(น.พ.วิโรจน์ เหล่าสุนทรสิริ)
ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความรู้ใหม่ๆ และยารุ่นใหม่ที่
ถูกนำมาใช้เพื่อประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมีมากขึ้น ยาเดิมๆ ที่เคยใช้อยู่ก็กำลังเริ่มใช้น้อยลง ขณะ
เดียวกันยาที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เริ่มแสดงบทบาทสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งร้ายเหล่านี้อย่างชัดเจนขึ้น
ความหลากหลายของการรักษาโรคเหล่านี้มีมากก็จริงอยู่ แต่ที่แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสำคัญ
ถึง หรือฝากความหวังว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกาย” อาจจะมีประสิทธิผลใน
การรักษาโรคมะเร็งให้หาย หรือรักษาให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวออกไปได้ การรักษาเหล่านี้มักจะมีผลข้าง
เคียงน้อยลง แต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
เพื่อที่จะนำผู้อ่านให้เข้าใจถึงบทบาทของการใช้ภูมิต้านทาน (Immune) ในการรักษาโรคมะเร็งเป็นอย่าง
ไรนั้น เรามาเข้าใจถึง Concept ของภูมิต้านทาน (Immune) ต่อเซลล์มะเร็งเป็นอย่างไรก่อน
ปัจจุบันเรายังมีความเชื่อว่าเซลล์ของคนนั้นอาจจะกลายพันธุ์ หรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
ด้วยผลจากยีนส์ที่ผิดปกติ หรือจากสิ่งแวดล้อมข้างเคียง (Environment) แต่เนื่องจากร่างกายมีเซลล์ภูมิต้านทาน
(Cellular Immune System) ที่คอยตรวจสอบทั่วไป เมื่อเซลล์ภูมิต้านทานเหล่านี้พบเซลล์ที่กำลังกลายพันธุ์ไปเป็น
มะเร็งนั้น เซลล์ภูมิคุ้มกันก็จะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งเหล่านี้เพื่อไม่ให้มีโอกาสขยายพันธุ์ได้ต่อไป เป็นการ
ควบคุมการกลายพันธุ์ของเซลล์ในร่างกาย แต่หากว่าร่างกายมีเซลล์ภูมิต้านทานที่ผิดปกติ เช่น เกิดจากความ
ผิดปกติของภูมิต้านทานอย่างไม่มีสาเหตุ , การติดโรคเอดส์ , อัตราการเกิดโรคมะเร็งในผู้ป่วยเหล่านี้จะมีสูง
มากกว่าคนปกติอย่างชัดเจน ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) , วงการแพทย์เชื่อว่า
ยาเคมีบำบัดไม่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้หมดเอง แต่จะช่วยลดจำนวนเซลล์เหล่านี้ให้เหลือน้อยมากๆ จนเซลล์
ภูมิต้านทานสามารถจะกำจัดเซลล์มะเร็งได้หมด ซึ่งเป็นผลทำให้ผู้ป่วยสามารถหายขาดจากโรคมะเร็ง (Curable)
เหล่านั้นได้ แนวคิดเรื่องการปรับปรุงเพิ่มภูมิต้านทานต่อเซลล์มะเร็งจึงเป็นงานที่มีผู้สนใจ และศึกษากันอย่าง
กว้างขวาง และนำมาใช้ในทางคลินิกเพื่อรักษาโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น
วิธีที่มีในปัจจุบันอาจจะยังแยกออกอย่างชัดเจนไม่ได้ ผู้เขียนขอสรุปแนวทางการรักษาโรคมะเร็งด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางภูมิต้านทานอย่างคร่าว ๆ ให้เห็นภาพรวมอย่างชัดเจน
การปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูก และการให้เซลล์ภูมิต้านทานในการรักษาโรคมะเร็ง
การปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกปัจจุบันทำได้ง่ายกว่าเดิมมาก เนื่องจากเรามีความรู้เกี่ยวกับเซลล์ต้น
กำเนิด (Stem Cell) อย่างมากมาย เราสามารถนำเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) มาขยายจำนวนได้ในหลอด
ทดลองแล้วนำไปให้ผู้ป่วยได้ Stem Cell นี้สามารถนำมาจากการคัดกรองเม็ดเลือดขาวของผู้บริจาค (Donor)
โดยเพียงแต่ให้เลือดผ่านเข้าเครื่องปั่น และคัดกรองเม็ดเลือด (Apheresis) หรืออาจจะเก็บจากเลือดของสาย
สะดือและรก (Umbilical Cord Blood) ในกรณีจากผู้บริจาค (Donor) เราไม่จำเป็นต้องเจาะโดยตรงจากไขกระดูก
ของผู้บริจาค แล้ว Stem Cell ที่ได้จากการทำ Apheresis จะให้ผลที่ดีในผู้ป่วย (Recipient) ในการเข้าไปเจริญ
เติบโต และทดแทนไขกระดูกของผู้ป่วยได้อย่างดีและรวดเร็วกว่า การปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกจะมีบทบาทมาก
ในการรักษาโรคมะเร็งของเม็ดเลือดทั้งแบบเรื้อรัง และเฉียบพลัน (Chronic and acute Leukemia) และโรค
มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง (Hodgkin’s and Non-Hodgkin’s Lymphome) เป็นส่วนใหญ่ ความเชื่อเนื่องจากการ
ให้ยาเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งร่วมกับการให้เซลล์ภูมิต้านทาน (T-Cell) จะสามารถช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งออก
ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเซลล์ภูมิต้านทานของผู้ป่วยเอง ไม่มีความสามารถที่จะกำจัดเซลล์มะเร็ง
เหล่านั้นออกไปได้ ต้องใช้เซลล์ภูมิต้านทาน (T – Cell) จาก Donor เพื่อไปฆ่า หรือ ควบคุมเซลล์มะเร็งอย่าง
ได้ผล สิ่งที่ได้รับความสนใจในเรื่องการปลูกถ่ายเซลล์นี้ คือ ขบวนการของ “Non-myeloabative Stem cell
Transplantation” ในการรักษาโรคมะเร็ง วิธีนี้บางทีเราเรียกแบบเล่น ๆ ว่า “Mini Transplantation” เพราะ
ขบวนการมีเพียงแต่การให้ยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วย เพื่อให้เราสามารถที่จะนำเอาเซลล์ภูมิต้านทาน (T – Cell)
ใส่เข้าไปในผู้ป่วย และให้ขยายตัว เพื่อไปทำลายหรือควบคุมเซลล์มะเร็งตามทฤษฎีของภูมิต้านทานต่อโรค
มะเร็ง ขบวนการนี้พบว่าจะมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่าการปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกอย่างเดิมอย่างมาก เพราะไม่
ต้องใช้ยาเคมีบำบัดในขนาดที่สูง และทำให้อัตราตายในระยะแรกของการรักษาต่ำลงอย่างชัดเจน การทำ
Minitransplant เพียงแต่ปรับร่างกายของผู้ป่วยให้ยอมรับเซลล์จาก Donor ได้ในขนาดที่พอเหมาะ เพื่อให้
T-Cell เติบโตและทำลายเซลล์มะเร็งร้ายออกไปจากร่างกาย, การทำการรักษาวิธีนี้จะต้องหา Donor ที่เหมาะสม
จึงจะทำให้ผลการรักษาออกมาดี รายงานที่แสดงถึงประโยชน์ของการทำ Minitransplant นี้มีเพิ่มขึ้น ทั้งในการ
รักษาโรคมะเร็งของเม็ดเลือดขาว ทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง และรายงานล่าสุด
ที่แสดงถึงความสามารถที่จะควบคุมโรคมะเร็งของไตที่แพร่กระจายได้อย่างดี ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ Mini-
transplant คือ สามารถทำการรักษาได้ในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปีได้ เพราะเดิมการทำ Stem Cell transplant
ในผู้ป่วยเกิน50 – 55 ปี มักจะมีอัตราตายที่สูงมาก
การใช้สารภูมิต้านทาน (Passive antibody) ในการรักษาโรคมะเร็ง
ปัจจุบันนี้มีสารภูมิต้านทาน (Antibody) ใหม่ๆ ที่มีบทบาทในการรักษาโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่
ที่เห็นว่ามีการนำมาใช้มาก คือ การรักษาโรคมะเร็งเต้านม และ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การใช้สารภูมิต้านทานในการรักษามะเร็งเต้านม – บทบาทของ antibody ต่อ Growth factor receptor,
ที่ชื่อว่า Her-2/Neu มีมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะว่ามะเร็งของเต้านมพบมากในสตรี และเป็นโรคที่สามารถรักษา
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้เรื่องของ Her-2/Neu Expression ในตัวเซลล์มะเร็งมักจะเป็นเครื่องหมายที่บอก
ถึงความร้ายแรงของเซลล์มะเร็ง Her-2/Neu จะแสดงออกใน 20 – 30% ของผู้ป่วยมะเร็งของเต้านม แต่มักจะมี
การต้านยาเคมีบำบัดบางชนิดอย่างชัดเจน การใช้ยาชื่อ Herceptin ร่วมไปกับเคมีบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้พบว่า
ได้ผลที่ดีกว่าการใช้ยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว การนำ Herceptin มาใช้ทางคลินิกปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็ว เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยนี้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรักษานั่นเอง ยานี้มีราคาค่อนข้างแพง แม้ว่าผลข้าง
เคียงมีไม่มาก แต่พบว่าสามารถทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติได้ในผู้ป่วยบางราย รวมถึงการเปลี่ยนแปลง
ของเซลล์ไขกระดูกด้วย การใช้ยานี้จึงควรอยู่ในการดูแลใกล้ชนิดของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
การรักษาโรคมะเร็งของต่อมน้ำเหลืองด้วย Antibody
ปัจจุบันเรามีประสบการณ์ที่จะใช้สารภูมิคุ้มกัน (Antibody) ต่อ CD-20 recepter ของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ชนิด B-Cell อย่างได้ผล ยานี้โดยตัวเองสามารถนำมาใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B-Cell ได้อย่างได้ผล
และมีผลข้างเคียงน้อยมาก โดยจะใช้เดี่ยวหรือร่วมกับยาเคมีบำบัดก็ได้ ยาที่มีชื่อว่า Rituximab ซึ่งเชื่อว่ายาจะ
ไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เกิดขบวนการตายของเซลล์ (Program Cell Death) ทำให้รักษาหรือควบคุมเซลล์มะเร็ง
ได้ ยาในกลุ่มนี้ได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง โดยการเพิ่มสารกัมมันตรังสีไอโอดีนเข้าไปที่ Antibody เพื่อที่ยาจะเข้า
ไปจับเฉพาะกับเซลล์มะเร็ง และรังสีที่มีขนาดน้อยๆ นี้จะไปฆ่าเซลล์มะเร็งในเฉพาะที่อย่างได้ผล ในงานวิจัย
ของยาในรุ่นใหม่นี้ พบว่าสามารถทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากไขกระดูกได้หมดในผู้ป่วยบางราย
ยา Rituximab เองมีจำหน่ายและใช้ในประเทศไทยแล้วแต่ราคาเป็นปัญหา เพราะมีราคาแพง จึงควร
จะต้องพิจารณาเลือกใช้ให้ถูกกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
การใช้วัคซีนในการรักษาโรคมะเร็ง
บทบาทในการใช้ และการพัฒนาวัคซีนเพื่อรักษาโรคมะเร็งนี้เกิดมาจากความรู้ที่ว่าถ้าเราสามารถเพิ่ม
ประสิทธิภาพของเซลล์ภูมิต้านทาน (Cellular Immune Response) ให้มีความจำเพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งแล้ว
จะทำให้ร่างกายมีความสามารถที่ทำลาย หรือควบคุมเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลเหล่านี้สามารถ
แสดงให้เห็นได้ในสัตว์ทดลอง วัคซีนปัจจุบันนี้มี 2 แบบใหญ่ ๆ ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
1. วัคซีนโดยใช้เซลล์มะเร็ง (Tumor Vaccine) การที่เราทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนตัวลง หรือตาย รวมถึง
หมดสภาพที่จะขยายพันธุ์ต่อไป , หรืออาจจะเป็นเพียงบางส่วนของเซลล์ หรือสารจากเซลล์มะเร็ง (Peptide) เพื่อ
กระตุ้นหรือสอนให้ภูมิต้านทานของผู้ป่วยสามารถต่อต้าน หรือกำจัดเซลล์มะเร็งได้ ขบวนการนี้ได้นำมาทดลอง
ในการรักษาโรคมะเร็งของผิวหนัง melanoma , มะเร็งของเต้านม , มะเร็งของลำไส้ใหญ่ และมะเร็งของต่อม
น้ำเหลือง , การศึกษาวิจัยกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่มีบางรายงานที่แสดงว่าการใช้วัคซีนที่กระตุ้นจาก
เซลล์มะเร็งของผู้ป่วยเองสามารถทำให้ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่มีชีวิตที่ยืนยาวออกไป หรือช่วยป้องกัน
การกลับคืนมาของมะเร็งได้บางส่วน คงจะต้องติดตามดูบทบาทเหล่านี้ของวัคซีนชนิดนี้ต่อไป
2. การใช้ Dendritic Cell Vaccine , Dendritic Cell (DC) เป็นเซลล์ที่มีหน้าที่สำคัญในการส่งป้อนข้อมูล
เกี่ยวกับสิ่งแปลกปลอมให้กับระบบภูมิต้านทานของร่างกาย โดยเฉพาะทางด้าน Cellular Immune System หรือ
T-Cell DC เป็นตัวกระตุ้น T-Cell ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทำให้ T-Cell สามารถเรียนรู้ว่าเซลล์แปลกปลอม
หรือเซลล์มะเร็งเป็นอย่างไร และยังผลให้ T-Cell มีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น DC เป็นเซลล์
ที่มีอยู่ในร่างกายสามารถกระตุ้นได้ด้วยสาร Cytokine บางตัวให้เพิ่มปริมาณ DC ในร่างกาย การที่จะป้อนข้อมูล
ผ่าน DC เป็นขบวนการที่ไม่ซับซ้อนนัก เช่นการใช้ peptide หรือสารสกัดจากมะเร็งของเต้านมต่อ DC ในหลอด
ทดลอง และนำกลับไปฉีดคืนให้ผู้ป่วยเพื่อสารภูมิต้านต่อมะเร็งของเต้านม, การใส่ยีนส์บางชนิดที่เป็นส่วนสำคัญ
ของเซลล์มะเร็งเข้าไปใน DC แล้วให้ DC แสดงส่วนของยีนส์นี้ออกมาที่ผิวของเซลล์แล้วนำไปสอนหรือป้อนให้
กับ T-Cell เพื่อสุดท้ายทำให้ T-Cell มีประสิทธิภาพที่จะทำลายเซลล์มะเร็งเฉพาะชนิดนั้นๆ ได้ ขบวนการนี้คือ
“Gene Therapy” หรือ การรักษาด้วยยีนส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภูมิต้านทานโรคต่อมะเร็งร้ายนั่นเอง
โดยสรุป การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ขบวนการใหม่นำไปสู่ผลลัพธ์ของ
การรักษาโรคมะเร็งให้ดีขึ้น , การรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด , ฉายรังสี หรือการให้เคมีบำบัดอาจจะไม่ใช่
เป็นเพียงหนทางเดียวที่จะรักษาโรคนี้ ท่านต้องถามตัวท่านเองว่าเราได้ศึกษาหาวิธีการรักษา (Option) ได้ครบ
ถ้วนหรือยัง, ผู้ป่วย คือ ผู้ที่ต้องการความกระจ่าง และต้องการทราบแนวทางที่เราสามารถจะให้ได้เพื่อตัวของ
ผู้ป่วยเอง แพทย์และผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นต้องค้นหาคำตอบเหล่านี้ตลอด จริงไหมครับ.