Knowledge
Solve doubts, increase knowledge to take care of the health of yourself and your family
โรคหลอดเลือดสมอง Stroke ตอนที่ 2
อาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง -ปากเบี้ยวหรือชาบริเวณใบหน้า -ปวดศีรษะอย่างรุนแรง -แขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก -วิงเวียนศีรษะประกอบกับเดินเซ -พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก ฟังไม่รู้เรื่อง เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองต้องปฏิบัติอย่างไร โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ (Brain attack) ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้ประวัติเองได้ เแพทย์จำเป็นที่จะต้องทราบเวลาที่ญาติพบเห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งสุดท้าย ถ้าผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลภายในเวลาสี่ชั่วโมงครึ่งหลังจากอาการเริ่มต้น แพทย์จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด(rt-PA) เพื่อละลายลิ่มเลือดในสมอง และทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดกลับมาเป็นปกติได้ หากไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ แพทย์ก็ยังจำเป็นที่จะต้องรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการภายใน 7 วัน หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองให้ดำเนินการดังนี้ 1. โทรศัพท์แจ้งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด โรงพยาบาลพระรามเก้า 02-202-9999 และแจ้งอาการที่ผู้ป่วยเป็น เวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ โดยทางโรงพยาบาลจะจัดส่งรถโรงพยาบาลไปรับตัวผู้ป่วยในทันที
โรคหลอดเลือดสมอง Stroke ตอนที่ 1
ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตและสาเหตุของความพิการในลำดับต้นๆของประชากรในประเทศไทย ทั้งๆที่เป็นโรคที่ป้องกันและรักษาได้หากผู้ป่วยมารับการรักษาภายในเวลาที่ทันท่วงที โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร (STROKE) คนไทยมักรู้จักโรคหลอดเลือดสมองกันว่าโรคอัมพาต หรืออัมพฤกษ์ ซึ่งเกิดได้จากสองสาเหตุคือ เส้นเลือดในสมองแตก และเส้นเลือดในสมองตีบ ทั้งสองกรณีนี้จะทำให้เนื้อเยื่อสมองที่โดนผลกระทบไม่ทำงาน เช่นถ้ามีอาการในบริเวณที่ควบคุมการขยับของแขนขาด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะทำให้แขนขาด้านนั้นขยับไม่ได้ ถ้าเป็นถาวรก็จะเรียกว่าเป็นอัมพาต ถ้าเป็นชั่วคราวก็จะเรียกว่าอัมพฤกษ์นั้นเอง คล้ายๆอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (heart attack) แต่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ( brain attack) แทน อาการของโรคหลอดเลือดสมองเป็นอย่างไรได้บ้าง ในปัจจุบันหากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบขาดเลือดมารับการรักษาภายในเวลา สี่ชั่วโมงครึ่ง สามารถที่จะให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อที่จะช่วยให้สมองในบริเวณที่ขาดเลือดกลับมาทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นอาการที่เป็นทันทีทันใดและควรสังเกตง่ายๆในเบื้องต้นจึงได้แก่ F.A.S.T. F-Face : ผู้ป่วยจะมีอาการหน้าเบี้ยวด้านใดด้านหนึ่ง หรือผู้ป่วยบางท่านอาจจะมีอาการระหว่างการรับประทานอาหารแล้วมีอาหารไหลออกจากปากหรือน้ำลายไหลออกจากมุมปากด้านใดด้านหนึ่ง ทดสอบง่ายๆได้โดยให้ผู้ป่วยลองยิ้มหรือยิงฟัน A-Arms : ผู้ป่วยจะขยับแขนขาด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้
คำถามจากกิจกรรมสัมมนา “100 เรื่องราวที่คุณแม่ตั้งครรภ์…ต้องรู้”
คำถามจากกิจกรรมสัมมนา “100 เรื่องราวที่คุณแม่ตั้งครรภ์…ต้องรู้” 1. ลูกดิ้นเยอะ เวลากลางวันหลายช่วง และกลางคืนช่วงตี2-ตี5 อยากทราบว่าเขาจะพักผ่อนพอไหม ตอบ. ลูกดิ้นเป็นเรื่องที่ไม่มีอะไรน่ากังวลเลยค่ะ และลูกมักจะดิ้นใกล้เวลารับประทานอาหาร และเวลาอิ่มแล้ว หรือเวลามีเสียงดังรอบตัว คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงการได้ยินเสียงดังค่ะ 2. อาการเท้าบวม เดินแล้วเหมือนมีน้ำอยู่ในเท้า นอนพักเอาหมอนหนุนตอนกลางคืน ตื่นมายังบวมอยู่ อยากทราบว่าเกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่ ตอบ. ถ้าเท้าบวมตอนเย็นเนื่องจากยืน เดิน ตลอดวัน และยุบตอนตื่นเช้า ถือว่าเป็นอาการปกติได้ค่ะ แต่ถ้าบวมเลยข้อเท้าขึ้นมาถึงหน้าแข้ง กดแล้วบุ๋ม และยังบวมตอนตื่นนอนตอนเช้า อาจมีภาวะครรภ์เป็นพิษ ควรไปพบแพทย์ก่อนนัดค่ะ
ไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่ง หรือ Appendix นี้มีรูปร่างเหมือนตัวหนอน ห้อยออกมาจากส่วนของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า Cecum ไม่มีประโยชน์อะไรต่อการย่อยอาหาร แต่นานๆ ทีมันก็เกิดอักเสบขึ้นมา โรคไส้ติ่งอักเสบหรือไส้ตันนี้ ทุกคนควรรู้จักอาการเอาไว้ เพราะอาจเกิดขึ้นได้กะทันหัน โรคนี้เริ่มต้นด้วยอาการปวดท้อง ตอนแรกปวดตรงกลางสะดือ ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา จุดปวดนี้ค่อยๆย้ายมาอยู่ที่ท้องน้อยด้านขวา ถ้าเราเอามือกดตรงส่วนนี้ของหน้าท้อง จะยิ่งรู้สึกเจ็บมากขึ้นจนแทบทนไม่ได้ ผู้เป็นมักจะมีไข้ขึ้นและอาเจียนติดๆกัน บางคนหยุดถ่าย แต่บางคนก็ท้องเดิน ถ้ามีอาการเช่นนี้ต้องรีบไปโรงพยาบาล ให้แพทย์เขาตรวจดูทันที เพราะถ้าไส้ติ่งอักเสบจริง จะต้องทำการผ่าตัดก่อนที่ไส้ติ่งจะทะลุแตกในท้อง และเป็นอันตรายต่อชีวิต การผ่าไส้ติ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องยากหรืออันตราย เมื่อแพทย์เขาตัดตัวไส้ติ่งที่อักเสบนั้นทิ้งไป อาการปวดท้องและอาเจียนก็จะหยุดลง หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากในปัจจุบันเราใช้วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าชนิดที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง (ฉีด 5 ครั้งเท่านั้น) เพราะมีประสิทธิภาพสูงไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อระบบประสาท และควรฉีดเซรุ่มร่วมด้วย ถ้าบาดแผลมีเลือดออก ถูกเลียที่ริมฝีปาก น้ำลายกระเด็นเข้าตา สถานเสาวภาใช้โปรกรมการฉีดวัคซีน 2 แบบ คือ แบบปกติฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบประหยัดฉีดเข้าชั้นผิวหนัง แต่ละแบบจะได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด 5 ครั้ง เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นอย่างไร เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเซรุ่มส่วนของน้ำใสของเลือดที่ได้จากม้าหรือคนที่ได้รับการฉีดวัคซีน โรคพิษสุนัขบ้า ในเซรุ่มจะมีโปรตีนทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในปริมาณที่มาก เซรุ่มจะไปทำลายเชื้อไวรัส ในร่างกายของผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด โดยการฉีดรอบๆแผลก่อนที่จะก่อโรคและก่อนที่ภูมิต้านทานของร่างกายจะสร้างขึ้น ด้วยเหตุนี้การให้เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับการฉีดวัคซีนเข็มแรก จึงเป็นวิธีที่จะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ผลดีที่สุด แต่เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีราคาแพงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำมาจากเลือดคน ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า –
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
คือการส่องกล้องตรวจเยื่อบุคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็น Fiber Optic ทีปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพ อีกด้านหนึ่งเป็นส่วนควบคุมซึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง แล้วส่งภาพมาปรากฏบนจอโทรทัศน์ โดยสอดกล้องเข้าไปทางปาก ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้อง เมื่อไหร่แพทย์จึงเลือกใช้วิธีนี้ อาเจียนเป็นเลือด อาการปวดท้อง เสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ อาการกลืนลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีกลิ่นปาก อาการเรอเปรี้ยว แน่นแสบหน้าอกกลางคืน คอแห้ง เสียงแหบ ไอเรื้อรัง ซึ่งเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน (GERD : Gastro Esophageal Reflux Disease) อาการซีด
แคลเซียมกับภาวะกระดูกพรุนในวัยทอง
แคลเซียมกับภาวะกระดูกพรุนในวัยทอง วัยทองนั้นเป็นช่วงเวลาที่ระบบฮอร์โมนเพศในร่างกายลดลงหรือหมดไป โดยผู้ชายในวัยทองระดับฮอร์โมนเพศชายจะมีระดับลดลงอย่างช้าๆ แต่ในฝ่ายหญิงแล้วเมื่อรังไข่หยุดทำงานระดับฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่จำเป็นในการมีสรีระวิทยาการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ที่เป็นปกติ การเปลี่ยนแปลงในวัยนี้ที่สำคัญนั้นเกิดขึ้นได้ในทุกระบบของร่างกายทั้งคุณผู้ชายและคุณผู้หญิง แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วทางฝ่ายหญิงจะได้รับผลกระทบจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนเพศไปเป็นเวลานานๆ แล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็คือ ภาวะกระดูกพรุน ซึ่งบางคนอาจเรียกว่า โรคกระดูกบางก็ได้ การเปลี่ยนแปลงของกระดูกที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนก็คือ เนื้อกระดูกจะบางลง การทำลายเซลล์กระดูกจะเพิ่มขึ้นในขณะที่การสร้างเซลล์กระดูกจะลดลง จากการศึกษาวิจัยพบว่ากระดูกจะเริ่มบางลงตั้งแต่อายุ 35 ปี โดยเมื่ออายุ 45 – 50 ปี กระดูกจะบางลงประมาณ 3 – 8% หลังจากเริ่มหมดประจำเดือนในระยะเวลา 5 ปีแรก