Knowledge
Solve doubts, increase knowledge to take care of the health of yourself and your family
9ทันไต The Stories of Success
9 ทันไต | The Stories of Success เรื่องจริงของความสุขอันยิ่งใหญ่ ที่ชุบชีวิตใหม่ให้ผู้ป่วยโรคไต
ความดันโลหิตสูงในคนอายุน้อย
เวลามาใช้บริการโรงพยาบาล ไม่ว่าจะมาด้วยปวดหัว ตัวร้อย ปวดฟัน ตกบันได คลอดลูก นอนไม่หลับ ทุกครั้งทุกคนต้องได้รับการวัดความดันโลหิต บางครั้งค่าสูงกว่าปกติ (ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า 140 มม.ปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตตัวล่างมากกว่าเท่ากับ 90 มม.ปรอท)ก็มักมีเหตุผลให้ตนเองว่า อ้อ ไม่สบายอยู่ ต่อมาเมื่อมาตรวจร่างกายประจำปี สบายดี ตรวจแล้วความดันโลหิตสูงอีก ก็ อ้อ เพิ่งเดินมา คนเยอะ หิวข้าว หงุดหงิด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงหรือไม่ คำแนะนำคือ ควรตรวจความดันโลหิตซ้ำ ห่างกันอย่างน้อย 2
คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “ไวรัสตับอักเสบ B และ C โรคร้ายที่คุณไม่ควรมองข้าม”
คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “ไวรัสตับอักเสบ B และ C โรคร้ายที่คุณไม่ควรมองข้าม” วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ 1. ปริมาณยาที่ทานจำนวนเท่าใดถึงจะส่งผลต่อตับ ตอบ ขึ้นอยู่กับชนิดของยา แต่แนะนำให้ทานตามฉลากยาหรือคำแนะนำของแพทย์ 2. การรับประทานอาหารที่ทำจากตับสัตว์ จะมีโทษต่อร่างกายหรือไม่ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่รับประทานตับสด ตอบ การทานตับไม่มีโทษต่อร่างกายแต่ควรปรุงให้สุกก่อนทานค่ะ เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ 3. มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ B จะเป็นไวรัสตับอักเสบ C ได้ด้วยหรือไม่ ตอบ การมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ B ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C
ความสำคัญของไต โรคไตวายเรื้อรังและการรักษา
ความสำคัญของไต โรคไตวายเรื้อรังและการรักษา นพ.วิรุฬห์ มาวิจักขณ์ Diplomate, American Board of Internal Medicine and Nephrology คนเราเกิดมามีไตอยู่ 2 ข้าง หน้าที่สำคัญของไต คือ การขับของเสียต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายออกทางปัสสาวะ ทำให้เลือดและร่างกายคนเราสะอาด, ของเสียที่ไตต้องขับออกส่วนหนึ่งมาจากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย และอีกส่วนหนึ่งมาจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ถ้าคนเราไม่มีไต หรือไตวายหยุดทำงาน ของเสียเหล่านี้จะคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือดและในร่างกาย ทำให้เลือดและร่างกายสกปรก ในที่สุดอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็จะเป็นพิษ หยุดทำงานและเสียชีวิต หน้าที่ของไต นอกจากหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายแล้ว ไตยังทำหน้าที่สำคัญๆ
คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “เสริมสร้างอัจฉริยะภาพลูกรัก…ให้ห่างไกลโรคสมอง”
คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “เสริมสร้างอัจฉริยะภาพลูกรัก…ให้ห่างไกลโรคสมอง” 1. EQ ช่วงอายุที่เด็กจะเรียนรู้และซึมซับได้ดี รวมทั้งแก้ไขเรื่องอารมณ์ร้อนเป็นช่วงอายุกี่ปี ถึงกี่ปี ตอบ EQ สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ (ดีที่สุด 2-6 ขวบ) จะเป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาสมองทุกส่วน ดังนั้นช่วงนี้เหมาะจะเป็นช่วงพัฒนาอีคิวครับ แต่เด็กที่โตกว่านี้ก็สามารถพัฒนาได้ครับ แต่อาจไม่เท่าช่วงวัยนี้ครับ และเช่นเดียวกันครับ อีคิวเป็นตัวที่ช่วยให้การแสดงออกทางอารมณ์เหมาะสม บางคนอารมณ์ร้อน แต่ก็ไม่หนักถึงขนาดทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นครับ 2. เรื่องการใช้มือซ้าย ปัจจุบันลูกใช้มือซ้ายทานอาหารบางครั้ง ที่บ้านมักจะบอกให้ใช้มือขวาทานถึงจะดี ที่ดีที่สุดควรปล่อยให้ใช้มือซ้ายไปเลยหรือไม่ ตอบ ความถนัดเรื่องซ้าย-ขวา จะเริ่มเมื่อเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ปัจจุบันการใช้มือซ้าย-ขวา
โรคหลอดเลือดสมอง Stroke ตอนที่ 3
เส้นเลือดในสมองเปรียบเสมือนท่อประปา ที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง โดยเส้นเลือดเป็นของคนคนเดียวกันทั้งร่างกาย ดังนั้นหากหลอดเลือดเสื่อมก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองได้ ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงจึงมีทั้งที่แก้ไขได้และ แก้ไขไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ได้แก่ อายุ เมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมของเส้นเลือดก็จะตามมาในแต่ละบุคคล ยิ่งอายุมากขึ้น หลอดเลือดในสมองก็จะเสื่อมมากขึ้น เหมือนท่อประปาในบ้านที่ใช้นานขึ้น ก็จะมีโอกาสที่จะมีตะกอนมาเกาะมากกว่าคนอายุน้อย เพศชาย มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เคยมีประวัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือโรคหลอดเลือดในสมองแตกมาก่อน ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เมื่อมีโรคความดันโลหิตสูงควรพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันและรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆก็ตาม เนื่องจากความดันโลหิตที่สูงจะไปทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ง่าย และทำให้เส้นเลือดในสมองมีความเปราะมากขึ้น โรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial fibrillation or atrial flutter) มักจะทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจและลิ่มเลือดในหัวใจอาจจะลอยไปอุดเส้นเลือดในสมองได้ การแก้ไขภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมักจะทำได้โดยการจี้ไฟฟ้าที่หัวใจ หรือหากไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด อย่างต่อเนื่อง