Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 3 กุมภาพันธ์ 2022
Stroke123

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือที่เรียกกันว่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่อันตรายและฉุกเฉินพบได้ทั้งในวัยสูงอายุและวัยทำงาน ซึ่งทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้  ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคหลอดเลือดสมองอย่างถูกต้อง โดยแพทย์เฉพาะทางระบบประสาท จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้

การรักษาและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ นับเป็นการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืน และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาว

ศึกษาอาการและสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มเติมที่ https://www.praram9.com/stroke-symptoms/

New call-to-action

สารบัญ

  • โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)  ตรวจวินิจฉัยอย่างไร?
  • โรคหลอดเลือดสมอง รักษาหายได้หรือไม่?
  • การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
  • สรุป
การรักษา stroke

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและเร่งด่วนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการวางแผนการรักษาอย่างแม่นยำและทันเวลา ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาภายใน “4 ชั่วโมงครึ่ง” เพื่อรักษาให้เนื้อเยื่อสมองกลับมาทำงานได้อย่างปกติ เมื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองถูกนำตัวมาที่โรงพยาบาลจะมีแนวทางในการตรวจวินิจฉัย คือ

ซักประวัติและอาการของผู้ป่วย

แพทย์จำเป็นจะต้องซักประวัติอาการของผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล โดยหากผู้ป่วยไม่สามารถให้ประวัติเองได้ แพทย์จำเป็นที่จะต้องซักประวัติจากญาติหรือผู้ที่เห็นเหตุการณ์ ดังนี้

  • เวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ หรือเวลาที่เห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งล่าสุด ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมีอาการหลังตื่นนอน โดยมีญาติเห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งสุดท้ายตอนก่อนนอน 
  • ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือไม่
  • ยาที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ
  • ประวัติครอบครัวของผู้ป่วย

ตรวจร่างกายของผู้ป่วย

แพทย์จะตรวจสัญญาณชีพ ได้แก่ วัดความดัน ชีพจร การหายใจ และอุณหภูมิของร่างกาย ตรวจหัวใจ และตรวจการตอบสนองของระบบประสาทโดยละเอียด ได้แก่ การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกสัมผัสของร่างกาย การพูดและความเข้าใจ การฟังตามคำสั่ง การเดิน เป็นต้น

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ผู้ป่วยที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมองต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อแยกออกจากภาวะอื่น ๆ รวมถึงเป็นการตรวจหาสาเหตุ เพื่อการพิจารณาการให้ยา และเพื่อการป้องกันการเป็นซ้ำในครั้งต่อไป

  1. การตรวจเลือด (blood test): เพื่อแยกโรคหลอดเลือดสมอง ออกจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ภาวะการทำงานของตับหรือไตที่ผิดปกติ 
  2. การตรวจเอกซเรย์ปอด (chest x-ray): เพื่อดูภาวะความผิดปกติของหัวใจและปอด
  3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography; EKG): เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง อาจจะพบร่วมกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ และลิ่มเลือดจากหัวใจนี้สามารถหลุดไปที่สมอง และทำให้เกิดสมองขาดเลือด หรือ stroke ได้
  4. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan): มีข้อดี คือ ใช้เวลาน้อย และสามารถตรวจวินิจฉัยโรคในกลุ่มที่มีภาวะเลือดออกในสมอง และประเมินการแตกของกระโหลกศีรษะได้ดี แต่ข้อเสียคือ ความละเอียดของภาพในเนื้อสมอง เช่น สมองขาดเลือดในระยะเบื้องต้น จะน้อยกว่าการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI scan) 
  5. การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scan): ข้อดี คือ มีความละเอียดสูง สามารถดูภาวะหลอดเลือดในสมองตีบในระยะเฉียบพลันภายใน 15 นาทีถึง 7 วันได้ และสามารถเห็นหลอดเลือดใหญ่ ๆ ที่ตีบได้ โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี แต่ข้อเสีย คือ ใช้ระยะเวลาในการตรวจนาน และต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วย เช่น ในผู้ป่วยบางคนที่กลัวที่แคบ หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถนอนนิ่งได้นาน ๆ หรือในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pace maker) จะไม่สามารถรับการตรวจด้วยวิธีนี้ได้ เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไปรบกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจและทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  6. การฉีดสารทึบรังสีเพื่อการวินิจฉัยหลอดเลือดสมอง (cerebral angiography): เป็นการใช้สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดผ่านทางขาหนีบเพื่อฉีดสารทึบรังสี ประเมินหลอดเลือดสมอง ซึ่งแพทย์มักจะส่งตรวจวินิจฉัยในกรณีที่สงสัยภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง ที่ทำให้เกิดเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มสมองได้
  7. การตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดที่คอ (TCD transcranial doppler หรือ carotid duplex): เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ตรวจดูความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองและหลอดเลือดที่บริเวณลำคอ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดที่คอตีบ และใช้เป็นข้อมูลเพื่อพิจารณาการวางแผนผ่าตัดหลอดเลือดในกรณีที่มีข้อบ่งชี้

อย่างไรก็ตาม แพทย์จะพิจารณาการตรวจตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

> กลับสู่สารบัญ

โรคหลอดเลือดสมอง รักษาหายไหม?

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าจะเป็นจากสาเหตุหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) หรือ หลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) หากรักษาได้อย่างทันท่วงที จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดความเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต และเพิ่มโอกาสให้สมองกลับมาทำงานเป็นปกติได้

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke)

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดอัน สามารถรักษาให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติได้ โดยผู้ป่วยไม่มีความพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาตหลงเหลืออยู่ สิ่งสำคัญคือ จะต้องรีบนำส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทันทีหลังมีอาการภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง แพทย์จะตรวจวินิจฉัยตามขั้นตอนที่กล่าวไปข้างต้น และทำการรักษาอย่างเร่งด่วน 

จุดมุ่งหมายในการรักษาคือ ทำให้หลอดเลือดสมองกลับมามีเลือดไหลเวียนได้ปกติ โดยมีหลายวิธีการรักษา หนึ่งในการรักษาคือ การให้ยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำ (IV rtPA; alteplase) ตัวยาจะออกฤทธิ์ละลายลิ่มเลือดที่ไปอุดตันสมองได้ประมาณ 30-50% ของผู้ป่วย  และทำให้ผู้ป่วยไม่มีความพิการหลงเหลืออยู่ หรือมีความพิการน้อยมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเข้ารับการรักษา 

หลังจากการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) หรือหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke unit) เพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง 

แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมานานกว่า 4 ชั่วโมงครึ่ง หากได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกในสมองได้มากกว่าผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทันทีหลังมีอาการประมาณ 6% (จากการศึกษา)

โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke)

จุดมุ่งหมายในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองแตก หรือฉีกขาดเฉียบพลัน คือ การควบคุมปริมาณเลือดที่ออกในสมอง เพื่อรักษาระดับความดันเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกในสมองปริมาณมาก จนกระทั่งมีภาวะความดันในกระโหลกสูง ผู้ป่วยอาจจะจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดเร่งด่วนทันทีที่นำส่งโรงพยาบาล

ถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกในสมองปริมาณน้อย อาจไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าตัด แต่ให้การรักษาแบบประคับประคองได้ และหลังจากรับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน 

ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดที่มีเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มสมองจากหลอดเลือดสมองโป่งพองและแตก (subarachnoid hemorrhage from rupture aneurysm) ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดทันทีที่นำส่งโรงพยาบาล เพื่อลดการแตกซ้ำของหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองและป้องกัน ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จะมีความเสี่ยงที่อาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ การรักษาและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ลดและควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน 
  2. แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด โดยยามีฤทธิ์ต้านการจับกันของเกล็ดเลือด ไม่ให้การเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน

หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันซ้ำ ๆ ผู้ป่วยอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหลายชนิดร่วมกัน แต่ข้อควรระวังคือ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น เช่น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือ ภาวะเลือดออกในสมอง เป็นต้น ดังนั้นควรอยู่ในความดูแลและได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทเท่านั้น ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

ศึกษาโรคหลอดเลือดสมองในคนวัยทำงานเพิ่มเติมที่: 
https://www.praram9.com/stroke-in-young-people/

New call-to-action
ปัจจัยเสี่ยงการกลับมาเป็นซ้ำของ stroke

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคหลอดเลือดสมอง เกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย หากสงสัยว่ามีอาการให้รีบมาโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อรักษาเนื้อเยื่อสมองให้มีความเสียหายน้อยที่สุดและกลับมาทำงานได้อย่างปกติ โดยที่ไม่มีความพิการเกิดขึ้น เมื่อรักษาหายเป็นปกติแล้ว ควรหมั่นดูแลสุขภาพ ป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยง เพื่อไม่ให้โรคหลอดเลือดสมองกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ปัญหายอดฮิตของคนใช้งานข้อมือหนัก

อ่านเพิ่มเติม
กล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS MH และ SMA อาการต่างกันอย่างไร รักษาหายไหม?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ปัญหายอดฮิตของคนใช้งานข้อมือหนัก

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ คือโรคที่เกิดจากปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่ใช้กางนิ้วหัวแม่มือที่อยู่บริเวณข้อมือเกิดการอักเสบ ทำให้มีอาการปวดข้อมือเมื่อใช้งาน มักเกิดจากการใช้งานข้อมือหนัก

อ่านเพิ่มเติม
กล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS MH และ SMA อาการต่างกันอย่างไร รักษาหายไหม?

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถแบ่งได้หลายชนิด ซึ่งจะมีสาเหตุและอาการหลายแบบ วิธีรักษาเองก็หลากหลายตามไปด้วย รักษาแล้วหายขาดไหม? ติดตามได้ในบทความนี้!

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา