บทความสุขภาพ

Knowledge

ออฟฟิศซินโดรม รักษาได้ผลดีตั้งแต่ครั้งแรก ด้วยเทคนิค PMS

นพ. ปรมินทร์ ชัยวิบูลย์ผล

หากพูดถึงกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมแล้ว คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเป็นกลุ่มอาการของคนยุคใหม่ ที่มักต้องทำงานแบบประจำอยู่กับที่ มีการเคลื่อนไหวน้อย หรือมักต้องเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในลักษณะเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นประจำ


แต่เมื่อพูดถึงวิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลดีนั้น จะมีใครรู้หรือไม่ว่า Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) หรือการรักษาด้วยเทคนิคการกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นวิธีการรักษาหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ในการบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรมอย่างได้ผล


https://www.praram9.com/officesyndrome/

Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) คืออะไร


Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) คือ วิธีการกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเทคนิคการบำบัดรักษาอาการปวด ชา และอาการทางประสาทต่าง ๆ ด้วยการส่งคลื่นไปกระตุ้นเนื้อเยื่อ และการไหลเวียนของเลือดในตำแหน่งนั้น ๆ โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของอวัยวะโดยรอบ


หลักการทำงานของ Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)


peripheral-magnetic-stimulation-1.jpg

การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยเครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS มีหลักการทำงาน คือ เครื่องจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความแรงสูง ทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปจนถึงกระดูกหรือกล้ามเนื้อชั้นลึก ๆ ที่ต้องการกระตุ้น


จากนั้น เครื่องจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดเกิดการหดและคลายตัวสลับกันตามความถี่ที่กำหนดไว้ คล้ายกับการสั่นที่กล้ามเนื้อ จึงช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่ถูกกระตุ้น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายในขณะรักษา


นอกจากนี้ PMS ยังช่วยฟื้นฟูความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของระบบประสาท (Neuroplasticity) ที่ผิดปกติให้กลับมาเป็นปกติได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดเรื้อรังของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี


ความเป็นมาของนวัตกรรมการรักษาโรคด้วย PMS


การใช้เครื่องมือกระตุ้นด้วยแม่เหล็กเพื่อการรักษาได้มีมาอย่างยาวนาน แต่ในอดีตอุปกรณ์ที่สร้างคลื่นแม่เหล็ก ให้คลื่นแม่เหล็กได้ต่ำมาก และยังไม่ทะลุทะลวง ทำให้การรักษายังไม่ได้ผลดีนัก


ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่ผลิตคลื่นแม่เหล็กความแรงสูงได้แล้ว จึงเริ่มมีการนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคสมองและระบบประสาท ในรูปแบบของเครื่องที่สร้างสนามแม่เหล็กกำลังสูงไปกระตุ้นสมอง เรียกเทคนิคดังกล่าวว่า Transcranial Magnetic Stimulation หรือ TMS


คลิกอ่านรายละเอียดการรักษาด้วย TMS เพิ่มเติม


ในภายหลังได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องส่งคลื่นแม่เหล็กให้มีกำลังที่แรงมากขึ้น ใช้งานได้สะดวกขึ้น และทนความร้อนได้ดียิ่งขึ้น เพื่อนำมาใช้กับการกระตุ้นตามส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกายเพื่อการบำบัดรักษาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกเทคโนโลยีใหม่นี้ว่า Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นั่นเอง


กลุ่มโรคหรืออาการ ที่ PMS สามารถช่วยรักษาได้


peripheral-magnetic-stimulation-2.jpg

PMS ถูกใช้ในการบำบัดรักษากลุ่มโรคและอาการต่าง ๆ ดังนี้


  1. ใช้รักษาออฟฟิศซินโดรม และอาการปวดต่าง ๆ: ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเฉียบพลัน หรืออาการปวดเรื้อรังที่มาจากการใช้งานกล้ามเนื้อในลักษณะซ้ำ ๆ เป็นประจำอย่างออฟฟิศซินโดรม ก็สามารถรักษาได้โดยใช้ PMS โดยเห็นผลทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มเข้าไปรักษาเลย
  2. กลุ่มอาการชา : ไม่ว่าจะเป็นมือชา ขาชา เท้าชา ซึ่งเป็นผลมาจากเส้นประสาทถูกกดทับ ความผิดปกติของปลายประสาท หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โดยพบว่า PMS สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นประมาณ 50-100% เลยทีเดียว
  3. อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา : หากเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก เช่น อาการเคล็ดขัดยอกต่าง ๆ เราสามารถใช้ PMS เพื่อกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมระบบประสาทส่วนที่มีการเสียหายให้กลับมาเป็นปกติได้เร็วยิ่งขึ้น
  4. กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง : โดยพบว่าคลื่นแม่เหล็กสามารถใช้ในการกระตุ้นลงลึกได้ถึงรากประสาทโดยตรง อีกทั้งยังช่วยเร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่บาดเจ็บการกดทับรากประสาทที่คอและเอวจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือเสื่อมได้อีกด้วย
  5. กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต จากหลอดเลือดสมอง: เราสามารถใช้ PMS เพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้ เพราะการยิงคลื่นแม่เหล็กกระตุ้น จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและชะลอการฝ่อของกล้ามเนื้อ และยังช่วยลดอาการเกร็งของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

นอกจากนี้ PMS ยังช่วยในการฟื้นฟูระบบประสาทส่วนที่เสียหายไปได้ด้วย โดยแพทย์จะใช้คลื่นกระตุ้นตามแนวเส้นประสาทและกล้ามเนื้อบริเวณที่มีปัญหา แต่จะได้ผลเร็วหรือช้าแค่ไหนนั้น จะขึ้นอยู่กับรอยโรคในสมองของผู้ป่วยแต่ละคน


ทำไมถึงควรใช้เทคโนโลยี PMS ในการรักษาออฟฟิศซินโดรม


เมื่อมีการนำ PMS ไปใช้งานเพื่อการรักษาออฟฟิศซินโดรมแล้ว พบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาดีเยี่ยม โดยสามารถสรุปข้อดีของเทคโนโลยีดังกล่าวได้ดังนี้


peripheral-magnetic-stimulation-3.jpg

ประโยชน์ในแง่การรักษา


  1. รักษาได้ทั้งอาการและสาเหตุของการปวดเฉียบพลัน ปวดกึ่งเฉียบพลัน และปวดเรื้อรัง
  2. รักษาได้ทั้งอาการปวดที่มาจากระบบประสาท และอาการปวดที่ไม่ได้มาจากระบบประสาท เช่น อาการปวดจากกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก
  3. ช่วยกระตุ้นให้มีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
  4. ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมส่วนของประสาทที่เสียหาย เช่น เส้นประสาทแขนขา มือตก เท้าตก แขนขาอ่อนแรง การกดทับรากประสาทที่คอและหลัง (ที่เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือเสื่อม) เป็นต้น
  5. ช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างของเส้นประสาท (neuroplasticity) ที่มีพฤติกรรมผิดเพี้ยนไปจากปกติ ให้กลับมาเป็นปกติ เช่น อาการปวดเรื้อรังจากโรคทางกล้ามเนื้อและกระดูกต่าง ๆ อาการปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
  6. รักษาหรือลดอาการชาได้
  7. มีส่วนในการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อได้ แม้แต่กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตหรือมีอาการอ่อนแรง

ประโยชน์ในแง่ความสะดวกสบายและความปลอดภัย


  1. ได้ผลทันทีหลังจากการรักษาครั้งแรก
  2. หากเป็นการรักษาต่อเนื่อง จะได้ผลลัพธ์ที่ดีมาก ๆ ตั้งแต่ครั้งแรก ๆ ทำให้ไม่ต้องมาบ่อย
  3. จำกัดวงในการรักษาได้ดี ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ
  4. ใช้ระยะเวลาในการรักษาค่อนข้างสั้น ประมาณครั้งละ 5-30 นาที หรือราว ๆ 2-5 นาทีต่อ 1 จุดการรักษา

เมื่อพิจารณาจากประโยชน์ต่าง ๆ แล้ว จะเห็นได้ว่า ในแง่ของความสะดวกสบายในการรักษาออฟฟิศซินโดรมนั้น การรักษาด้วยเทคนิค PMS นับว่าตอบโจทย์กลุ่มคนทำงานที่มีเวลาไม่มากได้ดีทีเดียว


ขั้นตอนการรักษาออฟฟิศซินโดรม โดยใช้เทคนิค PMS


แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมการรักษาให้ ขึ้นอยู่อาการหรือบริเวณที่ผู้ป่วยรู้สึกปวด โดยปกติแล้ว การรักษาออฟฟิศซินโดรมโดยใช้เครื่อง PMS นั้น จะใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ไม่เกิน 30 นาที


แพทย์จะเป็นผู้ประเมินให้ว่า อาการของแต่ละคน ต้องทำการยิงคลื่นกระตุ้นที่กล้ามเนื้อมัดไหนอย่างไรบ้างตามความเหมาะสม แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะให้กระตุ้นไปยังกล้ามเนื้อมัดที่มีปัญหาโดยตรงก่อน แล้วค่อยกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ บริเวณใกล้เคียงกัน


ขั้นตอนการรักษานั้นก็ไม่ยุ่งยาก ผู้ป่วยเพียงแค่นอนลง แพทย์หรือนักกายภาพจะใช้ส่วนหัวคอยล์ของเครื่องทาบลงบนกล้ามเนื้อส่วนที่ต้องการรักษา แล้วค่อย ๆ เลื่อนไปมา (จุดหนึ่งใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที) ซึ่งผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บอะไรเลย จะรู้สึกเพียงว่ามีอะไรมา กระทบเป็นจังหวะ “ตึก ๆ ๆ” ในตำแหน่งที่มีการยิงคลื่นเท่านั้นเอง


ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงของการใช้ PMS


ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น: การรักษาออฟฟิศซินโดรม ด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นนั้น มีโอกาสทำให้กล้ามเนื้อระบมหรือเป็นตะคริวได้ หลังจากเข้ารับการรักษาประมาณ 2-3 วัน แต่หลังจากนั้นจะกลับมาเป็นปกติ


ความร้อนจากการเหนี่ยวนำด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า: เทคนิคการยิงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดความร้อนสะสมที่วัสดุโลหะต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ ได้ จึงมีข้อแนะนำว่า ให้ถอดอุปกรณ์หรือโลหะต่าง ๆ ออกให้หมดก่อนเข้ารักษาออฟฟิศซินโดรม ไม่ว่าจะเป็น หัวเข็มขัด กระดุมบนกางเกง เป็นต้น


ใครที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยเทคนิค PMS ได้


  • ผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์หรือโลหะต่าง ๆ ติดตั้งอยู่ในตัว เช่น ผู้ป่วยที่มีการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ผู้ป่วยที่มีคลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะติดตัว ในบริเวณที่จะทำการรักษา
  • ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติลมชัก

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดระบมมาก ๆ ในวันที่เข้ารับการรักษา แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยวิธีอื่นแทน เนื่องจากการใช้คลื่นแม่เหล็กกระตุ้น อาจยิ่งไปเพิ่มความระบมแก่ผู้ป่วยได้


หากสนใจรักษาออฟฟิศซินโดรม ต้องทำอย่างไร


peripheral-magnetic-stimulation-4.jpg

นอกเหนือจากเทคนิคการรักษาด้วย PMS แล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการทำกายภาพบำบัดควบคู่กันไปด้วย เพราะจะได้ฝึกการใช้งานกล้ามเนื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์การรักษาออฟฟิศซินโดรมโดยรวมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด


นอกจากนี้ ควรมองหาสถานที่รักษาออฟฟิศซินโดรม ที่มีแนวทางทางเลือกการรักษาที่หลากหลาย เพื่อที่จะได้ทำการบำบัดรักษาควบคู่กันไป ให้สอดคล้องกับสภาพและอาการของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมที่สุด


ผู้สนใจควรศึกษาแนวทางในการรักษาของสถานที่รักษา ว่ามีแพ็คเกจการรักษาหรือข้อเสนอต่าง ๆ ที่หลากหลายพอหรือไม่? เพราะการรักษาออฟฟิศซินโดรมที่เหมาะสมนั้น ควรเป็นการรักษาหลายวิธีควบคู่กัน


สรุป


Peripheral Magnetic Stimulation หรือ PMS เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้การส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อบำบัดอาการปวดและชา และกระตุ้นฟื้นฟูเนื่อเยื่อและประสาทส่วนปลายที่เสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เมื่อนำเทคนิคนี้มาใช้ในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว พบว่าได้ผลดีตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ และเหมาะกับการใช้รักษาอย่างต่อเนื่องด้วย เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมาทำการรักษาบ่อย ๆ แต่มีข้อแนะนำว่า ควรรักษาควบคู่กันไปกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีที่สุด

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ปรมินทร์ ชัยวิบูลย์ผล

นพ. ปรมินทร์ ชัยวิบูลย์ผล

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital