ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke) เป็นโรคที่สำคัญและเป็นสาเหตุความพิการและเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ความน่ากลัวของโรคนี้คือหากเป็นแล้วส่งผลต่อผู้ป่วยทำให้กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
เข้าใจความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง
สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากมีลิ่มเลือด หรือไขมันอุดตันสะสมจนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้ เกิดเนื้อสมองตายขึ้น การรักษาของโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันนั้น ขึ้นกับเวลาที่ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลหลังมีอาการ ผู้ป่วยที่มาภายใน 3 ชั่วโมงจะได้รับยาละลายลิ่มเลือดในสมอง ซึ่งได้ผลในการลดความพิการได้ 30-50% ในผู้ป่วยที่ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่ แต่มาโรงพยาบาลช้ากว่า 3 ชั่วโมง แต่อยู่ในช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมง ก็ยังมีการรักษาที่ได้ผลดี คือ การสวนหลอดเลือดสมองลากเอาลิ่มเลือดออก (mechanical thrombectomy) ซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ นอกจากนี้ยังมีการรักษาอื่นๆ เช่น ให้ยาต้านเกร็ดเลือด ยาลดไขมัน รวมทั้งการรักษาโรคที่เป็นความเสี่ยง เช่น เบาหวาน หยุดสูบบุหรี่ ควบคุมระดับความดันโลหิต เป็นต้น
- หลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากมีลิ่มเลือด หรือไขมันอุดตันสะสมจนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้ เกิดเนื้อสมองตายขึ้น การรักษาของโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันนั้น ขึ้นกับเวลาที่ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลหลังมีอาการ ผู้ป่วยที่มาภายใน 3 ชั่วโมงจะได้รับยาละลายลิ่มเลือดในสมอง ซึ่งได้ผลในการลดความพิการได้ 30-50% ในผู้ป่วยที่ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่ แต่มาโรงพยาบาลช้ากว่า 3 ชั่วโมง แต่อยู่ในช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมง ก็ยังมีการรักษาที่ได้ผลดี คือ การสวนหลอดเลือดสมองลากเอาลิ่มเลือดออก (mechanical thrombectomy) ซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ นอกจากนี้ยังมีการรักษาอื่นๆ เช่น ให้ยาต้านเกร็ดเลือด ยาลดไขมัน รวมทั้งการรักษาโรคที่เป็นความเสี่ยง เช่น เบาหวาน หยุดสูบบุหรี่ ควบคุมระดับความดันโลหิต เป็นต้น
- หลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดแตก ส่วนใหญ่เกิดจากความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ไม่ดี ทำให้ เส้นเลือดเปราะแตกง่าย การรักษาคือควบคุมระดับความดันโลหิต รวมทั้งให้ยาช่วยการแข็งตัวของเลือด หรือให้เกร็ดเลือดในผู้ป่วยบางท่าน
ดังนั้นการสังเกตว่าตัวเองมีอาการของโรค และมาโรงพยาบาลทันที จึงเป็นสิ่งสำคัญ
อาการของโรค ได้แก่
- ปากเบี้ยว
- พูดไม่ชัด
- เดินไม่ถนัด
- แขนขาอ่อนแรง
ซึ่งทันทีที่มาอาการดังกล่าวให้รีบโทร 1270 ปรึกษาแพทย์ระบบประสาท และโทรเรียกรถฉุกเฉิน
โรงพยาบาลพระรามเก้า มีแพทย์โรคระบบประสาทอยู่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง
สิ่งที่น่าเศร้าใจจากโรคหลอดเลือดสมอง คือ ความพิการที่เกิดขึ้น เช่นในผู้ป่วยที่มาระยะเฉียบพลันเกิน 24 ชั่วโมงไปแล้วเป็นต้น ความพิการนี้สร้างความทุกข์ใจทั้งแก่ผู้ป่วย และญาติผู้ดูแล
อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีใหม่ตัวหนึ่ง ชื่อ transcranial magnetic stimulation (TMS) แม่เหล็กเพื่อเหนี่ยวนำ กระตุ้นฟื้นฟูการทำงานของเซลล์สมองส่วนที่ตายไป และกระตุ้นเซลล์ใกล้เคียง ให้สร้างเครือข่ายการทำงานขึ้นหรือ การใช้คลื่นไฟฟ้าใหม่ ทั้งนี้ เมื่อทำโดยแพทย์เฉพาะทางด้าน TMS และแพทย์เวชศาสต์ฟื้นฟู จะยิ่งเพิ่มศักยภาพ ให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิต เคลื่อนไหว ได้ดียิ่งขึ้น
รู้จัก “TMS” เครื่องกระตุ้นสมองและระบบประสาท ทางเลือกฟื้นฟู อัมพฤกษ์ อัมพาต จากโรคหลอดเลือดสมอง
เครื่อง TMS คือะไร?
เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (transcranial magnetic stimulation (TMS) /peripheral magnetic stimulation (PMS)) เป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้เครื่องมือในการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาเหนี่ยวนำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการทำงานของสมอง ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือการตกค้างของรังสีภายในร่างกาย จึงมีการใช้เครื่องมือนี้เพื่อช่วยในการฟื้นฟูความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
สามารถใช้เครื่องมือนี้ในผู้ป่วยโรคอะไรได้บ้าง?
- โรคซึมเศร้า
- โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต
- การบาดเจ็บของสมองและไขสันหลัง
- โรคพาร์คินสัน
- โรคความจำบกพร่อง
- อาการปวดเรื้อรังจากภาวะต่างๆ
- อาการปวดกล้ามเนื้อ office syndrome, fibromyalgia
- อาการชา จากเส้นประสาทถูกกดทับหรือเบาหวาน
- โรคทางระบบประสาท สมอง และกล้ามเนื้ออื่นๆ
ข้อห้ามในการรักษาด้วยเครื่อง TMS
- ผู้ที่มีอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว สายระบายน้ำในโพรงสมองแบบอัตโนมัติ เป็นต้น
- ผู้ที่มีอาการชักที่ไม่สามารถควบคุมได้
- ผู้ที่มีโลหะฝังบริเวณศีรษะ เช่น ตะแกรงขยายหลอดเลือดสมอง คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีโลหะในบริเวณอื่นๆที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยตรงสามารถทำได้
นอกจากนี้ก่อนเข้ารับการรักษาจะได้รับการประเมินโดยแพทย์ผู้ชำนาญในการใช้เครื่อง TMS เพื่อตรวจสอบว่ามีข้อควรระวังอื่นๆในการรักษาหรือไม่
ใช้เวลานานเท่าไหร่?
ระยะเวลาในการรักษาต่อครั้งอยู่ที่ 15-60 นาที ความถี่ในการรักษาประมาณ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์แล้วแต่อาการและโรคของผู้ป่วยแต่ละราย
มีผลข้างเคียงหรือไม่?
ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่พบอาการข้างเคียงภายหลังการรักษา ผลข้างเคียงที่สำคัญแต่พบได้น้อยมากคืออาการชัก ซึ่งพบได้ประมาณ 0.02-0.2% ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือง่วงนอนภายหลังการกระตุ้น บางรายพบอาการปวดศีรษะหรือระคายเคืองบริเวณที่ถูกกระตุ้นได้เล็กน้อย
ติดต่อสอบถาม
- โทร.1270