ผิวหนังเรื้อรังบางครั้งก็เป็นอาการแสดงของโรคบางโรคได้ ผมจะบางลง และมีสีผมจางลง มีผมหงอกมากขึ้น เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังเปราะแตกง่าย จึงอาจเกิดรอยช้ำ จ้ำเลือดใต้ผิวหนังได้บ่อย
วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง
วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง ยาก่อนอาหาร ให้รับประทานยาก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง – 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ดี หากลืมรับประทานยาในช่วงเวลาดังกล่าว ให้รับประทานยาเมื่อผ่านอาหารมื้อนั้นไปแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับยาที่ใช้รักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน จะออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหว ของกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งควรรับประทานก่อนอาหารเพื่อลดการคลื่นไส้อาเจียน ยาหลังอาหาร ให้รับประทานยาหลังอาหารประมาณ 15 -30 นาที ยาที่ให้รับประทานหลังอาหารมักเป็นยาทั่วๆไป ซึ่งอาหารที่ทานเข้าไปจะไม่รบกวนการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิดได้ ยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที สามารถรับประทานยาหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จทันทีหรือรับประทานยาไปพร้อมๆกับมื้ออาหารได้ เพราะยาประเภทนี้มักเป็นยาที่ออกฤทธิ์เป็นกรด ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อรับประทานขณะท้องว่าง ดังนั้นจึงต้องทานอาหารหรือน้ำเพื่อช่วยในการทำให้ฤทธิ์ของยาเจือจาง ยาก่อนนอน ให้รับประทานยาในช่วงก่อนเข้านอนตอนกลางคืนประมาณ 15-30 นาที ยาที่รับประทานตอนท้องว่าง ให้รับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดี ยาที่ต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน เป็นยาที่ต้องการออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน ยาที่ห้ามบด ห้ามเคี้ยว เป็นยาประเภทเม็ดเคลือบให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ (Enteric Coated Tablet) ยาที่ทำรูปแบบนี้จะเป็นตัวยาที่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยจะเคลือบเม็ดยาเพื่อให้ยาแตกตัวในลำไส้ หากบดหรือเคี้ยวยาชนิดนี้จะทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร หรืออาจเป็นยาที่ออกแบบพิเศษ เพื่อให้คงการออกฤทธิ์ตลอดเวลา หากเราบดหรือเคี้ยวยาจะทำให้คุณสมบัติของยาเปลี่ยนแปลงไป หลีกเลี่ยงการรับประทานยากับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน เช่น เหล้า ไวน์ เบียร์ ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม ควรรับประทานยาพร้อมกับน้ำเปล่าที่สะอาดและไม่ควรเป็นน้ำอุ่น ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเป็นประจำ สม่ำเสมอ ไม่ปรับเพิ่มหรือลดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ควรมาพบแพทย์ตามเวลานัด เพื่อติดตามผลการรักษา ปัญหาการใช้ยาหรือปัญหาข้างเคียงต่างๆที่อาจเกิดได้จากการรับประทานยา อย่าลืมนะคะ…ว่ายาที่ใช้ได้สำหรับเรา ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยท่านอื่น แม้ว่ายาจะสามารถใช้รักษาให้หายป่วยและทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักไว้เสมอ คือ ยาทุกชนิดล้วนแล้วแต่มีอันตราย เช่นเดียวกับที่มีคุณประโยชน์ ดังนั้น ก่อนใช้ยาควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนใช้ทุกครั้ง
รู้จักโรคภูมิแพ้ ก่อนโรคร้ายจะรู้จักคุณ ตอนที่2
การรักษาโรคภูมิแพ้ การรักษาด้วยยา ยารักษาโรคภูมิแพ้หลายชนิดเป็นยาสามัญที่คุณสามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไป แต่ยารักษาโรคภูมิแพ้บางอย่างก็ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายให้ แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ใช้ยาสามัญหรือสั่งจ่ายยาเฉพาะให้ หรือทั้งสองอย่างการรักษาด้วยยาจะได้ผลดีที่สุดเมื่อใช้อย่างถูกต้องตามที่แพทย์แนะนำ 1. ยาแก้แพ้ (Antihistamine) ยาแก้แพ้เป็นยาที่ใช้บ่อยที่สุดในการรักษาโรคภูมิแพ้ ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยป้องกันไม่ให้ Histamineรบกวนเยื่อบุช่องจมูก จึงช่วยป้องกันอาการต่างๆ เช่น การจาม คันจมูก และมีน้ำมูกไหล คุณอาจซื้อยาแก้แพ้เองได้ โดยไม่ต้องให้แพทย์สั่ง แต่ยาเหล่านี้อาจทำให้ง่วงนอนได้ ส่วนยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ง่วงนอนนั้น ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายให้หรือปรึกษาเภสัชกร ยาแก้แพ้ป้องกัน Histamine ไม่ให้รบกวนเยื่อบุช่องจมูก ลดการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล 2. ยาลดอาการคัดจมูก (Decongestant) ยาลดอาการคันจมูกจะลดอาการบวมของเยื่อบุช่องจมูก ทำให้ช่องจมูกโล่งขึ้น และลดความดันในโพรงจมูก ยาชนิดนี้คุณสามารถซื้อได้เอง หรือจะให้แพทย์สั่งจ่ายให้ก็ได้ ยาลดอาการคัดจมูกมีอยู่ 2 แบบคือ ยาเม็ด และยาพ่นจมูก ควรลองรับประทานยาสัก 2-3 วัน เพื่อบรรเทาอาการ แต่หากจำเป็นต้องใช้ยาติดต่อกันเกินกว่า 1 สัปดาห์ ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากยามีผลต่อความดันโลหิต สำหรับยาพ่นจมูกนั้น ควรใช้ต่อเมื่อแพทย์แนะนำเท่านั้น เพราะอาการจะแย่ลงได้ถ้าใช้บ่อยเกินไป ยาลดอาการคัดจมูกจะช่วยให้อาการบวมของเยื่อบุจมูกลดลง ทำให้ช่องจมูกโล่งขึ้น 3. สเตอรอยด์ (Corticosteroid) สเตอรอยด์เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง (ไม่ใช่พวก Anabolic Steroid ซึ่งพวกนักกีฬาใช้เป็นยาโด๊ป) ซึ่งช่วยลดอาการบวม คัน และจาม โดยการป้องกันเยื่อบุช่องจมูกจากการระคายเคือง ยาสเตอรอยด์มักเป็นชนิดสำหรับพ่นเข้าจมูกโดยตรง แต่จะต่างจากยาลดอาการคัดจมูกแบบพ่น ซึ่งคุณหาซื้อได้ทั่วไป สเตอรอยด์ควรต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายและต้องใช้อย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลดี ยากลุ่มนี้อาจมีอาการข้างเคียงบางอย่าง เช่น จมูกแห้ง มีเลือดออกทางจมูก หรือแสบจมูก หากคุณจำเป็นต้องใช้สเตอรอยด์ขนาดสูงขึ้นสำหรับช่วงเวลาสั้นๆ แพทย์ก็อาจสั่งจ่ายในรูปยาเม็ด สเตอรอยด์ช่วยป้องกันเยื่อบุช่องจมูกจากการระคายเคือง การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ แพทย์อาจแนะนำคุณให้ล้างจมูกเป็นครั้งคราวด้วยน้ำเกลือ (Saline Solution) โดยเฉพาะในรายที่มีไซนัสอักเสบร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้เยื่อบุช่องจมูก ทำให้รู้สึกสบายขึ้น และยังช่วยชะเอามูกและคราบต่างๆ ออกไปด้วย คุณสามารถหาซื้อชุดน้ำเกลือสำหรับทำความสะอาด ได้ตามร้านขายยาทั่วไป การฉีดยารักษาอาการภูมิแพ้ (Allergy Shots) หากการทานยาไม่สามารถบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ได้ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการฉีดยา ซึ่งก็คือสารละลายที่มีสารที่คุณแพ้ผสมอยู่จำนวนเล็กน้อย เช่น อาจเป็นเกสรดอกไม้หรือไรฝุ่น ปริมาณของสารภูมิแพ้จะค่อย ๆ ถูกเพิ่มขึ้นทีละน้อยในแต่ละครั้งที่คุณฉีด จนถึงระดับหนึ่งเรียกว่า ระดับรักษา หรือ maintenance level โดยในช่วง 3-6 เดือนแรก การฉีดยาอาจทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จากนั้นระยะห่างของการฉีดแต่ละเข็มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณเดือนที่ 6 ระยะฉีดยาจะเลื่อนเป็นเดือนละครั้งและฉีดสม่ำเสมอต่อไปอีกประมาณ 2-3 ปี วัตถุประสงค์ของการรักษาด้วยยาฉีดนี้คือเพื่อให้ร่างกายของคุณมีปฏิกิริยาต่อสารภูมิแพ้ลดลง ซึ่งผลของการรักษาด้วยวิธีนี้ช่วยให้อาการภูมิแพ้ของคนไข้จำนวนมากบรรเทาลงได้ การบังคับตัวเอง การรักษาโดยการฉีดยาภูมิแพ้จะไม่ได้ผลหากคุณไม่สามารถรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอตามตารางที่แพทย์จัดให้ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องมีวินัยในการรักษา หากมีความจำเป็นต้องเลื่อนนัดการฉีดยาในครั้งใด ต้องติดต่อกับแพทย์ของคุณเพื่อขอนัดใหม่เสมอ การผ่าตัด ในบางกรณี สาเหตุของโรคภูมิแพ้อาจเป็นโรคที่อยู่ในจมูกหรือโพรงอากาศ ซึ่งไม่สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาหรือการฉีดยาได้ แพทย์ก็อาจแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาโรคภูมิแพ้เท่านั้น การผ่าตัดเองไม่สามารถรักษาโรคภูมิแพ้ได้โดยตรง แต่จะช่วยในการตัดเอาติ่งเนื้อ (polyp) หรือสิ่งกีดขวางในช่องจมูกหรือโพรงจมูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้อาการของโรคภูมิแพ้เลวลง หากคุณมีปัญหาที่อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์ของคุณจะช่วยให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้ การปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ การสัมผัสกับสารแพ้อยู่เสมอ ย่อมทำให้คุณเกิดอาการแพ้อยู่เสมอเช่นกัน ดังนั้นการควบคุม หรือหลีกเลี่ยงสารแพ้จึงเป็นส่วนสำคัญของแผนการรักษา คำแนะนำต่อไปนี้ช่วยคุณได้ แต่อาจไม่ต้องทำทุกอย่างในคราวเดียวกัน ควรเริ่มโดยเลือกทำเพียงหนึ่งหรือสองอย่างสำหรับสารแพ้แต่ละอย่างที่คุณแพ้ หลังจากนั้นค่อยทำเพิ่มทีละน้อย ยิ่งคุณสามารถหลีกเลี่ยงสารแพ้ได้มากเท่าใดคุณจะยิ่งรู้สึกสบายขึ้นเท่านั้น 1. การหลีกเลี่ยงฝุ่นในบ้าน – ฝุ่นในบ้านรวมถึงไรฝุ่นที่เกาะอยู่เป็นสิ่งที่แทบจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย แม้แต่บ้านที่สะอาดที่สุดก็ยังมีไรฝุ่น แต่คุณยังพอจะควบคุมมันได้ ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ – หุ้มเบาะที่นอน รวมทั้งขาสปริงและหมอนหนุนด้วยผ้ากันไรฝุ่น ซึ่งไรฝุ่นไม่สามารถลอดผ่านผิวที่นอนขึ้นมาได้ – พยายามลดปริมาณฝุ่นในบ้าน ด้วยการกำจัดของไม่จำเป็นที่วางระเกะระกะออก โดยเฉพาะในห้องนอนควรยกเอาสัตว์สตัฟฟ์ ของตกแต่งบนฝาผนัง ของกระจุ๋มกระจิ๋ม หนังสือ และเฟอร์นิเจอร์ที่มีรอยแยกหรือลายแกะสลักมาก ๆออกจากห้อง – พยายามให้มีพรมในบ้านน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะจะเป็นที่อาศัยของไรฝุ่นได้ – เช็ดฝุ่นออกสักอาทิตย์ละสองครั้งด้วยผ้าเปียกและควรดูดฝุ่นด้วยเครื่องอย่างสม่ำเสมอ สวมหน้ากากกรองฝุ่นในขณะทำความสะอาด – ซักผ้าปูที่นอน เครื่องนอน และผ้าม่านอย่างสม่ำเสมอโดยใช้น้ำร้อนอย่างน้อย 60 องศาเซลเซียส สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้เพราะน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นไม่สามารถฆ่าไรฝุ่นได้ 2. การหลีกเลี่ยงเชื้อรา หากคุณแพ้เชื้อรา ต้องให้ความสนใจกับบริเวณที่จะมีน้ำขังได้ คำแนะนำต่อไปนี้จะช่วยในการการหลีกเลี่ยงเชื้อราได้ – ถ่ายน้ำออกจากบริเวณที่มีน้ำขังในสนามหญ้า เก็บกวาดเศษใบไม้และวัชพืชก่อนที่จะเริ่มเน่า เก็บของหมักให้ห่างจากตัวบ้าน – ถ้ามีรอยซึมจากก๊อกน้ำหรือหลังคารั่วต้องรับซ่อมทันที – ถ้าภายในบ้านชื้น ควรใช้เครื่องกำจัดความชื้น – หลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ในบ้าน และรักษาบริเวณชื้นแฉะให้สะอาดปราศจากเชื้อรา – ทำความสะอาดฝักบัวและอ่างอาบน้ำอย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำยาทำความสะอาดและตรวจดูว่ามีเชื้อราขึ้นที่ม่านห้องน้ำหรือไม่ 3. การหลีกเลี่ยงสัตว์ รังแค น้ำลาย และปัสสาวะของสัตว์ล้วนอาจเป็นสารแพ้ แมวจะสร้างปัญหามากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น สัตว์ที่มีขนยาวยังอาจมีฝุ่น เชื้อรา และเกสรดอกไม้ติดมาด้วย วิธีที่ดีทีสุดที่จะหลีกเลี่ยงสารแพ้จากสัตว์ คือการไม่เลี้ยงสัตว์ แต่หากคุณมีสัตว์เลี้ยงอยู่แล้วและไม่สามารถแยกจากมันได้ควรพยายามเลี่ยงการคลุกคลีสัมผัสกับมันเท่าที่จะทำได้ คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยได้ – การอาบน้ำให้สัตว์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารภูมิแพ้ลงได้มาก และยังเป็นการล้างเอาน้ำลาย ฝุ่น เชื้อรา และเกสรดอกไม้ออกจากขนของมันด้วย หลังอาบน้ำแล้ว หากสามารถล้างตัวมันด้วยน้ำกลั่นได้ก็จะยิ่งได้ผลดี 4. การหลีกเลี่ยงแมลงสาบ ฝุ่นซากแมลงสาบเป็นสาเหตุสำคัญของโรคภูมิแพ้ในคนไทยแมลงสาบมีค่อนข้างชุกชุมในที่มีเศษอาหารวิธีกำจัดคือ – ขจัดแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงสาบในครัว ถังขยะ ตู้กับข้าว ท่อระบายน้ำ และห้องน้ำ – พยายามกันสัตว์เลี้ยงไว้นอกบ้านเท่าที่เป็นไปได้ ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในห้องนอน – ล้างมือทุกครั้งที่คุณสัมผัสสัตว์เลี้ยง และพยายามให้มันอยู่ห่าง ๆ จากใบหน้าของคุณ 5. การหลีกเลี่ยงเกสรดอกไม้
โรคลำไส้แปรปรวน ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่
1. โรคลำไส้แปรปรวน คือ โรคอะไร ตอบ โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) เป็นภาวะเรื้อรังของลำไส้ ซึ่งประกอบด้วยอาการหลัก คือ ปวด หรือ อึดอัดท้อง และ มีลักษณะอาการสัมพันธ์กับการถ่าย หรือ อุจจาระที่เปลี่ยนไป (บ่งบอกว่าเป็นการปวดจากลำไส้ใหญ่) ซึ่งไม่พบว่ามีสาเหตุใด ๆ 2. โรคนี้พบได้มากแค่ไหน คนอื่น ใคร ๆ เป็นโรคนี้กันมากไหม ตอบ ภาวะโรคนี้พบได้มากเลยทีเดียว เรียกว่าบางการศึกษาพบว่าเป็นภาวะที่ทำให้ทำงานไม่ได้เป็นภาวะโรคอันดับ 2 รองจากไข้หวัด พบว่ามีถึง10 ถึง 20 % ของประชากรทั่วไปเลย แต่มีเพียงแค่ 15 % ของผู้ที่ปัญหาจากโรคนี้ที่เข้าตรวจ หรือ ปรึกษาแพทย์ 3. โรคนี้หายได้หรือไม่ ตอบ พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้น หรือ หายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ จากลักษณะนี้ทำให้เกิดความหงุดหงิดในการรักษาทั้งแพทย์ และ ผู้ป่วย การรักษาพบว่าดีขึ้นได้มากขึ้น ถ้าผู้ป่วยทราบว่าลักษณะโรคนี้ ดีขึ้นแต่ไม่หาย และ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุโรคร้ายแรงใด ๆ เลย ดังกล่าว 4. สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME) ตอบ มีหลายทฤษฎี ที่เสนอว่าน่าอธิบาย ภาวะโรคนี้ได้ แม้มีการศึกษาโรคนี้กันมากมาย แต่พบว่าไม่มีทฤษฎีใดอธิบายในคนไข้ได้ทุกคนถูกต้องเหมือนกันหมดได้เลย ทฤษฎีแรก เสนอว่าน่าเกิดจากการบีบตัวผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ อาจเรียกว่าตะคริว ลำไส้เกร็งตัวผิดปกติ (spastic colon) การบีบตัวอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดการปวดเกร็งลำไส้ ผู้ป่วยบางรายจึงตอบสนองต่อการให้ยาคลายลำไส้ (antispasmodic) และ ให้ใยอาหาร (fiber)(สารนี้อาจทำให้เกิดการทำให้การบีบตัวของลำไส้เข้าที่ กลับสู่ปกติได้ (regulate contractions)) แต่ดังที่กล่าวแล้ว ภาวะนี้ไม่สามารถอธิบายผู้ป่วยได้ทุกคนจากการพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดภาวะนี้ตามหลังการติดเชื้อ เช่นเชื้อไข้รากสาด หรือ เชื้อแบคทีเรียอาหารเป็นพิษ เช่น Salmonella หรือ Campylobacter กลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่ของโรคนี้ ไม่มีประวัติการติดเชื้อนำ ตามทฤษฎีนี้ผู้ป่วยโรคนี้พบว่ามีหลาย ๆ คนที่มีภาวะทางจิตเวช หรือ ความเครียดร่วมด้วย แต่อาจเป็นผล คือตามที่กล่าวแล้วว่าภาวะนี้พบได้มาก และ ผู้ป่วยไม่สนใจจะมารักษา ผู้ที่มีภาวะเครียด หรือ จิตเวชมีแนวโน้มจะเข้าปรึกษาแพทย์ได้มากอยู่แล้ว จึงอาจพบผู้ป่วยโรคนี้ที่มีจิตเวชได้มากกว่าปกติก็ได้ ไม่ได้เป็นต้นเหตุที่แท้จริง ส่วนทฤษฎีที่ว่าภาวะเครียด กังวลใจ อาจมีผลต่อลำไส้ทำให้เกิดการปวด หรือ รู้สึกไวขึ้นได้นั่นเองภาวะไวต่ออาหาร หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี (Food intolerances) พบได้เกือบทุกคนในภาวะนี้ จึงเป็นไปได้ว่าโรคนี้อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือ ไวต่ออาหาร (food sensitivity หรือ allergy) พบว่าทฤษฎีนี้ยากที่จะพิสูจน์ และได้รับการศึกษาอย่างมากขณะนี้ การจดดูรายการอาหารที่ ทำให้อาการมากขึ้น และหลีกเลี่ยงซึ่งทำได้ยาก (การรักษานี้เรียกว่า การทานอาหารแบบคัดออกหลีกเลี่ยง elimination diet) แต่การทำวิธีดังกล่าวนอกจากอาจเลือกอาหารได้ผิด และทำได้ยาก ยังทำให้ผู้ป่วยขาดอาหารที่สำคัญบางอย่างไปโดยไม่จำเป็น และ อาจไม่เป็นสาเหตุที่แม้จริงได้ รวมทั้งผู้ป่วยยังเข้าสังคมไม่ได้ดี และ อาหารเองก็มีการปะปนกันดูได้ยากด้วย เช่นนม จะรวมทั้งครีม หรือ อาหารบางอย่างที่ใส่นมโดยไม่รู้ตัวด้วย อาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้กำเริบได้ ได้แก่ อาหารกลุ่มนม (dairy products) ซึ่งมีสาร lactose, อาหารกลุ่มถั่ว และ อาหารกลุ่มผัก cruciferous vegetables (เช่น broccoli, กะหล่ำ cauliflower, brussels sprouts, และ cabbage) ส่วนใหญ่ทำให้เกิดลมในท้อง หรือ ลำไส้เกร็งตัวได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้หลาย ๆ การศึกษาพบว่า IBS อาจเกิดจาก ความไวต่อความรู้สึกของลำไส้มากเกินไป โดยไม่ได้มีโรค หรือ การบีบตัวผิดปกติใด ๆ เลย ( เรียกว่า ลำไส้ไวขึ้น “visceral hyperalgesia”) ดังนั้นแม้ลม มีการบีบตัวปกติ อุจจาระ หรือ อาหารปกติ ก็ทำให้เกิดการปวดรุนแรงได้ พบว่าการรักษาซึ่งสนับสนุนทฤษฎีนี้คือ พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งตอบสนองต่อยากลุ่มลดการไวต่อการปวด เช่น ( low doses ของ imipramine หรือ nortriptyline) เป็นต้น 5. อาการของโรคนี้มีอะไรบ้าง ตอบ IBS มักพบตั้งแต่อายุยังน้อย โดยผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า แม้ตามที่กล่าวอาจเกิดจากผู้หญิงเองอยากพบ เข้าปรึกษาแพทย์มากกว่าผู้ชายก็ได้ ในบางประเทศเช่นอินเดียพบว่าพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการมีดังนี้ 5.1 ปวดท้อง – มักเป็นลักษณะบีบ (crampy) มีความรุนแรงไม่เท่ากัน และมักอยู่ในส่วนของลำไส้ด้านล่างด้านซ้าย แต่ลักษณะการปวดอาจเป็นแบบอื่นเช่นตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มีความรุนแรงต่าง ๆกัน รวมทั้งตำแหน่งอาจอยู่ที่ใดก็ได้ด้วย ไม่เหมือนกันในแต่ละคน บางคนพบว่าเมื่อเครียด หรือ ทานอาหารบางอย่างอาจทำให้แย่ลงมากขึ้นได้ บางรายการถ่ายทำให้อาการหาย หรือ ลดลงไปได้ บางรายปวดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน 5.2 มีลักษณะการถ่ายผิดไป (Altered bowel habits)
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
คนทั่วไปเมื่ออดอาหาร น้ำตาลในเลือดลดลง ร่างกายจะมีกลไกเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในร่างกายโดยผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมน เช่นใช้ glycogen ที่สะสมอยู่ที่ตับ ใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้แทน แต่ผู้ป่วยเบาหวานที่น้ำตาลไม่ได้ต่ำโดยธรรมชาติแต่เกิดจากยาเบาหวานนั้น กลไกช่วยเหลือของร่างกายอาจไม่เพียงพอจนทำให้มีอันตรายถึงหมดสติได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำพบได้เรื่อยๆในผู้ป่วยเบาหวานที่พยายามควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี เมื่อกินอาหารได้น้อย กินอาหารผิดเวลา ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมมาก จึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ จึงควรที่จะรู้จักภาวะนี้ให้ดี ผู้ป่วยส่วนหนึ่งรู้จักอาการแต่แก้ไขไม่ถูกต้องจึงทำให้น้ำตาลกลับเป็นตรงข้าม คือสูงขึ้นจนน่ากลัว Q: ผู้ป่วยเบาหวานคนไหนบ้างเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ? A : – ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานไม่รุนแรงรักษาโดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายโดยไม่ใช้ยาเบาหวานไม่เสี่ยงต่อภาวะนี้ – ผู้ป่วยใช้ยาที่ไม่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลต่ำ ได้แก่ Metformin หรือ glucophage Pioglitazone หรือ actos หรือ ulmos Januvia หรือ glavus Glucobay, Basen * ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้แม้หลายตัวรวมกันก็มักไม่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ – ผู้ป่วยที่ใช้ยาที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ ยากลุ่ม Sulfonyluria ได้แก่ glibenclamide(daonil) , glibenclamide(minidiab), glimepiride(amaryl) , gliclazide(diamicron) ยากลุ่ม novonorm ยาฉีดอินซูลินทุกชนิด Q : ทำไมจึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ? A : ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่สมดุล ของอาหาร ปริมาณยากิน ยาอินซูลิน กิจกรรมในวันนั้น และการเจ็บป่วย ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ได้รับยารักษาเบาหวานที่ไม่เหมาะสมทั้งชนิดของยา ขนาดยามากเกิน และเวลาบริหารยา กินอาหารปริมาณน้อยกว่าเดิมหรือไม่เพียงพอ หรือมื้ออาหารถูกงดหรือเลื่อนเวลาออกไปจากเวลาปกติ และการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบอาหารทำให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตลดลง มีการใช้กลูโคสเพิ่มขึ้น เช่น ออกกำลังกายมากขึ้น การผลิตกลูโคสที่ตับ น้อยลง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ โรคตับแข็ง ร่างกายมีความไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น เช่น น้ำหนักตัวลดลง ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น การกำจัดอินซูลินหรือยารักษาเบาหวานลดลง เช่น การทำงานของไต หรือ ตับ เสื่อมลง สูงอายุ มีการควบคุมเบาหวานอย่างเข้มงวดโดยกำหนดระดับเป้าหมาย HbA1c และ ระดับน้ำตาลในเลือดที่ใกล้เคียงระดับปกติมากหรือที่ระดับปกติ เคยมีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดโดยเฉพาะระดับรุนแรงเกิดขึ้นมาก่อน เคยมีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดโดยไม่มีอาการเตือนเกิดขึ้นมาก่อน Q : อาการอย่างไรบ่งว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ ? A : อาการแตกต่างไปในแต่ละคน อาการเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้น และอาการสมองขาดน้ำตาล อาการที่พบได้ เช่น ตัวสั่น มือสั่น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย เหงื่อแตก หิว ตามัว หน้าซีด อารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด เศร้า โมโห โดยไม่มีเหตุผล เซื่องซึม สับสน สมาธิสั้น ชาบริเวรรอบปาก เป็นลม หมดสติ ชัก เป็นต้น หากมีเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วพบว่า น้ำตาลน้อยกว่า 70 มก.ดล. หรือขึ้น Lo แสดงว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ หากไม่สามารถเจาะน้ำตาลได้ทันทีแต่มีอาการชัดเจน ควรรักษาแก้ไขเบื้องต้นก่อนเช่นกัน Q : หากน้ำตาลต่ำแล้วควรทำอย่างไร ? A : แบ่งความรุนแรงเป็นสองระดับตามความรู้สึกตัว 1. ผู้ป่วยยังรู้สึกตัวช่วยเหลือตนเองได้ ให้กินคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็ว 15-20 กรัม หรือ 1 ส่วน รอ 15 นาที เจาะน้ำตาลปลายนิ้วใหม่ ถ้าน้ำตาลในเลือดยังต่ำอยู่ กินคาร์โบไฮเดรตอีก 15-20 กรัม จนกว่าน้ำตาลมากกว่า 70มก.ดล. กรณีเป็นก่อนมื้ออาหาร ควรกินอาหารทันที หากเป็นระหว่างมื้ออาหาร ให้กินคาร์โบไฮเดรต ดูดซึมช้า 1 ส่วน ปริมาณคาร์โบไอเดรตชนิดดูดซึมเร็ว 15 กรัม *(อย่างใดอย่างหนึ่ง) ลูกอม 3 เม็ด น้ำผลไม้ 120-180 ซีซี น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ่ง เฮลบลูบอย 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณคาร์โบไอเดรตชนิดดูดซึมช้า 15 กรัม *(อย่างใดอย่างหนึ่ง) ขมนปัง 1 แผ่น กล้วยหรือแอ๊ปเปิ้ล 1 ลูก โยเกิร์ต 200 กรัม นมจืด 1 กล่อง ข้าวต้ม หรือโจ๊ก ½ ถ้วย ** ข้อควรระวัง ผู้ป่วยมักกินน้ำตาลมากเกินไป เนื่องจากอาการไม่ดีขึ้นทันที ทำให้น้ำตาลขึ้นสูงมาก ให้รอประเมินผลที่ 15 นาที *** ของหวานที่ใช้ไม่ได้ ช็อคโกเลต คุ้กกี้ เค้ก เนื่องจากมีไขมันสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง 2. หากผู้ป่วยหมดสติ หรือรู้สึกตัวแต่ช่วยตัวเองไม่ได้ จัดเป็นน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง โทรตามรถพยาบาล ถ้าหมดสติห้ามให้น้ำหวานหรือลูกอมเนื่องจากอาจสำลักได้ ห้ามใส่มือหรือช้อนเข้าไปในปาก น้ำตาลต่ำขณะนอนหลับ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ ถ้ากินอาหารมื้อเย็นน้อย หรือออกกำลังกายหนัก อันตรายเนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกตัวตื่นมากินน้ำหวานแก้ไขได้ทัน สังเกตอาการ ดังนี้ ชุดนอนเปียกเหงื่อ ปวดศรีษะเมื่อตื่นนอน ฝันร้าย ไม่รู้สึกพักผ่อน ยังเพลีย วิธีแก้ไข ตรวจเช็คระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ช่วง
ไข้หวัดใหญ่ โรคใกล้ตัวที่ป้องกันได้
โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันที่มีการระบาดทั่วโลก ซึ่ง ทุกคนมีโอกาสได้รับเชื้อนี้ ไข้หวัดใหญ่ติดต่ออย่างไร เชื้อไข้หวัดใหญ่ติดต่อกันได้ง่าย ผ่านทางระบบทางเดินหายใจหรือการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง เช่น ไอ จามรดกัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่แออัดหรือสถานที่ๆมีระบบปรับอากาศ หรือจับต้องสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย และในช่วง 1-2 วัน ก่อนจะแสดงอาการ ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นหรือคนในครอบครัวโดยไม่รู้ตัว อาการของโรค อาการที่สำคัญเริ่มด้วย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลียมาก ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว เจ็บคอ คัดจมูก หรือบางคนอาจมีอาเจียนท้องเสียด้วย โดยทั่วไปจะมีอาการ 7-10 วัน หลังจากหายบางคนจะมีอาการอ่อนเพลียอยู่อีกหลายวัน ความรุนแรงของโรค ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เสียชีวิตจากเชื้อไข้หวัดใหญ่เองหรือเกิดจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดตามมา เช่น โรคปอดบวม โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ การป้องกัน ปิด การปิดปากปิดจมูกเมื่อป่วย ไอ จามโดยใช้กระดาษทิชชู่ สามหน้ากากอนามัย หรือไอใส่ต้นแขนตนเอง ล้าง ล้างมือบ่อยๆก่อนรับประทานอาหาร หลังไอจาม สั่งน้ำมูก จับต้องสิ่งของหรือพื้นผิวที่มีคนสัมผัส เลี่ยง เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม เลี่ยงสถานที่ๆคนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก (โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด) หยุด หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับผู้อื่นเมื่อป่วย เพื่อให้หายป่วยเร็วและไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น ฉีด ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้กับกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง ข้อมูลตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคนี้แล้ว วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ถ้าไม่เคยฉีดมาก่อน ในปีแรกให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน หลังจากนั้นให้ฉีดเข็มเดียวในแต่ละปี สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ฉีดปีละครั้ง โดยทั่วไปวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ร้อยละ 60-90 % หรือหากเป็นโรค อาการของโรคมักไม่รุนแรง ซึ่งภูมิคุ้มกันต่อโรค ไข้หวัดใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน 10-15 วัน และภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่นี้จะอยู่ได้นานถึง 1 ปี
โรคติดบุหรี่
“บุหรี่ทำให้อายุสั้นลงโดยเฉลี่ย 13.2 ปีในผู้ชาย และ 14.5 ปีในผู้หญิง ” การติดบุหรี่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่ป้องกันได้ ควันบุหรี่มีผลกระทบต่อหัวใจและระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ , อัมพฤกษ์อัมพาต , ถุงลมโป่งพองและมะเร็ง (โดยเฉพาะมะเร็งปอด , มะเร็งในช่องปาก , มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งตับอ่อน) นอกจากนี้ยังมีผลต่อหลอดเลือดและโรคความดันโลหิตสูง ผลกระทบของบุหรี่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและปริมาณบุหรี่ที่สูบต่อวัน ในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งหลายชนิดที่มีผลต่อเซลล์ในร่างกาย และยังมีสารนิโคตินซึ่งเป็นสารเสพติดที่มีผลต่อร่างกายและจิตใจ บุหรี่ยังมีผลต่อเด็กทารกในครรภ์ ทำให้มารดาที่ตั้งครรภ์มีโอกาสแท้งบุตร คลอดบุตรที่เสียชีวิต คลอดบุตรที่มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ บุหรี่ยังมีผลทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง บุหรี่ทำให้อายุสั้นลงโดยเฉลี่ย 13.2 ปีในผู้ชาย และ 14.5 ปีในผู้หญิง ผู้สูบบุหรี่มือสองมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 25-30 % และมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติ 20-30% ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การสูบบุหรี่เป็นโรคเรื้อรังอย่างหนึ่งที่เป็นๆหายๆ และมีแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพไม่ต่างจากโรคเรื้อรังอื่นๆโดยให้ชื่อโรคนี้ว่า “โรคติดบุหรี่” และถ้าไม่เลิกสูบบุหรี่จะมีผู้เสียชีวิตอันสืบเนื่องจากบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ปัจจุบันมีบริการช่วยเลิกบุหรี่โดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์หรือบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ การที่ผู้ป่วยไม่ทราบและไม่เข้าถึงการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ ทำให้คนส่วนมากเลือกวิธีการเลิกบุหรี่ด้วยตนเองแบบหักดิบซึ่งมีอัตราความสำเร็จต่ำและมีโอกาสกลับไปสูบบุหรี่ซ้ำได้มาก เมื่อท่านตั้งใจที่จะลด ละ เลิกบุหรี่อย่างแท้จริง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ที่คอยให้คำปรึกษา ท่านจะได้รับการซักถามประวัติการสูบบุหรี่ และจะได้รับคำแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด โดยได้รับการประเมินความประสงค์และความพร้อมในการเลิกบุหรี่ ประเมินความรุนแรงของการติดบุหรี่ ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นเร้าให้สูบบุหรี่ รวมถึงจะได้รับการช่วยเหลือและบำบัดรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ และจะมีการนัดติดตามอาการและผลการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่มีประวัติการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ เหนื่อยง่าย มีเสมหะมาก ไอเรื้อรัง จะได้รับคำแนะนำให้ตรวจสมรรถภาพทางปอดเพื่อค้นหาโรคระบบทางเดินหายใจ หากพบว่าในครอบครัวมีบุคคลอื่นที่สูบบุหรี่ แนะนำให้เลิกสูบบุหรี่กันทุกคน พร้อมทั้งแนะนำให้สมาชิกคนอื่นในครอบครัวมาปรึกษาเรื่องเลิกบุหรี่ด้วย ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพทำให้อัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จเพิ่มขึ้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1. สารนิโคตินทดแทน ซึ่งจะช่วยลดอาการอยากบุหรี่ให้ลดลงและลดอาการถอนนิโคติน ในเมืองไทยมียาในรูปแบบหมากฝรั่งและแบบแผ่นติดผิวหนัง 2. ยากลุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของนิโคติน ได้แก่ nortriptyline , buproprion SR , varenicline ยาเหล่านี้มีฤทธิ์ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ได้ และทำให้ผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น สำหรับการรักษาทางเลือก เช่น แพทย์แผนไทย การฝังเข็ม อาจมีส่วนช่วยให้สามารถเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น แต่ยังต้องรอดูข้อมูลสนับสนุนต่อไปในอนาคต ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีความจำเป็นในการใช้ยาเพื่อช่วยเลิกบุหรี่ แต่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ กรณีที่ผู้ติดบุหรี่ได้พยายามเลิกบุหรี่แล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จอาจรู้สึกท้อแท้ได้ เนื่องจากธรรมชาติของโรคติดบุหรี่เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นๆหายๆ ขอเพียงแต่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง ในกรณีดังกล่าวการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือบุคลากรวิชาชีพทางสาธารณสุข เพื่อรับคำแนะนำหรือรับยาจะทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่เพิ่มขึ้น
เบาหวานขึ้นตา Diabetic retinopathy
เบาหวานขึ้นตา Diabetic retinopathy ศูนย์อายุรกรรม Q: ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงตาบอดมากกว่าคนปกติเพราอะไร A: ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงโรคตามากขึ้น ทั้งต้อกระจก ต้อหิน เส้นประสาทตาและเส้นประสาทกล้ามเนื้อตาผิดปกติ และเบาหวานขึ้นจอตา(Diabetic retinopathy) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของตาบอดในประชากรโลกปัจจุบัน ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน 2-3 ปี พบเบาหวานขึ้นตาร้อยละ 3-4 และเพิ่มเป็นร้อยละ 15-20 เมื่อเป็นเบาหวานนาน 15 ปี Q: สาเหตุของเบาหวานขึ้นตา A: ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำลายผนังหลอดเลือดในจอประสาทตา ทำให้เกิดโป่งพอง อุดตัน มีการรั่วซึมของสารน้ำและเม็ดเลือด เกิดจอประสาทตาบวม จอตาขาดเลือดจึงงอกเส้นเลือดใหม่ซึ่งเปราะ แตกง่ายเกิดเลือดออกเข้าวุ้นตาทำให้ตามัวจนถึงตาบอด หรือเกิดพังผืดดีงรั้งจอตาทำตาบอดได้เช่นกัน Q: ป้องกันเบาหวานขึ้นตาได้อย่างไร A: ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้ปกติ Q: การตรวจโรคเบาหวานขึ้นตาทำอย่างไร A: แนะนำผู้ป่วยเบาหวานทุกรายตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง โดยการตรวจประกอบด้วย – การวัดสายตา – การวัดความดันลูกตา – หยอดยาขยายม่านตา เพื่อให้ตรวจจอตาได้ชัดเจน ซึ่งยาทำให้ตาลายชั่วคราวประมาณ 4 ชม. ไม่สามารถขับรถได้ และรอม่านตาขยาย 1 ชม. จึงตรวจได้ – ตรวจ Slit lamb เพื่อดูกระจกตาและส่วนหน้าของตา – ตรวจจอประสาทตาด้วย Indirect Ophalmoscope Q: โรคเบาหวานขึ้นตารักษาอย่างไร A: ระยะต้น เพียงควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้ปกติ ระยะต่อมา รักษาด้วยการฉายเลเซอร์ที่จอประสาทตา ยับยั้งไม่ลุกลาม หรือการฉีดยา Anti-vascular endothelial growth factor เข้าวุ้นตา เพื่อลดการงอกของหลอดเลือดใหม่ ในรายที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น การดึงรั้งจอประสาทตาจนหลุดลอก ต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด เป็นต้น