ไวรัสอีโบลา จัดอยู่ในกลุ่มโรคชนิดเดียวกับข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรง ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่พบเชื้อไวรัสนี้ในประเทศไทย แต่หากได้รับเชื้อ อาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การระบาดของโรคอีโบลามีอัตราป่วยตายที่สูงได้ถึงร้อยละ 90 โดยพื้นที่การระบาดของโรคนี้พบมากในแถบแอฟริกา เชื้อไวรัสนี้แพร่จากสัตว์ป่ามาสู่คน จากนั้นจึงแพร่ระบาดต่อไปในหมู่คนโดยการแพร่โรคจากคนสู่คน ผู้ป่วยโรคนี้ที่มีอาการรุนแรงจาเป็นต้องดูแลแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด ยังไม่มียาหรือวัคซีนจำเพาะชนิดใดๆ ที่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันทั้งในคนและในสัตว์
อาการของโรค และระยะฟักตัว
ระยะฟักตัวประมาณ 2 – 21 วัน ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาจะมีไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) ในรายที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต จะพบมีเลือดออกง่าย โดยเกิดทั้งเลือดออกภายในและภายนอกร่างกาย (internal and external bleeding) มักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทาลาย ไตวาย หรือก่อให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนกลาง ช็อก และเสียชีวิตได้
การวินิจฉัยโรค
โดยการตรวจ antigen-RNA หรือ genes ของไวรัสจากตัวอย่างเลือด หรือ ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส หรือ แยกเพาะเชื้อไวรัส การตรวจตัวอย่างเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ต้องทาในห้องปฎิบัติการที่มีการป้องกันระดับสูง ระดับ 4
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนที่รักษาโรคอีโบลาได้ การรักษาจึงเป็นการประคับประคองหรือควบคุมอาการ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มีความรุนแรงมาก จึงต้องทำการรักษาในโรงพยาบาลและจำเป็นต้องมีการแยกผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของโรค โดยแพทย์จะรักษาตามอาการ ใช้ยาต้านเชื้อโรค เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
สำหรับการแพร่ของโรค พบการติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลาสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของลิงที่ติดเชื้อ หรือเกิดขณะจัดการหรือชาแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตาย โดยยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทางละอองฝอยที่ลอยในอากาศ และสำหรับการติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือดที่ติดเชื้อ สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือน้าอสุจิ
นอกจากนี้ การติดเชื้อในโรงพยาบาลก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ และยังพบการแพร่กระจายเชื้ออีโบลาในพิธีศพได้บ่อย เนื่องจากญาติผู้เสียชีวิตอาจมีการสัมผัสโดยตรงกับร่างกายของผู้เสียชีวิต
ระยะติดต่อของโรค
– จะไม่มีการแพร่เชื้อก่อนระยะมีไข้ และจะแพร่เชื้อเพิ่มมากขึ้นในระยะที่มีอาการป่วยนานเท่าที่เลือดและสารคัดหลั่งยังมีไวรัสอยู่
– มาตรการป้องกันโรค
– ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงสาหรับโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ควรป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังการเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบไวรัสในน้าอสุจิ
มาตรการควบคุมการระบาด
– แยกผู้ป่วย และเน้นมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด
– ติดตามผู้สัมผัสทั้งหมด รวมทั้งผู้ที่อาจจะสัมผัสกับผู้สัมผัสใกล้ชิด โดยต้องตรวจอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง เมื่อมีไข้ต้องรีบมาโรงพยาบาลและเข้าห้องแยกทันที •เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคน ต้องมีการแจ้ง/บอกให้ทราบ ถึงโรคและการติดต่อ เน้นวิธีการป้องกันขณะดูแลผู้ป่วย และการจัดการเลือด สิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย
การเฝ้าระวังป้องกันโรค
สำหรับคนไทยที่เดินทางไปประเทศเสี่ยง ต้องระมัดระวัง ไม่ใกล้ชิด ผู้ป่วยหรือ ผู้ที่มีอาการสงสัย เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ต้องคอยสารวจตรววจตราตัวเองว่ามีไข้ หรือไม่ ถ้ามีไข้ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที และให้ประวัติให้ละเอียดว่าไปที่ใดมาบ้างในช่วง 21 วันก่อนมีไข้ •สถานพยาบาล โดยเฉพาะรพ.เอกชน ที่รับตรวจชาวต่างประเทศ ควรเพิ่มการสอบถามประวัติการเดินทาง เมื่อพบชาวต่างประเทศมีอาการไข้มารับการรักษา โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางเข้าประเทศใหม่ๆ เมื่อมีผู้ป่วยสงสัย ต้องรีบแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ