Healthkathon Story :
ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ได้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจโรงพยาบาลหลากหลายรูปแบบ ประจวบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ก็มีส่วนสำคัญในการเร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการดูแลและรักษาสุขภาพมากขึ้น
เพื่อก้าวให้ทันโลกที่หมุนไว โรงพยาบาลพระรามเก้า จึงได้ร่วมกับ InVent by Intouch Holdings เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ค้นหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาระบบสาธารณสุขและวงการแพทย์ของไทยให้ก้าวไกลไปข้างหน้า เป็นที่มาของการจัดการแข่งขัน Virtual Healthkathon 2021 เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดไอเดียการพัฒนาสินค้า/บริการ พร้อมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดวัฒนธรรมการคิดอย่างสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมในโรงพยาบาลอีกด้วย
Virtual Healthkathon 2021 พร้อมเปิดพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจทางด้าน Data science และ Artificial Intelligence สมัครเข้ามาร่วมค้นหาแนวคิด เสนอไอเดียด้านการแพทย์และสุขภาพ ภายใต้หัวข้อ “Virtual Hospital” โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Deep tech มาช่วยแก้ปัญหา และสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ จากชุดข้อมูล Health and Medical โดยมีโจทย์การแข่งขัน 2 โจทย์ได้แก่
โจทย์แรก คือ “ทำนายว่าผู้ป่วยที่ได้รับบริการผ่าน Telemedicine ควรจะเข้ามารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลหรือไม่” และ
โจทย์ที่สอง คือ “ผู้เข้าแข่งขันเสนอแนวทางการแก้ปัญหา หรือ ไอเดียใหม่ๆ โดยต้องพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมได้จริง”
โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขัน นำเสนอไอเดียได้แบบอิสระภายใต้ชุดข้อมูลที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ และสามารถใช้ชุดข้อมูลภายนอกอื่นๆ เพิ่มเติมได้ โดยการแข่งขันจะอยู่ในรูปแบบออนไลน์ 48 ชั่วโมง
Target :
- ผู้ที่สนใจทางด้าน Data science และ Artificial Intelligence
- ผู้ที่สนใจสร้างธุรกิจ Startup ด้าน Health tech
Format : การแข่งขันแบ่งเป็น 3 รอบ
- รอบคัดเลือก เป็นการแข่งขัน Hackathon ภายในเวลา 48 ชั่วโมง
การตัดสินแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยจะนำคะแนนทั้ง 2 ส่วนมารวมกันเพื่อคัดเลือกเข้าสู่รอบ 10 ทีม
ส่วนที่ 1 แข่งผ่าน Kaggle platform โจทย์คือ “ทำนายว่าผู้ป่วยที่ได้รับบริการผ่าน Telemedicine ควรจะเข้ามารับการรักษาต่อที่
โรงพยาบาลหรือไม่” (วัดความสามารถด้าน Data science และทักษะการเขียนโปรแกรม)
ส่วนที่ 2 เขียน Report นำเสนอไอเดียใหม่ๆได้อย่างอิสระ ภายใต้หัวข้อ Virtual Hospital ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลหรือโมเดลจาก
ส่วนที่ 1 ได้ และสามารถใช้ข้อมูลภายนอกอื่นๆเพิ่มเติมได้
เกณฑ์การพิจารณาให้คะแนน
– Data understanding and Analytic (20%)
– Idea and potential (25%)
– Impact (10%)
– implementation (25%)
– business model (10%)
– Uniqueness for Praram 9 Hospital (10%) ความสอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลพระรามเก้า
การตัดสินเพื่อเข้ารอบชิงชนะเลิศ จะคัดจาก 20 ทีมแรกที่ได้อันดับสูงสุดจาก Kaggle Platform เพื่อนำ Report ของทั้ง 20 ทีมนั้นมาพิจารณาตามเกณฑ์ คัดให้เหลือ 10 ทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ โดยมีสัดส่วนการให้คะแนน Kaggle 30% + Report 70% - รอบชิงชนะเลิศ เป็นการ Pitching 10 ทีม
10 ทีมสุดท้ายจะทำการ Online Pitching โดยการสัมภาษณ์และตอบคำถามคณะกรรมการ ให้เวลาทีมละ 20 นาที โดยในรอบนี้จะถูกคัดให้เหลือ 3 ทีมสุดท้าย - รอบตัดสิน เป็น Demo day 3 ทีมสุดท้าย
พัฒนา Prototype มานำเสนอ โดยมีระยะเวลาในการพัฒนา 2 อาทิตย์ นับจากจบวันแข่งรอบชิงชนะเลิศ
Qualification :
- ไม่จำกัดอายุ และอาชีพ
- สัญชาติไทย
- สามารถร่วมแข่งขันแบบบุคคล หรือทีมละไม่เกิน 5 คน
Timeline :
เปิดรับสมัคร : วันนี้ – ถึง 8 สิงหาคม 2564
ประกาศรายชื่อทีมที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน 9 สิงหาคม 2564
กำหนดการแข่งขันอื่นๆตามรายละเอียดด้านล่างนี้
ผู้เข้าแข่งขันร่วมทดสอบระบบ Kaggle: 10-11 สิงหาคม 2564
แข่งขันรอบคัดเลือก : 13-15 สิงหาคม 2564
ประกาศผล 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ: 19 สิงหาคม 2564
แข่งขันรอบชิงชนะเลิศ Pitching 10 ทีม : 21-22 สิงหาคม 2564
ประกาศผล 3 ทีมสุดท้าย : –
รอบตัดสิน Demo Day : –
Rewards :
- รางวัลชนะเลิศ : เงินสด 100,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอับดับ 1 : คูปองโปรแกรม Ice Lab มูลค่า 30,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอับดับ 2 : คูปองโปรแกรม Ice Lab มูลค่า 20,000 บาท
- ใบประกาศนียบัตร สำหรับ 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ
- โอกาสที่จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษในการเข้าร่วมโปรแกรม InVent Builder