เป็นกลุ่มอาการทางสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน อาการจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ อาการของ Computer Vision Syndrome ได้แก่ อาการเมื่อยล้าปวดตาเคืองตา ตาแห้ง น้ำตาไหล ตามัว เห็นภาพซ้อน ปวดคอ หลังและไหล่ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะมีสาเหตุมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงไม่เพียงพอ แสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ระยะห่างระหว่างตาและคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม ท่านั่งไม่เหมาะสม ค่าสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้นหรือยาวที่ไม่ได้รับการแก้ไข หรือมาจากหลายๆสาเหตุร่วมกัน
ลักษณะของแว่นตาที่เหมาะกับการใช้คอมพิวเตอร์
แว่นสำหรับคอมพิวเตอร์ ควรมีระยะที่เห็นชัดที่ 18-28 นิ้วฟุต ซึ่งเราเรียกว่า Intermediate viewing distance ในขณะที่แว่นอ่านหนังสือ จะมีระยะที่เห็นชัดอยู่ที่ระยะ 16-18 นิ้วฟุตจากตา
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางท่านอาจจะไม่ต้องใช้แว่นในชีวิตประจำวันอย่างอื่น แต่บางครั้งการใช้แว่นในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ทำให้มองเห็นชัดและทำงานสบายตาขึ้น และบางครั้งแว่นที่ใช้อยู่ประจำ
อาจไม่ได้เป็นแว่นที่เหมาะสมที่สุดในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจักษุแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำในเรื่องนี้ได้
- Ultraviolet coating ถ้าในห้องทำงานมีแสงฟลูออเรสเซนส์ ซึ่งให้แสงสีฟ้าจำนวนมาก ซึ่งมีความกระจัดกระจายสูง การใช้ ultraviolet coating จะตัดแสงสีฟ้าที่เข้าตา
- Lens tint จะลดความสว่างและสีบางสีที่เข้าสู่ตา การย้อมสีนี้ทำให้สบายตาขึ้น
- Anti-Reflective coating บนเลนส์จะลดจำนวนแสงจ้าและแสงสะท้อนจากเลนส์ที่จะเข้าสู่ตา
- ในรายที่มีกล้ามเนื้อตาผิดปกติ การใส่ปริซึมในแว่นตาจะทำให้ใช้ตาสบายขึ้น
จอคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม
1. Resolution หมายถึงความหนาแน่นของพิกเซล ถ้ามีความหนาแน่นของพิกเซลสูง จะมีความละเอียดมากกว่า โดยทั่วไปความหนาแน่นของพิกเซลสูงจะดีกว่า แต่ต้องดูที่ refresh rate ด้วย เพราะถ้ามี resolution สูง แต่ refresh rate ไม่สูงพอ ภาพก็อาจจะไม่ดีได้ ข้อดีของ resolution คือ จะทำให้ทำงานได้สบายตากว่า แต่ข้อเสียคือ ภาพและข้อความจะมีขนาดเล็กลง
2. Refresh Rate หมายถึงอัตราการกระพริบของจอภาพ จอที่มีค่า refresh rate ต่ำทำให้ตาต้องทำงานมาก เพราะภาพที่ได้จะมีการสั่นและกระพริบ ความถี่ที่เหมาะสมคือ 70 Hz (hertz) หรือมากกว่า
3. Dot pitch คือระยะห่างระหว่างรูของช่องโลหะ มีผลต่อความคมชัด จอคอมพิวเตอร์ปกติมีค่า 0.25 – 0.28 มม. ค่าต่ำแสดงว่ามีความคมชัดมาก ฉะนั้นค่าที่ดีคือ 0.28 มม. หรือต่ำกว่า
4. จอแบน มีการบิดเบือนของภาพน้อยกว่าจอโค้ง นอกจากนี้ยังสามารถลดแสงสะท้อนจากหน้าจอได้ดีกว่า 5. ควรปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีความสว่างเท่ากับสภาวะแวดล้อม ส่วน contrast ควรปรับให้สูงเพื่อให้โฟกัสง่ายขึ้น แสงสะท้อนจากคอมพิวเตอร์ทำให้ contrast ลดลงได้ทำให้การมองเห็นไม่สบายตา แนะนำให้ใช้อักษรดำบนพื้นขาวซึ่งจะให้ contrast ที่ดีกว่า ขนาดตัวอักษรควรเป็น 3 เท่าของตัวอักษรเล็กสุดเท่าที่เราเห็นได้ เราสามารถทดสอบโดยเดินห่างออกไป 3 เท่าของระยะทางที่เราใช้งานอยู่ ถ้ายังคงเห้นตัวอักษรบนจอได้อยู่แสดงว่าเป็นขนาดที่เหมาะสมแล้ว
สำหรับจอ LCD ข้อดีคือ ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดพื้นที่ทำงาน ให้การแสดงผลที่ดี และไม่มีปัญหาเรื่องของสนามแม่เหล็กและการแผ่รังสี
สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
การปรับสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ให้เหมาะสมกับการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์จะช่วยให้ทำงานได้สะดวกสบายขึ้น และลดภาวะ Computer Vision Syndrome ได้ อันได้แก่
- ตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ การมองจอคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม ควรจะมองลงล่าง 15-20 องศา จออยู่ห่างจากตา 20-28 นิ้ว
- เอกสารหรือหนังสือที่ใช้ร่วมกับการทำงานกับคอมพิวเตอร์ เอกสารควรอยู่ใต้คอมพิวเตอร์และอยู่เหนือคีย์บอร์ด และไม่ควรอยู่ห่างจากจอคอทพิวเตอร์มากนัก เพื่อเวลาทำงาน ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์จะได้ไม่ต้องหันหน้าไปมาระหว่างจอคอมพิวเตอร์และเอกสาร
- แสงไฟ จัดตำแหน่งหน้าจอเพื่อหลักเลี่ยงแสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะจากไฟในห้องหรือนหน้าต่าง สามารถใช้ผ้าม่านช่วยลดแสงสะท้อนได้
- แสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ฟิล์มลดแสงสะท้อนที่จอคอมพิวเตอร์จะช่วยให้ทำงานได้สบายตามากขึ้น
- ท่านั่งที่เหมาะสม เก้าอี้ควรนั่งสบายและนุ่ม ความสูงของเก้าอี้ควรสูงพอดีที่เท้าสามารถวางราบกับพื้นได้ เก้าอี้ควรมีที่วางแขนเพื่อพยุงไว้ขณะพิมพ์ ไม่ควรวางข้อมือบนคีย์บอร์ดเพราะจะทำให้เมื่อยง่าย
- การพักสายตา ควรพักสายตา 15 นาที เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันสองชั่วโมง และเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ครบ 20 นาที ควรมองไกลเพื่อพักสายตา และช่วยปรับโฟกัสเป็นเวลา 20 นาที
- กะพริบตา เพื่อลดภาวะตาแห้ง ควรกะพริบตาบ่อยๆ เพื่อช่วยให้มีน้ำตาหล่อลื่น
การตรวจตากับจักษุแพทย์สม่ำเสมอและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมจะช่วยลดภาวะ Computer Vision Syndrome ได้