อายุที่มากขึ้น มักเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อตามมาด้วย หนึ่งโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คือ กระดูกทับเส้นเอ็นหัวไหล่ เกิดจากการเสียดสีระหว่างเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่ กับปลายกระดูกสะบัก จึงทำให้เกิดอาการปวดที่ไหล่ เป็นๆ หายๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะยกแขนขึ้นสูงหรือกางแขน
โดยปกติแล้ว เวลาที่เรายกไหล่ขึ้น เส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่ที่อยู่ตำแหน่งบนสุดจะต้องมีการเคลื่อนตัวผ่านใต้กระดูกสะบักได้อย่างราบรื่นโดยไม่สะดุด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ช่องว่างใต้กระดูกสะบักจะแคบกว่าปกติ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปลายกระดูกสะบักลักษณะที่มีการหนาตัวหรือมีความโค้งมากกว่าปกติ หรือมีกระดูกงอกจากใต้กระดูกสะบัก หรือบริเวณข้อต่อเสื่อมที่เสื่อมของกระดูกสะบักและไหปลาร้า พบได้ในเป็นต้น ช่องใต้กระดูกสะบักที่แคบลงนี้ จะมีผลทำให้เส้นเอ็นเสียดสีกับกระดูกขณะใช้งานโดยอย่างยิ่งในขณะยกแขนขึ้นเหนือศีรษะหรือเอามือไขว้หลังผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บมาก เส้นเอ็นอักเสบและบวมขึ้น หรือเกิดการเสื่อมสภาพและฉีกขาดในเวลาต่อมาได้
อาการและอาการแสดง
ช่วงแรกผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณไหล่โดยเฉพาะด้านหน้าและด้านข้างของหัวไหล่ อาจร้าวลงไปถึงข้อศอกได้ อาการปวดเป็นมากขึ้นเวลายกแขนขึ้นด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนมากจะมีประวัติปวดไหล่เวลากลางคืน จะปวดมากเวลานอนตะแคงทับแขนข้างที่มีอาการ ในระยะที่รุนแรงมากจะพบเส้นเอ็นฉีกขาดร่วมด้วย ทำให้แขนอ่อนแรงขณะที่กางไหล่ ยกไหล่ขึ้นได้อย่างลำบากหรือไม่ได้
การวินิจฉัย
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจพิเศษต่างๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย เช่นX-ray ใช้ดูลักษณะของกระดูกในข้อไหล่ ว่ามีปลายกระดูกสะบักความผิดปกติ หรือ มีกระดูกงอกจากโรคข้อเสื่อม หรือไม่
Impingement test ทำโดยการฉีดชาอาจจะร่วมกับสเตียรอยด์เข้าในบริเวณช่องใต้กระดูกสะบักเหนือเส้นเอ็น มีประโยชน์ช่วยลดการอักเสบและยังช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ด้วยถ้าอาการปวดลดลงทันทีหลังจากฉีดยา
MRI ใช้เพื่อช่วยการวินิจฉัยภาวะเสื่อมหรือขาดของเส้นเอ็นไหล่ได้ นอกจากนี้ยังสามารถให้รายละเอียดของกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อรอบไหล่ได้ดี
การรักษา
การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ในระยะเริ่มต้น และไม่มีอาการของข้อไหล่ฉีกขาดร่วมด้วย โดยจะใช้วิธีทานยา ฉีดยา หรือทำกายภาพบำบัด ร่วมกับลดกิจกรรมที่กระทำต่อข้อไหล่ ออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะกล้ามเนื้อฝ่อตัวจากการไม่ได้ใช้งาน บางรายใช้เวลาในการรักษาไม่นาน บางรายรักษาไม่หายทนทรมารต่อความเจ็บปวด หากทำทุกวิธีแล้วยังไม่ดีขึ้นอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด
การรักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ ร่วมกับมีปัญหาเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อข้างเคียง เสียเลือดน้อย โอกาสติดเชื้อหลังผ่าตัดต่ำ และการ ผ่าตัดผ่านกล้องยังสามารถกรอกระดูกที่งอกกดทับเอ็นข้อไหล่ ผ่าตัดแต่งเนื้อเอ็นที่ขาดให้เรียบ และเย็บซ่อมเอ็นหุ้มข้อไหล่ที่ฉีกขาดได้ด้วย รักษาตัวในโรงพยาบาลไม่นาน ฟื้นตัวไว ข้อไหล่กลับมาเคลื่อนไหวได้อิสระ