บทความสุขภาพ

Knowledge

กลัวแดดมากไป… กระดูกพรุนไวไม่รู้ตัว!

“เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกด้วยวิตามินดี”


ข้อมูลจากการศึกษาทางการแพทย์ชี้ให้เห็นโอกาสที่ดีในการดูแลสุขภาพกระดูก นพ.พีรพงษ์ สวัสดิพงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลพระรามเก้า แนะนำว่าการรับแสงแดดอย่างเหมาะสม เป็นวิธีง่ายๆ ที่ ช่วยเสริมสร้างวิตามินดีให้ร่างกาย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพกระดูก จากการศึกษาพบว่าแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเช้าและเย็นเป็นช่วงเวลาทองที่จะช่วยเสริมสร้างวิตามินดีให้ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ


โดย นพ.พีรพงษ์ สวัสดิพงษ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลพระรามเก้า เผยว่า


การศึกษาทางการแพทย์แสดงให้เห็นความสำคัญของแสงแดดต่อสุขภาพกระดูก โดยพบว่าแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าเป็นแหล่งวิตามินดีตามธรรมชาติที่ดีที่สุด เมื่อแสงแดดสัมผัสผิวหนัง ร่างกายจะสร้างวิตามินดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน


จากข้อมูลการตรวจสุขภาพในปัจจุบันคนไทยมีภาวะขาดวิตามินดีสูงมาก พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉลี่ยคนไข้ 100 คนจะตรวจพบว่าคนไข้มีภาวะขาดวิตามินดีประมาณ 30-40% มีสาเหตุมาจากคนไทยกังวลการถูกแสงแดดมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้กระดูกเปราะบางและเสี่ยงต่อการหักได้ง่ายจึงเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมสุขภาพกระดูกของคนไทย เพราะการรับแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเป็นวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดีตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการป้องกันโรคกระดูกพรุนและเสริมสร้างสุขภาพกระดูกที่ดีในระยะยาว


วิตามินดีคืออะไร? สำคัญกับโรคกระดูกพรุนอย่างไร?


“วิตามินดี” คือวิตามินที่มีความสำคัญต่อร่างกาย วิตามินดีเป็นตัวช่วยดูดซึมแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปเพื่อเสริมสร้างกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน ทั้งยังมีประโยชน์อื่น ๆ ที่คาดไม่ถึง เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ อีกทั้งยังคลายความเครียด ลดอาการโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย


Vitamin-D-Foods.jpg

วิตามินดีใกล้ตัวหาได้ง่าย ๆ จาก:


  • แสงแดดอ่อน ๆ (ช่วงเวลายามเช้า 06:00-09:00 ช่วงเวลาเย็น 16:00 น.เป็นต้นไป)
  • ปลาตัวเล็ก เช่น แซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล
  • ผักใบเขียวเข้ม
  • ผลไม้สีเหลือง สีส้ม
  • ตับ
  • เห็ด
  • นม ชีส
  • ไข่แดง

คนไทยอาจ “กระดูกพรุน” เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี


เมื่อคนไทยเกิดภาวะขาดวิตามินดี แน่นอนว่า “กระดูกของเรา” จะไม่แข็งแรง เปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยปกติร่างกายจะสามารถสร้างเซลล์กระดูกที่ดีและแข็งแรงได้ถึงอายุ 30 ปี แต่หลังจากนี้ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะค่อย ๆ เสื่อมถอยลง และเมื่อเข้าสู่วัย 60 ปี หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน กระดูกจะเปราะบางและหักง่าย มีการประมาณการว่าในปี 2568 จะมีผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในประเทศไทยมากถึง 3 หมื่นกว่าราย และเพิ่มขึ้นปีละ 2% จนในอนาคตอีก 25 ปี อาจมีผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมากถึง 5 หมื่นรายต่อปี โดยพบสัดส่วนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า


aw_rama9_content1_feb2025_edit4.jpg

โรคกระดูกพรุนใช้เวลาสะสมถึง “สิบปี”


“โรคกระดูกพรุน” เป็นเหมือนภัยเงียบ เพราะจะไม่แสดงอาการของโรค จนกว่าจะเกิดกระดูกหัก นพ.พีรพงษ์เปิดเผยข้อมูลต่อว่า จากการศึกษาทางการแพทย์ เริ่มมีการศึกษาเรื่องกระดูกพรุนอย่างจริงจังในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่า “อาการกระดูกหัก เปราะบาง ในผู้สูงอายุ และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน” คือ “โรคกระดูกพรุน” ที่สะสมมานานเป็นเวลาหลายสิบปี


“โรคกระดูกพรุน” เกิดจากการสลายของเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มวลกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง เปราะบางทำให้มีโอกาสกระดูกหักผิดรูปได้ง่าย ระยะเวลาในการเกิดโรคหลายปี โดยปกติในร่างกายคนเราจะมี “เซลล์สร้างกระดูกและเซลล์ทำลายกระดูก” ที่ทำหน้าที่สร้างและสลายกระดูกอย่างสมดุลกัน โดยเซลล์สร้างกระดูกจะทำหน้าที่นำแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมมาใช้สร้างกระดูกให้แข็งแรง แต่เมื่อกระดูกได้รับบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพตามอายุ เซลล์ทำลายกระดูกก็จะทำหน้าที่ย่อยสลายกระดูกในส่วนนั้น เพื่อให้เซลล์สร้างกระดูกมาทำหน้าที่สร้างกระดูกใหม่ชดเชยกระดูกส่วนที่ถูกสลายไป


“เซลล์สร้างกระดูกและเซลล์ทำลายกระดูก” ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้อย่างไร?

สรุป


โรคกระดูกพรุนมีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในคนไทย สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดวิตามินดีจากแสงแดด โดยเฉพาะในช่วงเช้าและเย็น ส่งผลให้มีภาวะขาดวิตามินดีสูง ทำให้กระดูกเปราะบาง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการหักของกระดูกเพราะวิตามินดีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ร่างกายผลิตวิตามินดีที่มีความจำเป็นอย่างมากในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกพรุน


การป้องกันกระดูกพรุนสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการรับแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงเช้าและเย็น รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีให้เพียงพอ


โรคกระดูกพรุนถือเป็นภัยเงียบที่ใช้เวลาสะสมเป็นเวลานานถึงสิบปี โดยส่วนมากกว่าจะรู้ตัวว่าตัวเองกระดูกพรุนก็อาจกระดูกหักไปแล้ว เพราะเมื่อเป็นแล้วจะทำให้กระดูกเปราะบางและหักง่ายจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง หากกระดูกหักในส่วนที่สำคัญมาก ๆ เช่น สะโพกหัก หรือหกล้มโดนส่วนที่สำคัญก็อาจทำให้ทุพพลภาพหรือเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีการดูแลสุขภาพกระดูกตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันภาวะนี้ในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital