แนะนำการรักษามะเร็งตับ
แนะนำการรักษามะเร็งตับ นายแพทย์ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย อายุรแพทย์ และ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินอาหารและโรคตับ ร.พ. พระรามเก้า ในบทความนี้จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาครับ ไม่ได้เล่าเกี่ยวกับการป้องกัน การค้นหา และ การวินิจฉัย ไว้มีเวลาจะเล่าให้ฟังทีหลังครับ เผอิญเขียนในรูปสอนนิสิตแพทย์ ยังไม่ได้แปลงให้ ประชาชนเข้าใจเลยครับต้องรอให้มีเวลาก่อน พบว่าเมื่อเป็นมะเร็งตับ มักหวังให้หายขาดยากเพราะ มักมาสายเกินไป แต่เนื่องจากการค้นหาหรือเช็คร่างกายโรคตับ และมะเร็งตับมีมากขึ้นทำให้เราพบ มะเร็งตับระยะเร็วขึ้น รักษาหายและง่ายมากขึ้นครับ อาจหายได้ ปัจจุบันจะใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันและ พิจารณาเปลี่ยนตับ (เมืองไทยยังทำไม่นัก แต่ดีขึ้นเรื่อย ๆ) เมื่อมีข้อบ่งชี้ครับ ก่อนรักษาอย่าลืมนะครับว่า ถ้าเป็นมะเร็งส่วนอื่น ที่ไม่ใช่ตับโดยตรง การรักษามะเร็งตับอาจไม่ได้ผล หรือ ผิดวิธีครับ รวมทั้งการทำนายโรคจะไม่เหมือนกับมะเร็งตับครับ ยิ่งคนบางคน เป็นแค่ฝี หรือ เป็น เนื้องอกไม่ร้ายแรง เช่น เป็นแค่ไขมัน เนื้องอกเส้นเลือด (Hemangioma) หรือ เนื้องอก adenoma ยิ่ง แล้วใหญ่ไม่ต้องรักษาเลยครับ รออ่านเพิ่มในด้านการวินิจฉัย เมื่อผมมีเวลาเขียนนะครับ วิธีการรักษามีดังนี้ครับ 1. การผ่าตัดส่วนที่เป็นเนื้องอกออก (PARTIAL HEPATECTOMY) เราจะพิจารณาทำในผู้ป่วยที่ยังมีการทำงานของตับดีพอ สามารถตัดตับออกบางส่วนได้สบาย หรือ ยังไม่มีตับแข็งมากนัก มีทำงานของตับดีพอ วิธีการประเมินโดยดูว่ามีการทำงานตับโดยดู 1. ขนาดเนื้องอก 2. โปรตีนไข่ขาวที่เรียกว่า Albumin 3. ค่าสีเหลืองที่นิยมเรียกกันว่าดีซ่าน 4. น้ำในท้อง 5. ความสับสน หรือสั่น ทุกข้อที่กล่าวมาถ้าดีหมด จะมีความมั่นใจในการตัดออกทั้งหมด อย่างมั่นใจมาก ครับ พบว่าถ้าไม่มีตับแข็งเลย จะมีการเสียชีวิตขณะผ่าตัดน้อยมาก คือ น้อยกว่า 5 %, ขณะที่มีตับแข็งแล้ว จะมีโอกาสเสียชีวิตหลังผ่าตัด 10 % ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยอื่น ด้วย รวมทั้งดังที่กล่าวในข้อ 1 การดูการทำ งานโดยการฉีด indocyanine green (ICG) clearance ซึ่งเมืองไทยไม่นิยมทำกัน และควรไม่มีร่อง รอยของความดันเลือดดำในท้องสูง (portal hypertension) ขนาดเนื้องอก <,= 5 cm แต่ระวังอาจดูพลาดจากการทำคอมพิวเตอร์ (computed tomography) หรือ ตรวจคลื่นแม่เหล็ก (magnetic resonance imaging) อาจประมาณว่าเล็กเกินไป หรือ ใหญ่เกินไปได้ บางโรงพยาบาลอาจตรวจเสริมโดยใช้ การส่องกล้องตรวจโดยใช้กล้อง หรือ การใช้อัลตร้าซาวน์ตรวจ ในห้องผ่าตัด เพื่อช่วยในการเลือกการผ่าตัดดีขึ้น กรณีทำแล้วอาจพบก้อนอื่น เล็ก ๆ จนผ่าไม่ได้หมด ต้องวางแผนรักษาใหม่ หรือ ก้อนที่พบในห้องผ่าตัดอาจมากไปจนตัดไม่ได้ (เช่นอาจต้องใช้คลื่นวิทยุ หรือ ฉีดแอลกอฮอร์ในห้องผ่าตัดแทน) มีการศึกษาหนึ่งพบว่าอาจไม่ทำการผ่าตัดเมื่อตรวจวิธีนี้ เพราะ พบก้อนมากกว่าที่พบเมื่อตรวจก่อนผ่าตัดถึง 16 % ก้อนที่พบ น่าทำการผ่าตัด มักเป็นก้อน ก้อนเดียว และไม่มีภาพเอ๊กซเรย์วิธีต่าง ๆ พบว่าไม่มี การกิน เข้าไป (invasion) ต่อเส้นเลือดในตับ (hepatic vasculature) แต่มักมาช้ากว่าจะตัดได้เป็นส่วนใหญ่ ในการศึกษาหนึ่ง 370 คน พบผ่าได้เพียง 30 % พบว่ามีการเกิดมะเร็งซ้ำที่ 5 ปี เฉลี่ยประมาณ 30 % มีรายงานว่าอาจถึง 50 – 90 % ถ้าเลือกผู้ป่วยได้ดี การรอดอยู่นานโดยดูที่ 5 ปีว่ารอดได้กี่เปอร์เซ๊นต์ พบว่ามีการอยู่รอดตามขนาดของมะเร็ง คือ ถ้าก้อน น้อยกว่า 5 cm รอดถึง 62.7 %ต่อ 5 ปี, 46.3 %ต่อ 9 ปี, ถ้ามากกว่า 5 cm รอดได้ 37%ต่อ 5 ปี กรณีที่มีตับแข็งแล้ว หรือ ตับยังมีการอักเสบจากไวรัส (chronic viral hepatitis) ยังมีความเสี่ยงในการ เกิดมะเร็งซ้ำได้ ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดตลอดไป หรือ พิจารณารักษาต่อ การมีตับอักเสบก่อนการผ่าตัด โดยมีค่าการอักเสบ (preoperative aminotransferase) มากกว่า 100 IU/L (คือมีการอักเสบของตับอยู่ (underlying active hepatitis)) เป็นข้อบ่งชี้การอยู่รอดว่าไม่ดี (independent adverse prognostic factor), บาง การศึกษาพบว่ามีค่าเหลืองดีซ่าน bilirubin มากกว่า เท่ากับ 1 mg/dL (17.1 micro.mol/liter) ก็เป็นข้อบ่งชี้ว่าอยู่รอดไม่ได้ดี ( independent predictor)