จิตเวช: วัยรุ่น วุ่นยา
วัยรุ่น วุ่นยา
โดย นพ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง
ผมอดรู้สึกเห็นใจไม่ได้ที่พ่อแม่ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่น ต้องเป็นห่วงลูกมั่วยา หรือมั่วเซ็กส์ ยิ่งในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ที่ผ่านมา เงินทองหาง่ายใช้คล่อง ลูกวัยรุ่นก็พลอยม่เงินซื้อสารเสพติด วงการสารเสพติดก็เฟื่องฟู ดีที่เศรษฐกิจฟองสบู่แตก แต่อย่างไรก็ตามวงการวัยรุ่นไฮโซก็ยังมีปัญหาสารเสพติดกันอยู่แต่ก็แพงหูฉี่ และสารเสพติดก็มีชนิดแปลกๆ ใหม่ๆ มาให้ทดลองอยู่เสมอ
ทำไมวัยรุ่นจึงชอบวุ่นยา
วัยรุ่นเรานับตั้งแต่ 12 – 20 ปี สมัยนี้วัยรุ่นอายุน้อยลง แต่ก็เป็นผู้ใหญ่ช้าลงด้วย วัยรุ่นเป็นวัยช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ จะเป็นเด็กว่านอนสอนง่ายก็ไม่ยอม อยากเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็ไม่รับผิดชอบอย่างผู้ใหญ่ ช่วงวัยรุ่นมีการเจริญพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ รูปร่างเปลี่ยนไป ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น จิตใจก็เอาแน่เอานอนไม่ได้ ประเดี๋ยวก็ดื้อไม่ฟังใคร ประเดี๋ยวก็อ่อนไหวไม่มั่งคง วัยรุ่นจึงต้องการเพื่อนวัยเดียวกัน เชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ต้องการให้เพื่อนยอมรับ จึงมักทำตามอย่างกัน บวกับขี้เบื่อชอบของแปลกใหม่ท้าทาย ไม่คิดหน้าคิดหลัง เมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนไม่ดีใช้สารเสพติด ก็จะใช้ตามไปด้วย ส่วนใหญ่เริ่มจากทดลองเสพก่อนโดยประมาทว่าจะเลิกเมื่อไรก็ได้ตอนหลังเสพติด ครุ่นคิดแต่เลือกเสพยา ถอนตัวไม่ขึ้น หมดอนาคต เป็นทุกข์ทั้งตัวเองและพ่อแม่
มารู้จักสารเสพติดกันเถอะ
อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทกระตุ้นประสาท เกิดอารมณ์เป็นสุข สนุกสนาน ขยันขันแข็ง มีเรี่ยวแรง ก้าวร้าว ดุร้าย ได้แก่ ยาบ้า , โคเคน , ใบกระท่อม , กาแฟ , บุหรี่ เป็นต้น
2. ประเภทกดประสาท กล่อมประสาทดับความทุกข์ วิตกกังวล แก้ปวด จนถึงกดการหายใจตายไปเลย ได้แก่ ฝิ่น , มอร์ฟีน , เฮโรอีน , ยากล่อมประสาท , ยานอนหลับ , เหล้า เป็นต้น
3. ประเภทหลอนประสาท การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง ความรู้สึก หรือสัมผัสแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ได้แก่ กัญชา , ยาอี , ยาเค , พีซีพี , แอลเอสดี , ยาดีไซเนอร์ เป็นต้น
4. ประเภทผสมทั้งกระตุ้น , กดและหลอนประสาท ได้แก่ สารระเหย เช่น กาว , ทินเนอร์ , สี เป็นต้น
ยาอีของวัยรุ่นไฮโซ
ระยะที่ผ่านมามักจะปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ถึงการจับกุมดาราตามบาร์ หรือผับ ในงานปาร์ตี้ยาอีอยู่เนืองๆ ยาอีนั้นย่อมาจาก EOSTASY ซึ่งแปลว่า สนุกสนานหรรษา โดยมีชื่อทางเคมีว่า METHYLENE DIOXY MATHAMPHETAMINE (MDMA) จัดเป็นสารเสพติดประเภทหลอนประสาท (PSYEHEDELIC) โดยทำให้การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เช่น มีความรู้สึกว่ากุหลาบมีรสหวาน น้ำตาลมีเสียงไพเราะ เสียงเพลงมีความหนาว จิตใจวัดได้ด้วยระยะทาง และที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสารเสพติดอื่นก็คือ มันทำให้ผู้เสพเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ในความรู้สึก หรือผับ ในงานปาร์ตี้ยาอีอยู่เนืองๆ ยาอีนั้นย่อมาจาก EOSTASY ซึ่งแปลว่า สนุกสนานหรรษา โดยมีชื่อทางเคมีว่า METHYLENE DIOXY MATHAMPHETAMINE (MDMA) จัดเป็นสารเสพติดประเภทหลอนประสาท (PSYEHEDELIC) โดยทำให้การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เช่น มีความรู้สึกว่ากุหลาบมีรสหวาน น้ำตาลมีเสียงไพเราะ เสียงเพลงมีความหนาว จิตใจวัดได้ด้วยระยะทาง และที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสารเสพติดอื่นก็คือ มันทำให้ผู้เสพเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ในความรู้สึก หรือผับ ในงานปาร์ตี้ยาอีอยู่เนืองๆ ยาอีนั้นย่อมาจาก EOSTASY ซึ่งแปลว่า สนุกสนานหรรษา โดยมีชื่อทางเคมีว่า METHYLENE DIOXY MATHAMPHETAMINE (MDMA) จัดเป็นสารเสพติดประเภทหลอนประสาท (PSYEHEDELIC) โดยทำให้การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เช่น มีความรู้สึกว่ากุหลาบมีรสหวาน น้ำตาลมีเสียงไพเราะ เสียงเพลงมีความหนาว จิตใจวัดได้ด้วยระยะทาง และที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสารเสพติดอื่นก็คือ มันทำให้ผู้เสพเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ในความรู้สึก หรือผับ ในงานปาร์ตี้ยาอีอยู่เนืองๆ ยาอีนั้นย่อมาจาก EOSTASY ซึ่งแปลว่า สนุกสนานหรรษา โดยมีชื่อทางเคมีว่า METHYLENE DIOXY MATHAMPHETAMINE (MDMA) จัดเป็นสารเสพติดประเภทหลอนประสาท (PSYEHEDELIC) โดยทำให้การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เช่น มีความรู้สึกว่ากุหลาบมีรสหวาน น้ำตาลมีเสียงไพเราะ เสียงเพลงมีความหนาว จิตใจวัดได้ด้วยระยะทาง และที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสารเสพติดอื่นก็คือ มันทำให้ผู้เสพเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ในความรู้สึก หรือผับ ในงานปาร์ตี้ยาอีอยู่เนืองๆ ยาอีนั้นย่อมาจาก EOSTASY ซึ่งแปลว่า สนุกสนานหรรษา โดยมีชื่อทางเคมีว่า METHYLENE DIOXY MATHAMPHETAMINE (MDMA) จัดเป็นสารเสพติดประเภทหลอนประสาท (PSYEHEDELIC) โดยทำให้การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เช่น มีความรู้สึกว่ากุหลาบมีรสหวาน น้ำตาลมีเสียงไพเราะ เสียงเพลงมีความหนาว จิตใจวัดได้ด้วยระยะทาง และที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสารเสพติดอื่นก็คือ มันทำให้ผู้เสพเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ในความรู้สึกนึกคิดกับบุคคลอื่นๆ ประหนึ่งถักสายป่านโยงใยทางด้านจิตใจซึ่งกันและกัน เนื่องจากยาอีมีลักษณะที่แปลกอย่างนี้จึงทำให้วัยรุ่นนิยมจับกลุ่มกันเสพ ลึกๆ ลงไปในด้านจิตใจ นอกจากจะรวมกลุ่มกันทางกายเพื่อมั่วสุมกันเสพยาอีแล้ว ยังต้องการรวมกลุ่มทางด้านจิตใจด้วย คือ ต่างคนต่างมีความปรารถนาที่จะเข้าไปสถิตอยู่ในจิตใจของคนอื่นๆ ที่รวมกลุ่มกันนั้น ประหนึ่งว่าไม่ต้องการจะพลัดพรากจากกันไป ดังนั้น ยาอีจึงถูกอ้างว่าเป็นยาแห่งความรัก เอาใจเราไปใส่ใจเขา เอาใจเขามาใส่ใจเรา
ยาอีเป็นยาเม็ดใช้กินอย่างเดียว เข้าใจว่าแพร่มาจากในคนรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อหลายปีก่อน เม็ดละ 100 – 150 มิลลิกรัม ราคาเกือบพันบาท ออกฤทธิ์ใน 40 นาทีหลังเสพเริ่มแรกจะรู้สึกเบาหวิว มีความรู้สึกสดชื่น แต่มีอาการคลื่นไส้เล็กน้อย ขณะเดียวกันจะอยู่ไม่ค่อยเป็นสุข มือไม้จะเคลื่อนไหวไปมา วัยรุ่นนิยมเสพในงานปาร์ตี้แบบมาราธอนข้ามวันข้ามคืน เพราะผู้เสพจะมีความรู้สึกเหมือนพี่เหมือนน้องกัน ทุกคนในงานปาร์ตี้จะรักใคร่กลมเกลียวกัน เปิดเพลงเสียงดังแบบเร้าใจ เต้นรำขับร้องกันไปอย่างสนุกสนาน เพราะยาอีมันเข้าไปกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ต้องเคลื่อนไหว ยักย้ายส่วนสะโพกตลอดเวลา ยาอีจะออกฤทธิ์นาน 24 ชั่วโมง หลังยาอีหมดฤทธิ์ผู้เสพจะอ่อนระโหยโรยแรง ไม่นึกอยากอาหาร บางรายมีอาการซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย นอนหลับไม่สนิท ฝันร้าย ผู้ที่เสพประจำจะมีบุคคลิกภาพเปลี่ยนไป ยอมคนง่าย ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีอารมณ์ศิลปิน ต้องการแต่จะจับกลุ่มกันเท่านั้น แม้จะจับกลุ่มลัทธิบ้าคลั่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าเสพจำนวนมากจะเกิดอาการประสาทหลอน หวาดระแวง เป็นโรคจิตได้ เคยมีรายงานจากต่างประเทศว่าในงานปาร์ตี้ยาอีแห่งหนึ่งที่จัดในที่ร้อนอบอ้าว ซ้ำผู้จัดงานยังขายน้ำดื่มราคาแพง วัยรุ่นไม่มีเงินซื้อก็ต้องจำยอมอดน้ำ แต่ก็ยังคึกคักเต้นรำไม่ยอมหยุด ยาอีออกฤทธิ์ทำให้เหงื่อออกมาก เนื่องจากมันเป็นตัวเร่งให้อุณหภูมิกายสูงขึ้น ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่มาก มีวัยรุ่นตายไป 15 คน
อนึ่งในบ้านเรามีการใช้ยาเอฟีดรีน (Ephedrine) ซึ่งเป็นยาลดน้ำมูก เป็นสารเสพติดแทนยาอี เพราะราคาถูกกว่ามาก เรียกยาอีชาวนา เพื่อให้ต่างจากยาอีไฮโซ เรียกว่ามีการแบ่งชั้นวรรณะกันเลยทีเดียว แต่ความจริงคุณสมบัติแตกต่างกันลิบลับ และบ่อยครั้งเป็นการหลอกลวงขายกันราคาแพงเป็นยาอีปลอม
กันไว้ดีกว่าแก้
ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไทย หรือต่างประเทศ แม้ทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลที่จะปราบปรามการผลิตขายสารเสพติดก็ไม่เป็นผล ตรงข้ามดูเหมือนกลับเพิ่มขึ้นอีก ถ้าสามารถป้องกันไม่ให้ผู้คนเสพสารเสพติด สินค้าสารเสพติดก็จะไม่มีความหาย เพราะผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ ไม่มีคนซื้อ ไม่มีคนเสพ การป้องกันการเสพสารเสพติดจึงเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหา วิธีป้องกันต้องเริ่มจากผู้เป็นแม่ต้องไม่ใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ เพราะจะมีผลต่อทารก พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ติดยาให้ลูกรู้เห็น เพราะมีผลต่อทัศนคติต่อการเสพสารเสพติดของเด็ก เมื่อเด็กโตเป็นวัยรุ่นมีภาระการเรียน การปรับตัว ต้องการการเคารพและเชื่อมั่นตนเอง พ่อแม่ต้องให้ความใกล้ชิด ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจเขา พ่อแม่ต้องหูตาไว เพื่อนๆ ของลูกเป็นใครมาจากไหน เป็นกลุ่มเป็นแก๊ง มั่วสุมเสพยากันหรือไม่ เห็นท่าไม่ดีก็ต้องห้ามปรามไม่ให้คบค้าสมาคมด้วย พ่อแม่ต้องรู้ว่าสารเสพติดมีอยู่ย่านไหนในชุมชนใด หมั่นสอนลูกให้เข้าใจถึงพิษภัยของสารเสพติดอย่างมีเหตุผล พ่อแม่ร่วมกับครูบาอาจารย์ให้การส่งเสริมชักชวน วัยรุ่นให้รวมกลุ่มกันใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการเล่นกีฬา ดนตรี งานอดิเรก หรือเป็นอาสาสมัคร ขณะเดียวกันสังคมโดยเฉพาะสื่อสารมวลชน ดาราหรือนักกีฬา ที่มีชื่อเสียงก็มีส่วนสำคัญที่จะชักจูงวัยรุ่นในทางที่ถูกต้อง ป้องกันย่อมดีกว่าแก้แน่นอน
หนทางแห่งการรักษา
เมื่อการป้องกันล้มเหลว หรือละเลยการป้องกัน วัยรุ่นติดยาเสียแล้ว ก็มาถึงการรักษาซึ่งต้องใช้เวลา ความอดทน และความร่วมมือาของทั้งวัยรุ่น พ่อแม่และผู้รักษา อันดับแรกต้องจัดการกับศัตรูหมายเลขหนึ่งคือ จิตปฏิเสธ ผู้ป่วยจะปฏิเสธว่าตนเองไม่มีปัญหาอะไร จะหยุดยาเมื่อไรก็ได้ เถียงคำไม่ตกฟาก ทั้งที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าได้ตกเป็นทาสสารเสพติดแล้ว จำเป็นต้องชักนำหรือบางครั้งอาจต้องบังคับรักษา พ่อแม่ต้องไม่ใจอ่อนสงสารลูก บางครั้งผู้ป่วยจะทำตัวดีร่วมมือในช่วงแรก แต่ระยะหลังก็กลับไปเสพอีกได้ เพราะการรักษาในช่วงแรกเพียงแค่การ ถอนพิษยา หรือ อาการลงแดงเท่านั้น ส่วนความอยากเสพยังอยู่ในใจ จำเป็นต้องตามด้วยการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการระยะยาว จึงจะเป็นหลักประกันได้ว่าจะไม่ไปเสพอีก
(บางส่วนเรียบเรียงจาก “ยิ้มสู้เรียนรู้ยาเสพติด” โดย นพ.ทรงเกียรติ ปิยะกะ และ เวทิน ศัสสนียเวทย์)