บทความสุขภาพ

Knowledge

หินปูนหลอดเลือดหัวใจ ภัยมืดที่เราไม่รู้!

นพ. อนุพงษ์ ปริณายก

การตรวจหาว่าเราเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบหรือไม่นั้น เราควรเข้าใจว่าเส้นเลือดหัวใจตีบได้อย่างไร เพื่อวางแผนดูแลสุขภาพและการตรวจรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป


เข้าใจสาเหตุของการตีบตัน


หลายคนอาจเข้าใจว่าปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบเกิดขึ้นเฉพาะเมื่ออายุมาก แต่แท้จริงแล้วเส้นเลือดหัวใจไม่ได้เกิดปัญหาเมื่อเราเข้าสู่วัยสูงอายุ แต่ความเสี่ยงเริ่มเกิดตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเกิดเป็นรอยไขมันเกาะที่หลอดเลือดหัวใจ (fatty streak) และค่อยๆเปลี่ยนแปลงหนาตัวขึ้นเรื่อยๆจนเกิดเป็นรอยตีบของหลอดเลือดหัวใจ


นพ.อนุพงษ์ ปริณายก อายุรแพทย์โรคหัวใจ ประจำสถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า อธิบายว่า เมื่อเรามองลึกลงไปถึงสาเหตุ จะพบว่าปัญหาเริ่มต้นจากผนังหลอดเลือดด้านในมีการทำงานผิดปกติและมีการอักเสบเกิดขึ้น จากโรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรืออาจเกิดจากพฤติกรรม เช่น การสูบบุหรี่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวการที่ทำให้ผนังหลอดเลือดผิดปกติและเกิดการอักเสบง่ายขึ้น เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้น ไขมันคลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (oxidized LDL cholesterol) จะแทรกเข้าไปสะสมในผนังหลอดเลือดและมีเซลล์ของร่างกายมาจับกิน เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดรอยตีบและหินปูนขึ้นในผนังหลอดเลือดหัวใจ รอยตีบนี้ถ้าเกิดการปริแตกจะเกิดลิ่มเลือดขึ้นและไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน (heart attack) ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ก็ขึ้นกับว่าคนไข้จะมาถึงโรงพยาบาลได้เร็วแค่ไหน แพทย์จะช่วยได้ทันเวลาหรือไม่ ซึ่งทางที่ดีเราไม่ควรปล่อยให้มาถึงจุดนี้เลย


CT-coronary-calcium-score-1.jpg

โดย นพ.อนุพงษ์ เน้นย้ำให้เห็นว่า กระบวนการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจจะเกิด “หินปูน” ขึ้นมา ถ้าเราสามารถตรวจพบหินปูนนี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เราจะสามารถหยุดกระบวนการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจได้ หรืออย่างน้อยที่สุดเราก็สามารถชะลอการตีบออกไปได้


เทคโนโลยีการตรวจที่ตรงจุดมากที่สุด


ปัจจุบันเราสามารถตรวจหาหินปูนของหลอดเลือดหัวใจได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ ( CT coronary calcium score) โดยไม่ต้องฉีดสีหรือเจ็บตัวแต่อย่างใด การตรวจหาหินปูนของหลอดเลือดหัวใจเป็นการตรวจที่ตรงจุดมากที่สุดตามกระบวนการเกิดของโรค ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ง่ายและมีผลเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้


“การตรวจเลือดเพื่อดูเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง คงไม่เพียงพอที่จะยืนยันว่าเส้นเลือดหัวใจของเรายังดีอยู่จริงหรือไม่ หินปูนของหลอดเลือดหัวใจจึงมีความสำคัญอย่างมากครับ” นพ.อนุพงษ์ กล่าว


CT-coronary-calcium-score-2.jpg

ตามมาดูการตรวจ “CT Coronary Calcium Score”

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. อนุพงษ์  ปริณายก

นพ. อนุพงษ์ ปริณายก

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital