คือการส่องกล้องตรวจเยื่อบุคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็น Fiber Optic ทีปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพ อีกด้านหนึ่งเป็นส่วนควบคุมซึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง แล้วส่งภาพมาปรากฏบนจอโทรทัศน์ โดยสอดกล้องเข้าไปทางปาก
ควรส่องกล้องเมื่อใด
- อาเจียนเป็นเลือด
- อาการปวดท้อง
- เสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่
-
-
ประโยชน์ของการส่องกล้อง
- ตรวจหาความผิดปกติหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
- ตรวจหามะเร็งขั้นต้นของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยตัดชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์
- ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย H.Pylori (เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งกระเพาะอาหาร
- ติดตามผลการรักษาแผลในกระเพาะอาหารว่าเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้าย โดยการตัดชิ้นเนื้อซ้ำในตำแหน่งเดิม
- กรณีพบจุดเลือดออก สามารถฉีดยา ใช้กระแสไฟฟ้าจี้ หรือใช้ Hemoclip หนีบห้ามเลือด
- กรณีที่มีเส้นเลือดดำโป่งพองหรือแตกที่ส่วนปลายหลอดอาหาร ซึ่งพบในผู้ป่วยตับแข็ง สามารถห้ามเลือดโดยการรัดเส้นเลือดดำโป่งพองหรือแตกนี้ได้
- ใช้คีบ ก้างปลา กระดูกเป็ด ไก่ หรือสิ่งแปลปลอมที่ติดค้างในคอและหลอดอาหารออก
- สามารถขยายตำแหน่งที่มีการตีบตันของทางเดินอาหาร เช่น การตีบตันเนื่องมาจากมะเร็งของหลอดอาหาร หรือผลข้างเคียงจากการกลืนกรดหรือด่าง
-
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
- ก่อนตรวจ 1 วัน ควรละเว้นอาหารที่ระคายเคืองกระเพาะ เช่น อาหารรสจัด สุรา กาแฟ
- งดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดก่อนตรวจ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- ภายหลังการตรวจ อาจมีการระคายเคืองและอาจมีเสมหะปนเลือดเล็กน้อย
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนไม่ลง ปวดบวมบริเวณลำคอ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้สูง ควรรีบมาพบแพทย์