โรคไทรอยด์เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของ “ต่อมไทรอยด์” โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งโรคนี้จะมีอาการแสดงแตกต่างกันออกไปตามความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เช่น มีโรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือโรคเนื้องอกไทรอยด์ และมะเร็งไทรอยด์ ซึ่งแต่ละโรคก็มีการรักษาหลากหลาย โดยเราจำเป็นต้องเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับโรคไทรอยด์แต่ละชนิด เช่น มีการรักษาด้วยการทานยา มีการกลืนแร่ หรือการผ่าตัดไทรอยด์รักษาโรค เป็นต้น
สำหรับคนไข้ที่ประสบปัญหาเป็นโรคไทรอยด์ที่จำเป็นจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เรามาทราบเรื่องการผ่าตัดกันเบื้องต้น โดยการผ่าตัดไทรอยด์ในสมัยก่อนจะมีแบบเดียวคือ ผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด โดยจะทำให้มีแผลเป็นอยู่กลางลำคอ ซึ่งโรคไทรอยด์จะพบในคนไข้ผู้หญิงอายุน้อยเป็นจำนวนมาก การที่มีแผลเป็นอยู่กลางลำคอ จึงเป็นปัญหาทำให้แลดูไม่สวยงาม สูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องหาเสื้อ หรือผ้าพันคอมาปิดคอไว้
ปัจจุบันเทคนิคในการผ่าตัดไทรอยด์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก คือมีการพัฒนาการใช้กล้องเข้ามาช่วยในการผ่าตัด ทำให้เราไม่ต้องเปิดแผลที่หน้าคอ ซึ่งเทคโนโลยีการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก เป็นวิธีการผ่าตัดแบบใหม่ที่สุด ที่ผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องเข้ารอยแผลเล็กๆทางช่องปาก มีผลทำให้คนไข้เจ็บแผลผ่าตัดน้อย เพราะว่าแผลผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวได้ไว ไปทำงานได้ไว และที่สำคัญที่สุดคือไม่มีแผลเป็นอยู่กลางลำคออีกด้วย ปัจจุบันจึงเป็นวิธีผ่าตัดไทรอยด์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
สารบัญ
- ผู้ป่วยประเภทใดที่ควรรับการผ่าตัดไทรอยด์?
- การผ่าตัดไทรอยด์ มีกี่แบบ?
- ข้อดีของการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก
- ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากเหมาะสำหรับใคร?
- การเตรียมก่อนตัวผ่าตัดไทรอยด์
- การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดไทรอยด์
- การผ่าตัดไทรอยด์ มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง?
- ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากกับศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการ
ผู้ป่วยประเภทใดที่ควรรับการผ่าตัดไทรอยด์?
โรคไทรอยด์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid)
- ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroid)
- โรคเนื้องอกไทรอยด์ (ทั้งกรณีที่เป็นและไม่เป็นมะเร็ง)
โรคไทรอยด์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ หากมีอาการไม่รุนแรง หรือมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่ำ แพทย์อาจเลือกวิธีให้รับประทานยา หรือกลืนแร่รักษา แต่ในกรณีที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงและมีความเสี่ยง เช่น ไทรอยด์มีขนาดโตมากจนไปกดเบียดการกลืนหรือการหายใจ หรือตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก
“กรณีที่ผู้ป่วยคลำบริเวณคอแล้วเจอก้อนที่สงสัย
ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย”
การผ่าตัดไทรอยด์ มีกี่แบบ?
ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดไทรอยด์ แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
- การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด เป็นการผ่าตัดมาตรฐานที่มีมานาน โดยจะผ่าตัดบริเวณกลางคอ ผู้ป่วยจะมีแผลเป็นที่บริเวณกลางคอขนาดประมาณ 6-8 เซนติเมตร หรือขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนไทรอยด์ที่ผ่าออก
- การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง เป็นเทคนิคการการผ่าตัดไทรอยด์ที่พัฒนาให้สามารถผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านเข้าได้จากหลายทางและมีแผลขนาดเล็ก เช่น ทางรักแร้ ทางลานนม ทางหลังหู หรือแบบส่องกล้องทางช่องปาก
การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากนับว่าเป็นวิธีใหม่ล่าสุด ที่มีความปลอดภัยสูง เจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวไว ส่องกล้องเห็นเส้นเสียงชัดเจนทำให้ลดโอกาสการเกิดเสียงแหบ และเป็นเพียงเทคนิคเดียวที่เป็นการผ่าตัดแบบไร้แผลเป็นภายนอก
ข้อดีของการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก
สำหรับผู้ที่ต้องการผ่าตัดแบบไม่มีแผลเป็นที่คอ หลังผ่าตัดแทบจะดูไม่ออก ว่าไปผ่าตัดไทรอยด์มา และยังฟื้นตัวเร็ว โรงพยาบาลพระรามเก้ามีเทคโนโลยีใหม่ในการรักษา ด้วยการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ
- ไร้รอยแผล รอยกรีดบริเวณภายนอกลำคอ ทำให้บริเวณคอ แทบจะดูไม่ออก ว่าไปผ่าตัดมา
- เย็บซ่อนแผลด้วยไหมละลายไว้ในช่องปาก ไม่ต้องทำแผล
- การผ่าตัดแบบส่องกล้องทางช่องปากแผลจะมีขนาดเล็ก ทำให้ฟื้นตัวได้ไว เจ็บน้อยและสามารถ กลับไปทำงานได้อย่างรวดเร็ว
- เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทเสียงน้อย ลดโอกาสการเกิดภาวะเสียงแหบหลังผ่าตัด จากการที่มีกล้อง 4k หรือกล้องที่มีความละเอียดสูงสุด ช่วยขยายขนาดของเส้นเสียงให้ศัลยแพทย์เห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
- ด้วยเทคโนโลยีกล้องที่มีความละเอียด แม่นยำสูง ช่วยในการหาต่อมพาราไทรอยด์ ลดโอกาสการเกิดภาวะแคลเซียมต่ำอย่างรุนแรง จากการบาดเจ็บของต่อมพาราไทรอยด์
ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากเหมาะสำหรับใคร?
การรักษาด้วยการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก เหมาะกับผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
- ต้องการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์ไม่เป็นพิษ และโรคมะเร็งไทรอยด์
- มีขนาดก้อนเนื้อที่จะผ่าใหญ่ไม่เกิน 6 – 8 เซนติเมตร
- มะเร็งไทรอยด์ ที่ยังไม่มีแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอด้านข้าง
- ไม่ต้องการให้มีแผลเป็นภายนอก แผลเล็ก เจ็บแผลน้อย และต้องการฟื้นตัวเร็ว กลับไปทำงานได้รวดเร็ว
- ผู้ป่วยที่ต้องการรับการผ่าตัดกับแพทย์เฉพาะทางที่จบด้านการผ่าตัดไทรอยด์โดยเฉพาะ มีความชำนาญสูง ทำให้ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนทุกด้าน
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดไทรอยด์
เมื่อแพทย์วินิจฉัยและแนะนำให้ทำการรักษาด้วยผ่าตัดไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดหรือการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง ต้องมีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังนี้
- แจ้งประวัติโรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วย ยาที่ใช้ประจำ และประวัติการแพ้ยาให้แพทย์ทราบ
- ตรวจสุขภาพ เช็กความพร้อมของร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ทรวงอก และอื่น ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์
- งดน้ำ งดอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เนื่องจากต้องมีการดมยาสลบ
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดไทรอยด์
หลังการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดอาจมีท่อระบายบริเวณแผล เพื่อลดโอกาสเลือดคั่งบริเวณแผลผ่าตัด หากของเหลวไหลออกจากแผลน้อยลง แพทย์จะนำท่อระบายออก ส่วนการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากหลังการผ่าตัดจะมีผ้าก๊อชกดไว้บริเวณใต้คางเพื่อลดโอกาสเลือดคั่ง ซึ่งคำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดมีดังนี้
- ไม่ไอหรือจามอย่างรุนแรงหลังการผ่าตัดเด็ดขาด
- งดใช้เสียงดังหรือตะโกนหลังการผ่าตัด
- หลีกเลี่ยงการขากเสมหะแรง ๆ ให้ค่อย ๆ บ้วนออก
- งดกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ หรือยกของหนักในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดหรือร้อนจัดเกินไป ให้รับประทานอาหารอ่อน กลืนง่าย
- รับประทานยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ ตามแพทย์สั่ง สามารถรับประทานยาแก้ปวด ยาละลายเสมหะได้ เมื่อมีอาการ
การผ่าตัดไทรอยด์ มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง
โดยทั่วไปหลังจากการผ่าตัดไทรอยด์อาจมีอาการข้างเคียงที่สามารถพบได้ ดังนี้
- รู้สึกตึงหรือชาบริเวณลำคอหลังการผ่าตัด
- มีอาการเจ็บคอ ปวดคอ กลืนลำบากในช่วง 1-2 อาทิตย์แรก
- ในกรณีที่มีการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทเสียง คนไข้จะมีอาการเสียงแหบ เสียงพูดเบา โดยอาการเหล่านี้อาจใช้เวลาในการรักษาให้ดีขึ้นใน 6-12 เดือนหลังการผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพียงชั่วคราว
- อาจมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ โดยอาจมีอาการที่เข้าได้กับภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เช่น ชาบริเวณริมฝีปาก มือ หรือฝ่าเท้า เป็นตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก ปวดหัว เนื่องจากเกิดการบาดเจ็บต่อต่อมพาราไทรอยด์ระหว่างการผ่าตัด โดยแพทย์จะให้คนไข้ทานยาแคลเซียม รวมถึงวิตามินดีทดแทนการทำงานของต่อมไทรอยด์ และจะค่อย ๆ ลดขนาดยาลง จนผู้ป่วยบางคน สามารถหยุดยาได้
ในขณะที่การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากจะพบผลข้างเคียงน้อย ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บของเส้นประสาท อาการเสียงแหบ ภาวะแคลเซียมต่ำ หรือภาวะมีก้อนเลือดอุดตันบริเวณลำคอหลังจากผ่าตัด และนับว่าเป็นวิธีใหม่ล่าสุด ที่มีความปลอดภัยสูง และเป็นเพียงเทคนิคเดียวที่เป็นการผ่าตัดแบบไร้แผลเป็นภายนอก อีกทั้งคนไข้ยังเจ็บแผลน้อย เพราะแผลเล็ก ฟื้นตัวได้เร็ว แผลโดนน้ำได้เลย สามารถอาบน้ำหลังผ่าตัดได้ตามปกติ และสามารถกลับไปทำงานได้รวดเร็ว แต่ว่าทั้งนี้การผ่าตัดด้วยเทคนิคดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญสูงและเครื่องมือที่ทันสมัยประกอบกัน
ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากกับศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการ นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล
อาจารย์นายแพทย์ ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดไทรอยด์ทั้งแบบเปิด และแบบส่องกล้องทางช่องปาก รพ.พระรามเก้า ด้วยประสบการณ์การผ่าตัดไทรอยด์ทั้งแบบเปิด และแบบส่องกล้องทางช่องปากมากกว่า 2,000 ราย ทำให้มีความชำนาญในการผ่าตัดไทรอยด์ ทั้งผ่าตัดแบบเปิด ผ่าตัดแบบส่องกล้องทางช่องปาก ในโรคไทรอยด์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคคอพอก โรคไทรอยด์อักเสบเรื้อรังแบบ Hashimoto’s รวมถึง โรคเนื้องอกไทรอยด์ที่ยื่นลงไปในช่องอก โรคเนื้องอกไทรอยด์ชนิดไม่เป็นมะเร็ง และโรคมะเร็งไทรอยด์ ทั้งชนิดไม่ลุกลาม และชนิดลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอ โดยนับเป็นแพทย์ท่านแรก ๆ ของโลกทำการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก
ดังที่กล่าวข้างต้น การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากทำให้ไม่มีรอยแผลเป็นที่ผิวหนังบริเวณลำคอ เจ็บแผลน้อย ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว และลดความเสี่ยงเสียงแหบหลังผ่าตัดอีกด้วย จึงถือเป็นทางเลือกการผ่าตัดที่น่าสนใจในปัจจุบัน
นพ.ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล
ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดไทรอยด์ ทั้งแบบเปิดและแบบส่องกล้องทางช่องปาก
อย่ารอจนทุกอย่างสายเกินแก้
เข้ารับการผ่าตัดไทรอยด์ ด้วยความอุ่นใจ มั่นใจและปลอดภัย
ทางศูนย์ศัลยกรรม รพ.พระรามเก้า โดยทีมแพทย์ผู้มีประสบการณ์เฉพาะทาง ที่มุ่งเน้นการรักษา รวมทั้งการดูแลแบบเฉพาะทางพร้อมด้วยเทคโนโลยีการรักษาและเครื่องมือที่ทันสมัย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพต่อผู้ป่วยเป็นสำคัญ
และเนื่องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ทาง รพ.พระรามเก้า ได้มีมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL คำนึงถึงผู้เข้ารับการรักษาเป็นสำคัญ เราจึงทำงานอย่างหนัก เพื่อให้คุณอุ่นใจ มั่นใจ และปลอดภัยจากโควิด 19 แม้ต้องผ่าตัดในช่วงนี้ อย่างครอบคลุม ดังนี้
ผู้เข้ารับการผ่าตัดปลอดภัย
- ตรวจคัดกรองโควิด-19 ตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ก่อนผ่าตัดทุกราย
- แยกห้อง แยกอุปกรณ์ และเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถใช้แล้วทิ้ง กรณีผู้ป่วยมีความเสี่ยงติดเชื้อและจำเป็นต้องผ่าตัด
บุคลากรของโรงพยาบาลปลอดภัย
- ตวรจคัดกรอง บุคลากรทุกคน ทุกวันก่อนเข้าปฏิบัติงาน
- เจ้าหน้าที่ทุกคนสวมชุดป้องกันร่างกาย (PPE) ขณะผ่าตัด
อุปกรณ์และเครื่องมือผ่าตัดปลอดภัย
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ผ่าตัดทุกชิ้น ด้วยการนึ่งทำลายเชื้อ (Sterilization)
- เช็ดทำความสะอาดเครื่องมือในห้องผ่าตัดด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ