มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นภัยร้ายแฝงตัวอยู่เงียบๆ ส่วนใหญ่ไม่สามารถทราบสาเหตุได้แน่ชัด
เป็นเนื้อร้ายที่เกิดจากเยื่อบุกกระเพาะอาหาร ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งมีตอนเหตุมาจากจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ เอส.ไพโลไร (Helicobacter pylori) เมื่อเกิดอาการแล้วมะเร็ง จะลุกลามการกระจายตัวไปยังอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง อาการเริ่มต้นจะไม่รุนแรง มีอาการคล้ายกับ โรคกระเพาะอาหาร และ โรคกระเพาะอาหารอักเสบมะเร็งชนิดนี้มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี เน้นในผู้ชายมากกว่า ผู้หญิง 20 เท่า
อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
ระยะแรกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอาจจะไม่แสดงอาการรุนแรง สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาการของเนื้องอกชนิดนี้ในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัด เมื่อแสดงอาการชัดเจน โรคก็ลุกลามไปมากแล้ว ทั้งๆ ที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกๆได้ อาจจะรู้สึกอาหารไม่ย่อยหรือ รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร คลื่นไส้เล็กน้อย ไม่อยากรับประทานอาหาร มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ส่วนในกรณีผู้ป่วยอาการลุกลามนื้อร้ายเจริญเติบโตจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นจะมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดหรือจุกที่ลิ้นปี่ แน่นท้องหลังรับประทานอาหาร กลืนอาหารลำบากมากขึ้น
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
- อาเจียนเป็นเลือด เบื่ออาหาร น้ำาหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
- รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลียจากภาวะโลหิตจาง ดีซ่านโดยมีอาการผิวและตาเหลือง
การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร
ระยะแรกผู้จะไม่มีอาการ แต่จะพบแพทย์ด้วยอาการท้องอืด แน่นท้อง ทานอาหารเข้าไปแล้วปวดท้อง คล้ายกับโรคกระเพาะอาหาร ระยะนี้รักษาโดยการผ่าตัด หากมะเร็งยังอยู่ที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร สามารถตรวจพบจากการส่องกล้องและรักษาโดยการใช้กล้องส่องทางเดินอาหาร
ระยะสอง มะเร็งเริ่มมีขนาดโตขึ้นแต่ยังไม่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นหลักโดยการเอามะเร็งและต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออก อาจมีการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย
ระยะที่สาม มะเร็งมีการลุกลามไปติดอวัยวะข้างเคียง ทำให้เลาะกระเพาะอาหารออกได้ไม่หมด หรือมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะทำการผ่าตัดออกทั้งหมด รวมถึงเลาะต่อมน้ำเหลืองออกด้วยสามารถใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับความร้อน มาช่วยในการผ่าตัด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดมากขึ้น
ระยะสุดท้าย มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะไกล ๆ เช่น ปอด ตับ ต่อมน้ำเหลืองไกล ๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แพทย์จะรักษาโดยการให้เคมีบำบัดเพื่อควบคุมและลดอาการของโรค
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
- ผู้มีประวัติบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- มีการติดเชื้อเอส.ไพโลไร (Helicobacter pylori) แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารและสร้างภาวะอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรังอาจนำไปสู่โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- สูบบุหรี่เป็นประจำทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้สูงขึ้น
ทั้งนี้ การรับประทานอาหารปิ้ง ย่าง หมักดอง อาจทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น การรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานผักและผลไม้ก็อาจจะช่วยลดโอกาสเกิดโรคของโรคได้ ซึ้งการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคกระเพาะอาหาร แพทย์จะพิจารณาให้ทำเคมีบำบัดร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงโรคกำเริบและไม่กลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงควบคุมโรคมะเร็งไม่ให้แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สงบคลายความ