บทความสุขภาพ

Knowledge

ทันตแพทย์กับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านวารสาร 9 ทันโรคทุกท่าน ที่ขึ้นหัวเรื่องไว้ว่า “ทันตแพทย์กับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน”

นี้ไม่ได้หมายความว่าหมอฟันกำลังจะไปรักษาโรคกระดูกพรุน หรือเขียนบทความวิชาการเรื่องโรคกระดูก

พรุนแข่งกับอายุรแพทย์หรอกนะครับ ท่านผู้อ่านสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้ได้ในบทความอื่นๆ

ของวารสารฉบับนี้ แต่ในตอนนี้เราจะมาคุยกันเรื่องเกี่ยวกับสภาพในช่องปาก และการทำฟันในผู้ป่วยโรค

กระดูกพรุน



ดังที่ทราบกันแล้วว่าอุบัติการณ์ของโรคกระดูกพรุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกวัน และกำลังจะกลาย

เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็คงจะต้องมาพบหมอฟันกันบ้าง โดย

ทั่วไปลักษณะในช่องปากจากการตรวจทางคลินิกก็ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยสูงอายุทั่วไปนัก แต่พอถ่ายภาพรังสี

ออกมาจะพบว่ากระดูกขากรรไกรจะอ่อนแอกว่าปกติ คือมีการบางตัวลงของชั้นคอร์เท็กซ์ซึ่งเป็นชั้นกระดูก

หนา ในส่วนเสี้ยนใยกระดูกก็จะมีน้อยกว่าปกติเช่นกัน ซึ่งผมก็มีภาพรังสีให้ดูเทียบกับของผู้ป่วยปกตินะ

ครับ ในปี 1999 มีการศึกษาของ Kingsmill เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของกระดูกแขน

ส่วนปลายกับความหนาของกระดูกขากรรไกรล่างส่วนที่รองรับฟัน พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน

กล่าวคือในรายที่มีความหนาแน่นของกระดูกแขนน้อย ก็จะมีความหนาของกระดูกขากรรไกรล่างน้อยด้วย

นอกจากนี้ยังมีรายงานของ Jonasson และคณะในปีเดียวกันพบว่าชั้นคอร์เท็กซ์ของกระดูกขากรรไกร

ล่างของผู้ป่วยจะมีลักษณะรูพรุนมากกว่าปกติ และการสูญเสียมวลกระดูกของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นตามอายุโดย

จะพบในผู้ป่วยหญิงมากกว่าผู้ป่วยชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่อายุเกิน 50 ปี เป็นการอธิบายผลการ

ศึกษาในสหรัฐอเมริกาซึ่งพบว่า ในผู้หญิงมักจะสูญเสียฟันก่อนผู้ชายแม้ว่าจะดูแลฟันดีกว่าก็ตาม การที่

กระดูกขากรรไกรบางกว่าปกตินี้เคยมีรายงานว่าเวลากระทบกระแทก บดเคี้ยวอาหารแข็งๆ ก็อาจทำให้

กระดูกหักได้ ดังนั้นทันตแพทย์จึงต้องระมัดระวังอย่างมากเวลาถอนฟัน มิฉะนั้นก็อาจทำให้ขากรรไกร

หักได้



ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีโอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบ หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่าโรครำมะนาด

มากกว่าผู้ป่วยปกติ หลังจากสูญเสียฟันไปแล้วก็จะมีการละลายตัวของกระดูกขากรรไกรเร็วกว่าปกติ การ

จะบูรณะฟันด้วยทันตกรรมรากเทียม ก็ทำได้ค่อนข้างลำบากเนื่องจากการหายของกระดูกภายหลังการฝัง

รากเทียมไม่ดีนัก แม้โรคกระดูกพรุนจะไม่เป็นข้อห้ามสำคัญสำหรับการทำรากเทียม และยังไม่มีการ

ศึกษาว่ามวลกระดูกต่ำกว่าเท่าใดจึงไม่สามารถฝังรากเทียมได้ แต่ผู้เขียนตำราทันตกรรมรากเทียม

ส่วนใหญ่รวมทั้งตัวผมเองด้วยก็เชื่อว่าภาวะกระดูกพรุนน่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการฝังรากเทียมอย่าง

แน่นอน



นอกจากประเด็นที่กล่าวมาแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักได้รับยาพวกแคลเซียมทดแทน ซึ่งยาเหล่านี้อาจ

ส่งผลต่อการดูดซึมหรือมีปฏิกิริยากับยาซึ่งหมอฟันเป็นผู้จ่ายก็ได้ จึงอาจต้องมีการปรับขนาดของยาหรือ

เปลี่ยนไปใช้ยาอื่นที่เหมาะสม ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมาพบทันตแพทย์ อาจยังไม่ได้รับการ

รักษาในทันทีเพราะต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลรักษาโรคกระดูกพรุนก่อน อาจต้องมีการส่งตรวจทางห้อง

ปฏิบัติการ ตรวจมวลกระดูก และการประเมินอื่นๆ เพื่อการวางแผนการรักษาร่วมกัน



สรุปได้ว่าโรคกระดูกพรุนนี้เป็นโรคที่สำคัญมากๆ และส่งผลมากต่อชีวิตประจำวัน แม้กระทั่งเรื่อง

เล็กๆ น้อยๆ เช่น การไปหาหมอฟันก็จะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าผู้ป่วยปกติ ดังนั้นทางที่ดีเรามา

ป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้กันจะดีกว่านะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital