Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ไขข้อสงสัย โรคภูมิแพ้ลำไส้ตัวเอง ที่เรียกว่า IBD ทำไมต้องทรมาน และ ลาออก

นพ.ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 3 กันยายน 2020

Inflammatory Bowel Disease (IBD) เป็นกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถจำแนกโรคออกได้ 2 โรค คือ Ulcerative Colitis (UC) และ Crohn’s disease

จากกรณี นายกญี่ปุ่น Prime Minister Shinzo Abe พอทราบข่าวว่า โรค Ulcerative colitis แล้ว ทำไมต้องลาออกด้วย ก็ทำให้นึกถึงคนไข้ สองถึงสามคน ที่เคยรักษายาก ๆ และ หายดีกันไปหมดแล้ว เรามารู้จักโรคนี้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

ทำไมไม่เคยได้ยินโรคนี้มาก่อน เรียกภาษาไทยว่าอย่างไร

โรคภูมิแพ้ลำไส้ตัวเอง ที่เรียกว่า Inflammatory bowel disease (IBD.) แบ่งเป็น

  1. โรคที่มีลักษณะแพ้ ไล่จากก้นขึ้นไป ลักษณะเป็นการอักเสบแบบตื้น ๆ คือ Ulcerative colitis ชื่อก็บอกแล้วว่า เป็นอักเสบไม่ใช่แค่แดง แต่เป็นแผลตื้น ๆ คล้ายถลอกยาว ๆ เลย โรคภูมิแพ้ลำไส้อันนี้เป็นโรคที่ท่านนายก อาเบะ เป็นครับ

  2. บางคนเป็นแพ้อีกอันหนึ่ง คือ Crohn’s disease ซึ่งตั้งชื่อให้ตามหมอที่ค้นพบ (คุณหมอ Burrill Bernard Crohn) การอักเสบแบบนี้ จะอักเสบเป็นหย่อม แบบไม่แน่นอนเกิดที่ใดก็ได้ และ ลึกกว่า

  • ความที่กลุ่มโรคนี้ไม่ค่อยพบในคนไทย จึงไม่มีชื่อภาษาไทย และ เรา ๆ ก็ไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินกัน เพราะโรคกลุ่มนี้เป็นกันในคนทางยุโรปและอเมริกามากกว่า

  • ความจริงมีข้อตลก ๆ คนยุโรปก็มีคนแพ้แป้งขนมปัง (Gluten พบในขนมปัง พาสต้า และ แคล๊กเกอร์) ด้วย เอ๋า แต่แทบไม่พบในคนไทย เรียกว่าโรค Celiac sprue

  • ขณะที่คนไทยบางคนแพ้ข้าวกล้อง !!!

  • เรียกว่าหมอไทยรักษาคนยุโรปโรคพวกนี้จะงง งง หน่อย ขณะที่หมอที่เก่งมาจากต่างประเทศมารักษาคนไทย ก็อาจพลาดได้ง่าย เพราะโรคคนละกลุ่มกันเลย

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้ แล้วมันทรมานจนต้องลาออกจากนายก เชียวหรือ

ขอพูดเฉพาะ ulcerative colitis ของท่านนายก อาเบะนะครับ เนื่องจากการอักเสบ จะลามตั้งแต่ขอบก้น ไปจนลำไส้สูงขึ้นไป คนป่วยจะมาด้วยปัญหาที่ทรมานหลายอย่าง

  1. อาการปวดหน่วงถ่าย อยากถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก
  2. อาการกลั้นถ่ายไม่อยู่
  3. อาการปวดบีบบิด
  4. อาการถ่ายเป็นเลือดสด
  5. อาการถ่ายเป็นมูก และ ท้องเสีย
  6. อาการไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย
  7. ไปยัน อาการนั่งไม่ได้เพราะปวดก้น

แค่ 7 ข้อนี้ก็ประชุมกันไม่ไหว เดินไปไหนทรมานสุด ๆ แล้ว ต่อนะครับ ความที่โรคนี้อักเสบแบบภูมิแพ้ลำไส้ตัวเอง จึงต้องใช้ยากดภูมิต้านทาน

  1. ยากลุ่มนี้บางตัว จะทำให้กระดูกอาจบาง อาจมีปวดกระดูก ถ้าไม่ออกกำลังกายไม่กินแคลเซี่ยมเม็ดทุกวัน ก็จะทำให้กระดูกหัก กระดูกทรุดไม่รู้ตัว นายก ญี่ปุ่นคงไม่สามารถออกกำลังกายทุกวันได้
  2. ติดเชื้อง่าย ต้องระวังคนและคนรอบข้าง หวาดผวาคนที่ติดเชื้อ ใครไอบ่อย ๆ เดินเข้ามา ก็กลัวติดเชื้อ ทำงานแบบนี้ก็ไม่สนุก และ ไม่สง่าครับ ต้องระวังอาหารที่ไม่สุกร้อนสะอาด ไปตรวจงาน ประชุมไปกินที่ไหนก็ต้องระวังไปหมด
  3. บางรายต้องสวนยาเข้าก้นเพื่อรักษา ทุก 4 – 24 ชั่วโมง แล้วแต่ความรุนแรง แล้วจะสวนกันอย่างไร ถ้าไม่ใช่ที่บ้านของตัวเอง
  4. ยารักษาดังกล่าวยังอาจมีผลต่อไต จึงต้องดื่มน้ำมาก ๆ เข้าไว้ ทำให้ต้องเข้าห้องน้ำปัสสาวะบ่อย ๆ เสียจริตของท่านผู้นำ

ถามว่าทำไมโรคมันวุ่นวาย และ ทรมานอย่างนี้ อ่ะ ๆ ไม่ครับ ไม่ขนาดนั้น อันนี้คือผมไล่อาการให้ครบ ๆ เท่านั้น บางคนเป็นน้อย ๆ อย่างสองอย่าง ความรุนแรง และ อาการ แต่ละคนไม่เหมือนกันครับ

โรคทำไมมันโหดอย่างนี้ รักษายังไง รักษาไม่หายเหรอ

โรคนี้จะรักษาแบบลงบันได คือใช้ยาเยอะ ๆ ช่วงแรกสองถึงสามอย่างพร้อมกันในครั้งแรกที่เจอ คือ

  • ให้ยาป้องกันติดเชื้อ ให้ยาสวนลดการอักเสบ และ เคลือบด้วยแป้งน้ำทางการแพทย์ ยากินที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ บางคนต้องใช้แบคทีเรียที่ดีมาช่วย ที่เรียกว่า Probiotic
  • และ เมื่อหายดีก็เหลือแค่ยาเหน็บก้น วันละครั้งถึงสองครั้ง เพราะ โรคนี้เริ่มจากรูก้น เมื่อรูก้นหาย การอักเสบด้านบน ๆ ก็จะลดลงตามมาจนหายขาดครับ

แล้วทำไมรักษาง่ายอย่างนั้นทำไมถึง ต้องลาออกด้วย

เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคภูมิต้านทาน การติดเชื้อบ่อย ๆ แม้แค่หวัด ท้องเสีย ติดเชื้อปัสสาวะ หรือ โดนแสงแดด โดนฝุ่น สารเคมี ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้โรคกำเริบ ทำให้รักษายากขึ้น และ ไม่แน่นอนครับ การกินอาหารกลุ่มที่มีลมมาก ๆ มีการหมักของเชื้อในลำไส้ ก็ทำให้โรคนี้กำเริบได้

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย

นพ.ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา