บทความสุขภาพ

Knowledge

คนอายุน้อย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำไมยังเสี่ยง…หัวใจหยุดเต้นฉับพลัน!

ปัจจุบันเรามักพบเห็นข่าวการเสียชีวิตของนักกีฬาที่ดูเหมือนมีร่างกายแข็งแรงดี หรือยังมีอายุไม่มากบ่อยครั้ง ทำให้เกิดคำถามถึงสาเหตุที่แท้จริงของภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันในนักกีฬาและคนหนุ่มสาว ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายหรือไม่ และควรมีวิธีการจัดการอย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและคนที่เรารัก


สาเหตุที่แท้จริงของภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน


พญ.พรพิชญา บุญดี อายุรแพทย์โรคหัวใจ ประจำสถาบันหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพระรามเก้า อธิบายว่า โดยปกติอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันจะสูงขึ้นตามอายุ กล่าวคือ พบได้ในสัดส่วนประมาณ 1:100,000 ในกลุ่มคนอายุน้อย เพิ่มขึ้นเป็น 50:100,000 ในวัยกลางคน และสูงถึง 200:100,000 ในผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป อีกทั้งเพศชายจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่มากกว่าเพศหญิง


สาเหตุหลักของภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันในคนอายุน้อยและไม่มีโรคประจำตัว คือ ความผิดปกติของการนำไฟฟ้าหัวใจและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ ซึ่งมักเป็นโรคทางพันธุกรรมที่อาจไม่มีอาการแสดงมาก่อน และผู้ป่วยอาจไม่เคยทราบว่าตนเองมีโรคหัวใจซ่อนอยู่


ในคนที่อายุมากกว่า 35 ปี สาเหตุหลักของการเกิดหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน คือ ภาวะหัวใจวายฉับพลันจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นการ ตีบ ตัน หรืออุดตันในหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากในวัยนี้มักจะพบโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงอื่นๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจที่มากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน รวมถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ เป็นต้น ส่วนสาเหตุอื่นที่พบรองลงมาได้แก่ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและโรคที่มีโครงสร้างหัวใจผิดปกติ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และ โรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น


สัญญาณเตือนจากร่างกาย


อาการแสดงที่ควรมาพบแพทย์ คือ อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือ ออกกำลังกายแล้วมีความผิดปกติเช่น วิงเวียน วูบ เจ็บหน้าอก เป็นลม ใจสั่น หายใจไม่สะดวก หรือเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงโรคหัวใจ ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายและอาจพิจารณาส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน ส่วนในรายที่สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว สามารถตรวจวินิจฉัยได้ โดยการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจและตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจต่อไป


โรคหัวใจกับการออกกำลังกาย


บางครั้ง การออกกำลังกายอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้ แต่อุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจในนักกีฬานั้นพบได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับประโยชน์มหาศาลที่ได้จากการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็น การช่วยลดความเสี่ยงโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน อ้วน ซึมเศร้า อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความหนาแน่นมวลกระดูก ลดภาวะหลงลืม รวมถึงช่วยเพิ่มความสุขจากการหลั่งสารเคมีในสมองอีกด้วย


“หมอจึงไม่อยากให้ทุกคนตระหนกจากข่าวเรื่องการเสียชีวิตของนักกีฬาจนเกินไป จนไม่กล้าออกกำลังกายกันนะคะ” พญ.พรพิชญา บุญดี กล่าว


Praram-9-Star-Doctors-pic-2-1.jpg

อุปกรณ์สำคัญในการกู้ชีพ


สุดท้ายนี้ หากพบเห็นคนที่ล้มลงและหมดสติขณะออกกำลังกาย สิ่งแรกที่ต้องทำคือการประเมินสถานการณ์และประเมินว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันหรือไม่ ก่อนเริ่มการช่วยเหลือด้วยการปั๊มหัวใจ (CPR) เพื่อฟื้นคืนชีพหัวใจให้ไวที่สุด พร้อมทั้งรีบขอความช่วยเหลือจากทีม โดยการโทรแจ้งสายด่วน 1669 และขอให้นำเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ หรือ เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) มาด้วย เนื่องจาก การใช้เครื่อง AED ร่วมกับการทำ CPR ที่มีประสิทธิภาพสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตจาก 12% เป็นมากกว่า 50% เลยทีเดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital