Knowledge
Solve doubts, increase knowledge to take care of the health of yourself and your family

รู้จักโรคภูมิแพ้ ก่อนโรคร้ายจะรู้จักคุณ
โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคร้ายแรง เพราะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้บรรเทาลงจนคุณรู้สึกดีขึ้นเหมือนเป็นปกติได้ หากได้รับการรักษาและมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง โรคภูมิแพ้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล และโรคภูมิแพ้ชนิดตลอดปี อาการที่มักพบอยู่เสมอในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ได้แก่ จาม คัดจมูก ตา หู และลำคอ มีน้ำมูกใสๆ ไหลออกมาบ่อยๆ รู้สึกคัดจมูก ตาแดง และมีน้ำตาไหล นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ หรือปวดบริเวณคาง และหน้าผากร่วมด้วย หากคุณมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และกำหนดวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ที่เหมาะที่สุด เพราะหากปล่อยไว้เรื้อรังอาจกลายเป็นโรคไซนัส

รู้จักโรคภูมิแพ้ ก่อนโรคร้ายจะรู้จักคุณ ตอนที่1
โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคร้ายแรง เพราะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้บรรเทาลงจนคุณรู้สึกดีขึ้นเหมือนเป็นปกติได้ หากได้รับการรักษาและมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง โรคภูมิแพ้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล และโรคภูมิแพ้ชนิดตลอดปี อาการที่มักพบอยู่เสมอในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ได้แก่ จาม คัดจมูก ตา หู และลำคอ มีน้ำมูกใสๆ ไหลออกมาบ่อยๆ รู้สึกคัดจมูก ตาแดง และมีน้ำตาไหล นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ หรือปวดบริเวณคาง และหน้าผากร่วมด้วย หากคุณมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์

โรคหัวใจ สาเหตุการตายอันดับ 1
โรคหัวใจ เป็นโรคที่มีความหมายกว้างมาก และอาการเจ็บป่วยของโรคหัวใจนั้น ก็อาจจะเกิดจากการเจ็บป่วยของโรคอื่นก็ได้ ซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น หมายถึงกลุ่มโรคที่มีผลกระทบต่อระบบหัวใจ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจล้มเหลว โรคหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจรูมาติก ฯลฯ สาเหตุการเกิดโรค พล.อ.นพ.ประวิชช์ ตันประเสริฐ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า โรคหัวใจเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบมากและเป็นอันตรายที่สุดคือ อาการหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่นำพาไปสู่อาการหัวใจวาย (Heart Attack) ซึ่งแต่เดิม การแพทย์เชื่อว่า เกิดจากการสะสมของไขมันบนผนังหลอดเลือดจนเกิดการอุดตัน แต่ปัจจุบันอาการหัวใจวาย ที่พบบ่อยมักเกิด จากการที่ผนังหลอดเลือดด้านในแตกจนเกินการสะสมของลิ่มเลือด และนำไปสู่การอุดตันของลิ่มเลือดแบบเฉียบพลัน ซึ่งการแตกของผนังหลอดเลือดด้านในนี้ เกิดจากภาวะการอักเสบ

ทดสอบความฟิตของหัวใจ ด้วยเทคโนโลยี
การเอกซเรย์ปอดและหัวใจ รวมถึงได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจหัวใจขั้นต้นเท่านั้น แม้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะสามารถบ่งบอกถึงสิ่งผิดปกติของหัวใจได้มาก เช่นลักษณะการเต้น ขนาดของหัวใจห้องต่าง ๆ การนำไฟฟ้าภายในหัวใจ รวมถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่เนื่องจากเป็นการตรวจในขณะพัก ดังนั้นโอกาสที่จะพบความผิดปกติ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บ่งบอกว่าหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอนั้นค่อนข้างยาก นอกเสียจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจนั้นตีบมาก จนทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พออยู่ตลอดเวลา การทดสอบความฟิตของหัวใจ เพื่อจะได้ทราบว่า เส้นเลือดหัวใจตีบจนทำให้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอหรือไม่ จึงทำได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือที่เรียกกันว่า การทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test) การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยการเดินสายพาน นับได้ว่าเป็นการตรวจทางหัวใจที่ให้ผลคุ้มค่า มีความปลอดภัยสูง สามารถทำได้โดยง่าย ช่วยบ่งชี้ถึงภาวะของโรคหัวใจโดยเฉพาะผู้ที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประโยชน์มากชนิดหนึ่ง ขั้นตอนการเดิน วิ่ง บนสายพาน ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องแน่ใจว่าสามารถเดินหรือวิ่งได้ และก่อนเข้ารับการทดสอบควรได้นอนหลับพักผ่อนมาแล้วอย่างเพียงพอ งดสูบบุหรี่อย่างน้อย

รู้หรือไม่…ไข้เลือดออกอันตรายกว่าที่คิด
โดย พญ.นงนภัส เก้าเอี้ยน เมื่อพูดถึง ฝน ทุกคนก็จะนึกถึงผลกระทบที่ตามมาอีกหลายอย่าง น้ำท่วมขัง เป็นแหล่งกำเนิดชั้นดีที่ก่อให้เกิด ยุง เพราะยุงเป็นพาหะที่สร้างโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานาน สามารถเกิดโรคได้ทุกเพศทุกวัย และพบบ่อยในเด็ก โดยโรคไข้เลือดออกมักมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝน และอาจจะนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้ แต่เมื่อกล่าวถึงอันตรายของไข้เลือดออกนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายถึงชีวิต หากพักผ่อนอย่างเพียงพอ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ไข้ลดลง และฟื้นตัวได้เร็ว จะมีเพียงส่วนน้อยกว่าร้อยละ 5 ที่จะมีภาวะช็อกจากการรั่วของน้ำออกนอกเส้นเลือด และสิ่งที่น่ากังวล คือ หากเลือดออกในทางเดินอาหารหรือเลือดออกในสมองจะมีภาวะเสี่ยงถึงแก่ชีวิตได้ พญ.นงนภัส เก้าเอี้ยน กล่าวว่า สาเหตุหลักของโรคไข้เลือดออก คือ เชื้อไวรัสเดงกี ที่มีพาหะนำโรคมาจากการโดนยุงลายกัดในตอนกลางวัน


ต้อกระจก……ผ่าหรือไม่ผ่า…..ผ่าเมื่อไหร่ดี
ต้อกระจกคืออะไร เลนส์แก้วตา (Lens) เป็นเลนส์นูนใสอยู่หลังม่านตา ทำหน้าที่หักเหแสงให้ตกโฟกัสพอดีที่จอประสาทตา เมื่อเลนส์แก้วตาเสื่อม ทำให้สูญเสียความใสไป(เลนส์ขุ่น) ทำให้แสงเข้าสู่จอประสาทตาลดลง มองภาพไม่ชัด เกิดภาวะ “ต้อกระจก” ต้อกระจกพบได้ทั่วไปในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยมักเป็นต้อกระจกระยะเริ่มต้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น เมื่อเวลาผ่านไป เลนส์จึงขุ่นมากขึ้นเรื่อยๆช้าๆ จนเริ่มบดบังการมองเห็นในที่สุด อาการของต้อกระจก เนื่องจากการขุ่นของเลนส์ตาจะเป็นไปอย่างช้าๆ นานเป็นปี ทำให้ตาค่อยๆมัวลงช้าๆ โดยไม่มีอาการตาแดงหรือเจ็บปวด การมองเห็นจะลดลงเมื่ออยู่ในที่ที่แสงไม่เพียงพอ เหมือนมองผ่านหมอกหรือกระจกที่ขุ่น ต้อกระจกบางชนิดจะทำให้ตามัวลงเมื่ออยู่กลางแจ้งหรือเมื่อขับรถกลางคืนแล้วเห็นไฟหน้ารถที่ขับสวนมาแตกกระจาย ผู้ป่วยบางรายเห็นภาพซ้อนเมื่อดูด้วยตาข้างเดียว หากทิ้งไว้นานจนต้อสุก จะเห็นตาเป็นฝ้าขาวตรงกลาง ซึ่งในปัจจุบันพบได้น้อยลงเนื่องจากผู้ป่วยเข้าถึงการตรวจตาได้ง่ายขึ้น หากท่านมีอาการดังกล่าว ควรตรวจตากับจักษุแพทย์ เพื่อตรวจดูว่าท่านมีภาวะต้อกระจกหรือไม่ หรือมีภาวะอื่นร่วมด้วย สาเหตุของต้อกระจก- ต้อกระจกส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมตามวัย ส่วนมากพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า

กรดไหลย้อน…ผิดที่พฤติกรรม
“กรดไหลย้อน เป็นภาวะของโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมือง เช่น นอนน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา” ทานกาแฟและน้ำอัดลม โดยอาการกรดไหลย้อนนั้น เป็นภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้นสูง ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร สาเหตุการเกิดโรค เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่น ชอบกินจุบกินจิบ กินอาหารไม่เป็นเวลา กินอาหารแบบเร่งรีบ กินอาหารรสจัด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ทานกาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงการทานอาหารก่อนนอน ข้อบ่งชี้การเกิดโรค โรคกรดไหลย้อนนั้น มีอาการเบื้องต้นคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะ คือ มีอาการปวดท้อง ปวดแสบร้อนในช่องท้องส่วนบน เรอเปรี้ยว หรือมีรสขมในปาก แต่จริงๆ แล้วจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย โดยอาการแบ่งเป็น 2 ระบบ 1.อาการในหลอดอาหาร เช่น

ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้ซิกา Zika virus disease ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ความรู้ทั่วไป – เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus-ZIKV) เมื่อปี พ.ศ. 2490 ในป่าซิกา ประเทศยูกันดา – มียุงลายเป็นพาหะนำโรค – ช่วงปี พ.ศ. 2556 – 2558 พบรายงานการระบาดของโรคไข้ซิกาในประเทศบราซิล เฟรนช์โปลินีเซีย เอลซัลวาดอร์ เวเนซุเอลา และซูรินาม ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดในทารกแรกเกิด และอาการอักเสบของเส้นประสาท GBS (Guillain