บทความสุขภาพ

Knowledge

หญิงมีครรภ์กับการรักษาทางทันตกรรม

หญิงมีครรภ์กับการรักษาทางทันตกรรม

โดย ท.พ.สุรชาติ หนุนภักดี

ผู้หญิงเมื่อตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของระบบฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางระบบสรีระต่างๆ ของร่างกายตามมา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพในช่องปากด้วย หญิงมีครรภ์จึงควรได้รับการดูแลทางทันตกรรมเป็นพิเศษ มิฉะนั้นจะเกิดโรคต่างๆ ในช่องปากได้


มีคำกล่าวโบราณที่ว่ามีลูก 1 คน เสียฟัน 1 ซี่ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการตั้งครรภ์และสุขภาพช่องปาก ปัจจุบันนี้เราพบว่า เมื่อมีการตั้งครรภ์จะมีการถ่ายเทแคลเซี่ยมจากกระดูกมารดาไปสร้างอวัยวะให้กับทารกในครรภ์ ดังนั้นกระดูกรองรับฟันจึงอ่อนแอลงและส่งผลถึงความแข็งในการยึดเหนี่ยวฟันด้วย


หญิงมีครรภ์ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาโรคเหงือกนั้นเป็นเพราะ ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สูงขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยตรงต่อหลอดเลือดขนาดเล็กของเหงือกทำให้สภาพของเหงือกเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเดือนที่ 2 ถึงเดือนที่ 8 เหงือกบริเวณฟันหน้าจะอักเสบมากกว่าฟันหลัง มีลักษณะบวมแดง เลือดออกง่าย ยิ่งถ้าหากสภาพช่องปากมีหินปูนอยู่แล้วหรือใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ และไม่รักษาสุขภาพช่องปากให้ดียิ่งทำให้สภาพเหงือกแย่ลงไปอีก บางรายเหงือกจะเป็นก้อนโตคล้ายเนื้องอก ก้อนเนื้อนี้จะโตอย่างรวดเร็วอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2 เซ็นติเมตร แต่ไม่มีอาการปวดเจ็บแต่ประการใด นอกจากจะไปขัดขวางการบดเคี้ยว ส่วนใหญ่เนื้องอกนี้จะหยุดโตเอง และลดขนาดลงหลังจากภาวะตั้งครรภ์ผ่านพ้นไปแล้วหลายเดือน แต่หากก้อนเนื้อขัดขวางการเคี้ยวอาหารมีเลือดออกง่ายอาจต้องทำการผ่าตัดออก


ผลกระทบทางอ้อมอีกทางหนึ่งของการตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก ซึ่งเป็นระยะที่มักจะแพ้ท้อง การอาเจียนจะทำให้น้ำย่อยจากกระเพาะซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดออกมาทำลายผิวเคลือบฟันได้ หญิงแพ้ท้องจะลำบากในการแปรงฟันเพราะ จะคลื่นไส้อาเจียนทุกครั้งที่แปรงฟัน บางคนอาจอยากทานของเปรี้ยว ของดอง หรือของหวาน ประกอบกับการละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากทำให้สภาพช่องปากแย่ลงไปอีก ความเครียด ความวิตกกังวล เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญโดยเฉพาะถ้าหากต้องมาทำฟันด้วยแล้วจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง


ความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจของหญิงมีครรภ์ ได้ส่งผลต่อสุขภาพช่องปากทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงมีครรภ์ต้องได้รับการดูแลรักษาทางทันตกรรมอย่างเหมาะสมและใกล้ชิด


การบำบัดทางทันตกรรมใดๆ ในช่วงไตรมาสแรก (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) ควรทำเฉพาะกรณีฉุกเฉิน หรือที่ทำง่ายๆ เช่น อุดฟัน ขูดหินปูน การถ่ายภาพรังสีเอ็กซเรย์ต้องได้รับการปกป้องร่างกายและครรภ์จากเสื้อตะกั่วและควรทำเฉพาะกรณีจำเป็นจริงๆ การรักษาที่ยุ่งยากขึ้นและใช้เวลานานๆ เช่น การใส่ฟันปลอม การรักษารากฟัน การอุดฟันยากๆ การรักษาโรคเหงือกที่รุนแรง ควรกระทำในระยะตั้งครรภ์ 4 ถึง 6 เดือน สำหรับในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ มารดาจะรู้สึกอึดอัดไม่สบาย การให้นอนราบนานๆ อาจเกิดสภาวะแทรกซ้อนได้จึงควรหลีกเลี่ยงการรักษาทางทันตกรรมในช่วงนี้ ยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆ ซึ่งการบำบัดทันตกรรมต้องกระทำช่วงเวลาสั้นๆ ให้พลิกตัวบ่อยๆมารดาไม่ควรเกร็ง ไม่ควรเครียด


ส่วนการให้ยาในทางทันตกรรมนั้น มีความปลอดภัยสูงไม่ว่าจะเป็นยาชาเฉพาะที่ หรือยาปฏิชีวนะจำพวก Penicillin, Erythromycin base หรือยาแก้ปวดจำพวก Paracetamol


กล่าวโดยสรุปแล้วหญิงมีครรภ์ส่วนใหญ่จะเกิดภาวะเหงือกอักเสบและฟันผุได้ง่ายกว่าคนปกติ จึงควรได้รับการรักษาและดูแลทางทันตกรรมอย่างใกล้ชิด ก่อนที่อาการของโรคจะเป็นมาก ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาคือ ช่วงตั้งครรภ์ 4-6 เดือน ซึ่งสามารถทำได้ทุกอย่างตั้งแต่อุดฟัน ถอนฟัน รักษารากฟัน รักษาโรคเหงือก การใช้ยาต่างๆ ก็มีความปลอดภัยเช่นกัน แต่ถ้าหากปล่อยปละละเลยจนกระทั่งทนไม่ไหวค่อยมารักษาในช่วง 6-9 เดือนของการตั้งครรภ์ การรักษาทางทันตกรรมก็จะมีความยุ่งยาก และมีข้อจำกัดหลายอย่าง.

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital