เกณฑ์การวินิจฉัยโรคแพนิค ( Panic disorder ) Panic Disorder and Agoraphobia เนื่องจาก Panic Attack และ Agoraphobia สามารถพบร่วมกับโรคในกลุ่มนี้ได้หลายโรค จึงแยกแสดงเกณฑ์การวินิจฉัยของ Panic Disorder และ Agoraphobia ต่างหากออกมาตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ทั้งสองกลุ่มอาการนี้ไม่มีรหัสเฉพาะ และไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้โดยโดด ๆ Panic Attack มีความกลัวหรือความอึดอัดไม่สบายอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลาที่ชัดเจน โดยมีอาการในหัวข้อต่อไปนี้ ตั้งแต่ 4 อาการขึ้นไป อาการ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และถึงระดับสูงสุดภายใน 10 นาที 1. ใจสั่น ใจเต้นแรง หรือใจเต้นเร็วมาก 2. เหงื่อแตก 3. สั่น 4. หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจขัด 5. รู้สึกอึดอัด หรือแน่นอยู่ข้างใน 6. เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก 7. คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน 8. วิงเวียน โคลงเคลง มึนตื้อ หรือเป็นลม 9. derealization หรือ depersonalization 10. กลัวคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวเป็นบ้า 11. กลัวว่าจะตาย 12. paresthesias (ชา หรือรู้สึกซู่ซ่า) 13. หนาวสั่น หรือร้อนวูบวาบ Agoraphobia A. กังวลต่อการอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่อาจหลีกเลี่ยงได้ลำบาก (หรืออาจทำให้อับอาย) หรืออาจไม่ได้รับการช่วยเหลือ หากว่าผู้ป่วยเกิดมี Panic Attack หรือมีอาการที่คล้าย Panic ไม่ว่าจะเป็นขึ้นมาเองหรือเป็นจากบางสถานการณ์มากระตุ้นก็ตาม ความกลัวแบบ Agoraphobia ที่เป็นแบบฉบับ มักจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์เหล่านี้ ซึ่งประกอบด้วย การออกนอกบ้านตามลำพัง การอยู่ท่านกลางหมู่คนหรือยืนต่อแถว การอยู่บนสะพาน และการเดินทางโดยรถเมล์ รถไฟ หรือรถยนต์ หมายเหตุ : หากการหลีกเลี่ยงจำกัดอยู่เฉพาะสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง หรือเพียงไม่กี่สถานการณ์ ให้คำนึงถึงการวินิจฉัย Specific Phobia หากการหลีกเลี่ยงจำกัดอยู่แต่การพบปะผู้คนให้คำนึงถึง Social Phobia B. มีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ (เช่น งดการเดินทาง) หรือไม่ก็ต้องทนเผชิญโดยมีความทุกข์ใจมากหรือมีความวิตกกังวลว่าจะเกิด Panic Attack หรือมีอาการที่คล้าย Panic หรือต้องมีผู้อื่นอยู่ร่วมด้วย C. อาการวิตกกังวลหรือการเลี่ยงจากความกลัวนี้ ไม่ได้เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ดีกว่า เช่น Social Phobia (เช่น การหลีกเลี่ยงจำกัดอยู่เฉพาะการพบปะผู้คน เนื่องจากเกรงว่าจะแสดงความประหม่า), Specific Phobia (การหลีกเลี่ยงจำกัดอยู่เฉพาะสถานการณ์เดียวเท่านั้น เช่น ลิฟต์), Obsessive-Compulsive Disorder ( เช่น บางคนหลีกเลี่ยงสิ่งสกปรกเนื่องจากหมกมุ่นกับการกลัวติดเชื้อโรค), Posttraumatic Stress Disorder (เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับความกดดันที่รุนแรงนั้น), หรือ Separation Anxiety Disorder (เช่น หลีกเลี่ยงการห่างจากบ้านหรือญาติ) F41.0 Panic Disorder Without Agoraphobia A. มีทั้ง (1) และ (2) (1) มี Panic Attacks เกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยคาดไม่ได้ (ดูหน้า ppp) (2) อย่างน้อยหนึ่งครั้งของการเกิดอาการ จะต้องมีอาการดังต่อไปนี้หนึ่งข้อ (หรือมากกว่า) ติดตามมาเป็นเวลานาน 1 เดือน (หรือมากกว่า) (a) กังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นอีกอยู่ตลอดเวลา (b) กังวลว่าอาจส่อถึงโรคร้ายแรงหรือกังวลเกี่ยวกับผลติดตามมา (เช่น คุมตัวเองไม่ได้ เป็นโรคหัวใจ เป็นบ้า) (c) พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เนื่องมาจากการเกิดอาการ B. ไม่มี Agoraphobia C. Panic Attacks นี้มิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา) หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย (เช่น hyperthyroidism) D. Panic Attacks นี้ ไม่ได้เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ดีกว่า เช่น Social Phobia (เช่น เกิดอาการขณะเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคมที่หวั่นเกรง) Specific Phobia (เช่น เผชิญกับสถานการณ์ที่กลัว), Obsessive-Compulsive Disorder ( เช่น เผชิญกับสิ่งสกปรกในคนที่หมกมุ่นกับการกลัวติดเชื้อโรค), Posttraumatic Stress Disorder (เช่น เกิดอาการจากสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับความกดดันที่รุนแรงนั้น), หรือ Separation Anxiety Disorder (เช่น เกิดอาการจากการต้องห่างจากบ้านหรือญาติใกล้ชิด) F40.01 Panic Disorder With