วัยรุ่น…เศร้าที่ต้องการคนเข้าใจโดย นพ.ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล แพทย์เชี่ยวชาญด้าน Mind Center ปัจจุบันแทบจะพบว่า อาการเศร้า พบบ่อยกับทุกคน จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก พบว่า โรคซึมเศร้าส่งผลต่อความสูญเสียมาก และพบว่าคนในโลก 1 ใน 20 กำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ในวัยรุ่นพบโรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ 5 ซึ่งลำดับแรกต้องมาทำความรู้จักกับอารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้ากันก่อน ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจผิดและติดว่าสภาวะเศร้าที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นจัดการได้ เช่น การไปออกกำลังกายก็หาย ทำกิจกรรมอย่าไปคิดมาก เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็พอช่วยได้ แต่โรคซึมเศร้านั้น รุนแรงมากกว่านั้น ซึ่งควรให้ความสำคัญและทำความเข้าใจ จะได้สังเกตและช่วยเหลือวัยรุ่นที่เศร้าได้ อารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้า เป็นสิ่งที่หลายคนสับสน และแนะนำผู้ป่วยซึมเศร้าจนทำให้รู้สึกว่า ไม่เข้าใจฉันบ้างเลยที่ฉันเป็นโรคซึมเศร้า โดยอารมรณ์เศร้านั้น เป็นภาวะปกติของมนุษย์เกิดขึ้นได้และจัดการได้ เมื่อตัวกระตุ้นการเปลี่ยนไป เช่น การสูญเสีย ตกงาน สอบตก เป็นต้น ก็ทำให้เกิดอารมณ์เศร้าได้ หลายคนระยะเวลาก็เยียวยาได้ ทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะสามารถช่วยได้ แต่แตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างสิ้นเชิง ที่เป็นนานและรุนแรงมากกว่า ซึ่งเศร้ามากจนสารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลงไป มีความคิดที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง แสดงพฤติกรรมบางอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นผลจากโรคซึมเศร้า และเกิดอาการครอบคลุมจิตใจตลอดเวลา ซึ่งต้องได้รับความเข้าใจและบำบัดรักษา ในวัยรุ่น ซึ่งมีพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และความคิด ที่กำลังเจริญเติบโต ซึ่งอาจทำให้หลายคนมองข้ามไป เพราะบางครั้งสิ่งที่หลายคนคิดว่า “เป็นวัยรุ่นก็เป็นแบบนี้แหละ” อาจไม่ใช่ความจริง เช่น หงุดหงิดง่าย เก็บตัว ไม่ค่อยกิน อาการเหล่านี้อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าก็ได้ โดยอาการโรคซึมเศร้าของวัยรุ่น ตามมาตรฐานการวินิจฉัยของ DSM-5(APA) และปรับปรุงให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้ อาการของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น(มีอารมณ์เศร้า หรือ หมดความสนใจทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเปลี่ยนไปจากเดิม ในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ติดต่อกันและมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน) 1.หงุดหงิดหรือเศร้า (มักจะบอกว่าเศร้า ว่างเปล่า)2.หมดความสนใจหรือความสุขใจในกิจกรรมต่างๆ3.น้ำหนักลดหรือเพิ่มมากเกินไป (ไม่ได้เกิดจากการคุมอาหาร)4.นอนไม่หลับ หรือ หลับมากเกินไป5.กระวนกระวาย เฉื่อยชา6.อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง7. รู้สึกไร้ค่า หรือ รู้สึกผิดมากเกินไป8.สมาธิลดลง9.คิดซ้ำๆ เกี่ยวกับความตาย อยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นส่วนใหญ่นั้น อารมณ์เศร้า มักจะมีเหตุการณ์มากระตุ้น ทำให้กรอบความคิดความเชื่อเดิมๆ มาส่งผลทำให้เกิดผลกระทบมากมายในชีวิต เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ บางคนแยกตัวจากสังคม ไม่ไปเรียน ไม่ไปทำงาน เป็นต้น สำหรับกรอบความคิดของคนที่เศร้าพบได้บ่อย คือ การคิดลบกับตัวเอง คิดลับกับคนอื่น คิดลบกับอนาคต ได้แก่ ฉันไม่เก่ง ฉันไร้ค่า ฉันล้มเหลว คนอื่นไม่รักฉัน คนอื่นมองฉันไม่ดี โลกนี้มีแต่ปัญหา อนาคตไม่มีแล้ว หมดหวังแล้ว ซึ่งในความคิดเหล่านี้หากมองด้วยความเป็นจริงมากขึ้นจะเห็นว่า มันไม่สมเหตุสมผลเลย ซึ่งเป็นข้อสรุปที่มีความจริงบางส่วนเท่านั้นเอง ซึ่งส่วนนี้ในการรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลตามหลักฐานวิจัย พบว่า การปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy : CBT) ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าดีขึ้น สาเหตุของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น1.สารเคมีในสมองผิดปกติ ซึ่งในโรคซึมเศร้าสารที่หลั่งผิดปกติ ได้แก่ Serotonin , Norepinephrine2.กรรมพันธุ์ ได้แก่ Serotonin Transporter Gene ส่งผลและพบว่าในครอบครัวที่มีผู้ป่วยจิตเวช มีความเสี่ยง ทำให้เกิดซึมเศร้าในครอบครัวได้3.การใช้สารเสพติดบางชนิด พบ ซุมเศร้าประมาณ 1 ใน 4 ได้แก่ แอลกอฮอล์ ยานอนหลับ ยาบ้า และกัญชา ซึ่งพบว่า สัมพันธ์กับระยะถอนยา ซึ่งเกิดหลังจากสมองขาดยา4.ความคิดเห็นและความเชื่อที่บิดเบือนไป ซึ่งเป็นไปในทางลบกับตัวเอง ผู้อื่นและอนาคต เช่น ไร้ค่า ไม่มีอนาคต หมดหวัง คิดว่าตัวเองแย่ที่สุด รู้สึก Fail เป็นต้น5.ความเครียดที่รุนแรง ต่อเนื่องยาวนาน หรือป่วยเรื้อรังยาวนาน ก็มีความเสี่ยงให้เกิดซึมเศร้าได้6.เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในวัยเด็กและฝังใจ เมื่อมีเหตุการณ์ปัจจุบันกระตุ้นก็ทำให้เกิดอาการเศร้าขึ้นมาได้ใหม่ วัยรุ่นสงสัยหรือเป็นโรคซึมเศร้า ทำอย่างไรดี 1.วัยรุ่นที่มีอาการไม่มาก การได้รับความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโคซึมเศร้า ก็จะช่วยประคับประคองให้จัดการอารมณ์ได้2.ส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว แม้จะฝืนกับความอยาก แต่พบว่าจะไม่ทำให้อาการเศร้าแย่ลง บางคนเศร้าดีขึ้นด้วย3.ครอบครัวและโรงเรียน ทำความเข้าใจโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น เฝ้าระวังและสังเกตอาการให้คำแนะนำ ลดเหตุการกระตุ้นให้เศร้า4.หากโรคซึมเศร้าเป็นมากขึ้นควรพบแพทย์ หรือจิตแพทย์เพื่อช่วยประเมินและรักษาบำบัด5.การรักษาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นปัจจุบัน นอกจากการใช้ยาแล้ว การทำจิตบำบัดที่ได้ผลตามหลักฐานงานวิจัยทั่วโลก ได้แก่ Cognitive Behavior Therapy (CBT) และ Interpersonal Therapy (IPT)6.หากโรคซึมเศร้าหนักมาก ทำร้ายตัวเองหรือเสี่ยงต่อผู้อื่น จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยรับไว้ในโรงพยาบาล