บทความสุขภาพ

Knowledge

ไขข้อสงสัย สาเหตุการมีบุตรยาก

พญ. พิชชา ปิ่นจันทร์

ความหมายของภาวะมีบุตรยาก คือ การที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ทั้งๆที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอและไม่ได้คุมกำเนิด เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี


ภาวะมีบุตรยากแบ่งเป็น 2 ชนิด


  1. ชนิดปฐมภูมิ หมายถึง ไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน
  2. ชนิดทุติยภูมิ หมายถึง เคยตั้งครรภ์มาก่อน นับรวมการตั้งครรภ์ตามปกติ ท้องนอกมดลูก หรือการแท้ง และหลังจากนั้นไม่สามารถตั้งครรภ์ใหม่ได้

สาเหตุของฝ่ายชาย การสร้างอสุจิผิดปกติ


  • ลูกอัณฑะฝ่อ
  • ลูกอัณฑะไม่ลงมาในถุงอัณฑะ
  • โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ
  • การอุดตันของท่อน้ำเชื้อ
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • ความพิการแต่กำเนิด
  • การทำหมัน
  • ปัจจัยอื่นๆ ความร้อน ความเครียด
  • การมีเพศสัมพันธ์และการหลั่งน้ำเชื้อที่ผิดปกติ เช่น อวัยวะเพศไม่แข็งตัว อสุจิไหลย้อนกลับเข้ากระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของฝ่ายหญิง


  • ความผิดปกติของการเจริญของไข่และการตกไข่
  • ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง
  • ความผิดปกติของรังไข่ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง
  • ภาวะรังไข่ล้มเหลวจากการติดเชื้อ รังสี การผ่าตัดหรือ อายุ
  • โรคทางต่อมไร้ท่ออื่นๆ
  • ความผิดปกติในอุ้งเชิงกรานรวมทั้งท่อนำไข่
  • ท่อนำไข่อุดตันจากสาเหตุต่างๆ เช่น การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การทำหมัน การผ่าตัด
  • ความผิดปกติแต่กำเนิดของอวัยวะสืบพันธุ์
  • สาเหตุอื่นๆ เช่น ความเครียด

การตรวจหาสาเหตุ สำหรับฝ่ายชาย จะมีการตรวจร่างกายทั่วไป, การตรวจเลือด, การตรวจเชื้ออสุจิเพื่อทราบจำนวนการเคลื่อนไหว และรูปร่างของตัวอสุจิ ลักษณะต่างๆของอสุจิ,จำนวนของอสุจิ ตั้งแต่ 20 ล้านตัวต่อ 1 มิลลิลิตร, การเคลื่อนไหว ตั้งแต่ร้อยละ 50 หรือมากกว่า, รูปร่างของอสุจิ มากกว่าร้อยละ 30 ตามข้อกำหนดของ WHO หรือมากกว่าร้อยละ 15 ตาม strict criteria

ขณะที่ฝ่ายหญิงฝ่ายหญิง จำเป็นต้องตรวจร่างกายทั่วไป, การตรวจเลือด, การตรวจภายใน และมะเร็งปากมดลูก, การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด จะช่วยบอกความผิดปกติ เช่น เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก, เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่


การตรวจการตกไข่


การตรวจท่อนำไข่ มี 2 วิธี เช่น การฉีดสีเอ๊กซเรย์ และการผ่าตัดผ่านกล้อง แต่ละวิธีจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป


การรักษาเบื้องต้น


  • รักษาตามสาเหตุ เช่น ถุงน้ำช็อกโกแลต เนื้ออกมดลูกขนาดใหญ่หรือกดเบียด โพรงมดลูก ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง
  • รักษาสุขภาพทั่วไป
  • ไม่เครียด
  • ถ้าน้ำหนักตัวมากและประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ควรลดน้ำหนักประมาณร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัว

อย่างไรก็ตามกรณีที่ไดัรับการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดแล้ว ยังไม่สามารถมีบุตรเองได้ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จะเป็นขั้นตอนต่อไป

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. พิชชา  ปิ่นจันทร์

พญ. พิชชา ปิ่นจันทร์

ศูนย์สูตินรีเวช

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital