โดย นพ.อนุพงษ์ ปริณายก ในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในปัจจุบันค่าเงินบาทดูจะลอยต่ำลงไปเรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่ทุกคนคาดหวังเอาไว้ คือ ขออย่าได้เจ็บป่วยไม่สบายเลย จะได้มีเวลาทำงานให้เต็มที่ไม่เสียเงินทองไปกับค่ารักษาพยาบาล ครั้งนี้นับ ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่ทุกคนจะได้เริ่มดูแลสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับท่านที่เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน หรือผู้สูง อายุ ควรจะเริ่มเอาใจใส่กับสุขภาพเพื่อให้ห่างไกลจากโรคหัวใจได้แล้ว โรคหัวใจที่เกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันนั้น ทุกท่านคงได้อ่านมาไม่มากก็น้อย สาเหตุการตีบของ เส้นเลือดหัวใจ พบว่ามีไขมันคอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอล (LDL – Cholesterol) เริ่มจับตัวเข้าไปอยู่ ในผนังเส้นเลือด วันเวลาที่ผ่านไป LDL ก็จะยิ่งฝังตัวมากขึ้นๆ จนทำให้เส้นเลือดมีการตีบมาก (มากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของขนาดเส้นเลือด) จนทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกหรือวันไม่ดีคืนไม่ดีตรงบริเวณที่ไขมัน ฝังตัวนั้นเกิดปริแตกกระตุ้นให้เกล็ดเลือดมาเกาะกลายเป็นลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดหัวใจของเราได้ ทำให้ เกิดอาการเจ็บหน้าอกอย่างเฉียบพลันและรุนแรง ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจในส่วนนั้นตายไป การดูแลหลังจากที่เส้นเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันไปแล้วนั้น จะเป็นการรักษาและการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แต่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะไม่สามารถทำงานได้อย่างปรกติเช่นเดิม และชีวิตเริ่มแปรเปลี่ยนไป สิ่งที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจแทน ก่อนอื่นเราควรรู้ว่าอะไรคือปัจจัยให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้บ้าง ได้แก่ไขมันในเลือดสูง, การสูบบุหรี่, ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, การไม่ออกกำลังกาย, โรคอ้วน และความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ สามารถแก้ไขได้ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่ การมีประวัติครอบครัวของโรคเส้นเลือดหัวใจ, อายุ ที่มากขึ้น, ผู้ชาย และหญิงวัยหมดประจำเดือน ไขมันในเลือดสูง ไขมันที่สูงเกินปรกติมีหลายชนิดที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ แต่ที่สนใจกันมากที่ สุดคือคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ สำหรับคอเลสเตอรอลนั้นมีหลักฐานชัดเจนว่า ในกลุ่มที่มีคอเลส เตอรอลสูง จะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้บ่อยกว่าในกลุ่มคอเลสเตอรอลปรกติ และการลดคอเลสเตอรอลลง เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ลดคอเลสเตอรอล พบว่ากลุ่มที่ลดคอเลสเตอรอลเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าอย่างชัดเจน การลดคอเลสเตอรอล ต้องเริ่มจากการควบคุมอาหารไขมันให้น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทั้งหมด และปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารต้องน้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน ถ้าหากว่าควบคุมด้วยอาหารแล้วยัง ไม่เพียงพอก็ควรรับประทานยาลดคอเลสเตอรอล น่าจะเลือกยาที่มีคุณภาพดีราคาถูก เพราะต้องรับ ประทานยาเหล่านี้ไปตลอด ปัจจุบันมียาลดไขมันคอเลสเตอรอลให้เลือกใช้มากมาย ส่วนไขมันไตรกลีเซอไรด์นั้น ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าก่อให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบโดยตรง แต่มี แนวโน้มว่าจะทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบได้ การรักษาโดยการควบคุมน้ำหนัก งดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือคอเลสเตอรอล , หยุดสูบบุหรี่ , ออกกำลังกาย เพราะในบางครั้งการงดเหล้าก็จะช่วยได้ ถ้าหาก ควบคุมด้วยวิธีดังกล่าวแล้วยังไม่ได้ผลดี อาจจำเป็นต้องใช้ยาลดไขมัน ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วม ด้วยหลายอย่างหรือระดับไขมันสูงมาก การสูบบุหรี่ บุหรี่เปรียบได้กับตัวเร่งให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ พบว่าผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจมีผลมาจาก บุหรี่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่สูบบุหรี่ พบว่าผู้สูบบุหรี่เกิดโรคหัวใจเป็น 3 เท่าของผู้ไม่ สูบบุหรี่ และเสียชีวิตจากโรคหัวใจถึง 2 เท่าของผู้ไม่สูบบุหรี่ บุหรี่มีผลต่อเส้นเลือดหัวใจได้หลายอย่าง สามารถกระตุ้นให้เส้นเลือดหัวใจหดตัว ทำให้ไขมันในเลือดผิดปรกติ และยังมีผลต่อระบบการแข็งตัว ของเลือดอีก ในผู้ป่วยโรคหัวใจที่ผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจไปแล้วหากยังคงสูบบุหรี่อยู่จะพบว่าเส้นเลือดที่ ผ่าตัดนั้นกลับมาตีบใหม่ในระยะเวลาไม่นาน จึงต้องห้ามผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจว่าให้หยุดบุหรี่เด็ดขาด เมื่อหยุดบุหรี่ปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่จะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ จนใกล้เคียงผู้ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นสำหรับผู้ ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ต้องดมควันบุหรี่เสมอๆ ก็มีโอกาสเสี่ยงได้เช่นเดียวกับผู้ที่สูบบุหรี่โดยตรง ความดันโลหิตสูง โดยความเป็นจริงแล้วการรักษาความดันโลหิตสูงก็คือ การป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะ เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อัมพาต และโรคหัวใจในผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิต ตัวล่างประมาณ 105 มิลลิเมตรปรอท) เมื่อเฝ้าดูไป 10 ปี พบว่าเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือ ถึงแก่กรรมจากโรคหัวใจถึง 6 เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปรกติ (ความดันโลหิตตัวล่างประมาณ 76 มิลลิเมตรปรอท) และพบว่าการรักษาความดันโลหิตสูงด้วยยาลดความดันสามารถที่จะลดการเกิดโรค เส้นเลือดหัวใจได้จริง ยิ่งความดันโลหิตก่อนรักษาสูงมาก ผลดีที่ได้จากการรักษาจะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย ควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน งดอาหารเค็ม และ รับประทานยาสม่ำเสมอ โรคเบาหวาน โรคหัวใจนับว่าเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน บางครั้งแล้วผู้ป่วยเบาหวาน อาจไม่มีอาการเจ็บหน้ากอกเลย แต่อาจเป็นอาการเหนื่อยง่ายผิดปรกติแทน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานในเมือง ไทยมักเป็นผู้ที่ดูแลรักษาสม่ำเสมอ อาจเนื่องมาจากมองเห็นผลเสียของการไม่ดูแลรักษาชัดเจนต่างจาก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมากทีเดียว อย่างไรก็ตามโรคเบาหวานไม่ควรรักษาด้วยตนเองโดยไม่ไปพบ แพทย์ เพราะว่าระดับน้ำตาลในเลือดนั้นอาจแปรเปลี่ยนไปได้ ควรมีการควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีตลอด เวลา เพราะการควบคุมเบาหวานที่ไม่ดีพออาจจะไม่ต่างจากการไม่ควบคุมเลยก็ได้ การไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกายโดยเฉพาะต่อหัวใจ เราพบว่ามีผู้ป่วยเป็น โรคหัวใจถึง 2 เท่าในผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย และเกิดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ออกกำลังกาย สม่ำเสมอถึง 27 เปอร์เซ็นต์ การออกกำลังกายที่ดี คือ การออกกำลังกายชนิด aerobic exercise เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน การเต้นแอโรบิค เป็นต้น ขณะออกกำลังกายหัวใจควรเต้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราเต้นสูงสุด (0.7 x (220 – อายุ)) หรือประมาณได้ว่า รู้สึกเหนื่อยเล็กน้อย ครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกายที่มีผลดีต่อหัวใจมากที่สุด หากว่าไม่สามารถออกกำลังกายได้ตามที่กล่าว การออกกำลังกายบ้างก็ได้ประโยชน์ต่อร่างกายกว่าการไม่ออกกำลังกายเลย โรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน 20 เปอร์เซ็นต์ จัดว่าเป็นโรคอ้วน (obesity) ส่วนผู้ที่น้ำหนักเกิน มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จัดว่าเป็นโรคอ้วนอันตราย (morbid obesity) ซึ่งจะพบว่ามีโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้หลายอย่างโดยเฉพาะโรคหัวใจ คนอ้วนจะเป็นโรคหัวใจได้บ่อยกว่าคนไม่อ้วนถึง 2 เท่า และมีโรคแทรก ซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกรน โรคข้อ