เมื่อคนอายุมากขึ้นโรคที่เกิดจากหัวใจและหลอดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น
โดยสามารถจะแบ่งเป็นกลุ่มดังนี้
1. เกิดจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งทำให้เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน และกล้ามเนื้อ
หัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาโป่งพอง (Aortic Aneurysm)
2. โรคความดันโลหิตสูง ในคนที่อายุเกิน 65 ปี อาจพบว่าความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท ถึง 50%
3. การทำงานของหัวใจล้มเหลว (Congestive heart farilure) ซึ่งมีสาเหตุหลายอย่าง ทำให้เกิดอาการ
เหนื่อยง่าย
4. โรคของลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โดยเฉพาะลิ้นหัวใจเอออร์ตา เนื่องจากมีการเสื่อมของลิ้นหัวใจและมีแคลเซียม
มาจับ
5. โรคหัวใจเนื่องจากการเต้นที่ผิดจังหวะ
คนไข้บางคนอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลย เช่น โรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการผิดปกติเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ในคนไข้ที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลงไม่มาก อาจไม่มีอาการเหนื่อยง่ายเนื่องจากคนสูงอายุไม่ได้
ทำงานหนัก
การตรวจเช็กหัวใจจึงมีความจำเป็น และการตรวจพื้นฐานจะประกอบด้วย
1. การตรวจร่างกายระบบหัวใจ และการวัดความดันโลหิต
2. ตรวจเลือดดูภาวะไขมันในเลือดสูงและเบาหวาน
3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (E.K.G.) และเอกซเรย์ปอดดูขนาดหัวใจ
ส่วนในคนที่สงสัยว่าจะมีโรคหัวใจจะสามารถตรวจพิเศษ ดังนี้
1. การวิ่งทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test) เพื่อดูการทำงานของหัวใจ และดูว่ามีกล้าม
เนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่เวลาออกกำลัง
2. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) จะสามารถดูขนาดของหัวใจ ความหนาของ
กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจทั้ง 4 ลิ้นว่ามีมีลิ้นตีบหรือรั่วหรือไม่ ดูการบีบตัวของหัวใจ
3. การบันทึกการเต้นหัวใจ 24 ชั่วโมง (24 hours holter monitoring) ในกรณีที่สงสัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หรือสงสัยว่าอาการเป็นลมหมดสติเกิดจากหัวใจเต้นช้ามาก นอกจากนี้ยังสามารถดูการขาดเลือดของกล้ามเนื้อ
หัวใจระหว่างที่ติดเครื่องไว้
การตรวจโดยวิธีพิเศษนี้ แต่ละวิธีจะมีข้อดีข้อต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ