บทความสุขภาพ

Knowledge

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพในยุค New Normal

พญ. พิมธิดา เลิศขจรสิน

เราตรวจสุขภาพเพื่ออะไร


การตรวจสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพเป็นการตรวจเพื่อจะทำให้เรารู้ถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อสุขภาพของเราในอนาคตได้ก่อนที่เราจะเป็นโรค อาจตรวจพบโรคบางอย่างได้โดยบังเอิญในการตรวจสุขภาพ โดยที่โรคเหล่านั้นยังไม่แสดงอาการให้เห็นเพราะเรามีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดีพอ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ชอบทานหวานชอบทานเค็ม ชอบทานของที่มีไขมันสูง และพฤติกรรมที่ไม่ชอบออกกำลังกาย


ดังนั้น หากเรารู้ตัวก่อนว่าตอนนี้เรามีปัจจัยเสี่ยงอะไรที่ต้องดูแลป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคในอนาคตย่อมดีกว่าการรอให้มีอาการหรือเป็นโรคก่อนแล้วค่อยมารักษา

ผลดีกว่าทั้งในด้านสุขภาพที่แข็งแรงและผลดีกว่าด้านค่าใช้จ่ายในดูแลรักษา


การตรวจสุขภาพที่ดีคือ ควรตรวจตามอายุ ตามความเสี่ยงโรคเรื้อรังในครอบครัว และตามลักษณะพฤติกรรมสุขภาพของแต่ละบุคคล


  • เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนแสดงอาการ เพราะถ้ารออาการแสดง..อาจช้าเกินไป
  • ตรวจหาโรคที่เป็น “ภัยเงียบ” ตั้งแต่ที่ยังไม่แสดงอาการ
  • ตรวจก่อนการเกิดโรค เพื่อวางแผนดูแลรักษาได้ทันท่วงที ผลการรักษาจะดีตามหรือรู้วิธีปฏิบัติตัวให้เหมาะสมในการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้มากกว่า

การตรวจสุขภาพมีความจำเป็นอย่างไร


การตรวจสุขภาพ ควรตรวจตั้งแต่ก่อนที่จะมีอาการ เพื่อจะได้รับการดูแลรักษา ป้องกัน การเกิดโรคในอนาคต การตรวจสุขภาพเป็นสัญญาณของร่างกายในการบ่งบอกให้เราทราบว่า การใช้ชีวิตตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา การใช้ชีวิตของเรา การทานอาหาร Lifestyle ตลอดปีที่ผ่านมา ดีหรือไม่ ถูกต้องเหมาะสมกับร่างกายหรือไหม เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และเพื่อหาปัจจัยในการเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิต และหาแนวทางในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และป้องกัน


ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงกลัวการตรวจสุขภาพ


เกิดจากกลัวว่าจะเจอความผิดปกติของร่างกาย กลัวการเจาะเลือด กลัวเจ็บในกระบวนการตรวจ กลัวการเสียเงิน


เมื่อไรที่เราควรตรวจสุขภาพ


การตรวจสุขภาพที่ถูกต้องนั้น “ไม่ใช่การตรวจเพื่อมุ่งค้นหาว่าเป็นโรคอะไร” แต่เป็นการ“ตรวจตั้งแต่ขณะยังไม่ป่วย เพื่อเน้นค้นหาปัจจัยเสี่ยงความเป็นไปได้ว่าอาจจะป่วยด้วยโรคอะไร และเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากปัจจัยเสี่ยงนั้น” และภายหลังการตรวจสุขภาพ แพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ เพื่อบอกแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อโรคให้เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของแต่ละคน


“ควรฟังผลตรวจสุขภาพ เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง”


การตรวจสุขภาพมีประโยชน์อย่างไร


การตรวจสุขภาพเหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย และการตรวจสุขภาพยังสามารถช่วยประเมินพฤติกรรมสุขภาพ จะช่วยให้ค้นพบปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคในอนาคตได้ เมื่อพบปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ จะได้ทำการวางแผนในการดูแลปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงให้ดีขึ้น เพื่อป้องกันความรุนแรงของการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี


ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจสุขภาพ


  • งดอาหาร 8-10 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจสุขภาพ
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชม.ก่อนตรวจสุขภาพ
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ
  • คุณผู้หญิงไม่ควรมีประจำเดือนในช่วงตรวจสุขภาพ
  • งดการตรวจเอกซเรย์ในช่วงตั้งครรภ์

9 ขั้นตอน การตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพระรามเก้า


  1. การลงทะเบียนทำประวัติ
  2. การชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง สัญญาณชีพ
  3. การทวนสอบข้อมูลและแจ้งรายละเอียดโปรแกรมการตรวจสุขภาพ
  4. การเจาะเลือดเปลี่ยนเสื้อผ้า
  5. รับการตรวจต่าง ๆ ตามโปรแกรมการตรวจสุขภาพของท่าน
  6. การตรวจทางนรีเวช (สำหรับสุภาพสตรี)
  7. เปลี่ยนเสื้อผ้ารับประทานอาหารได้ระหว่างรอพบแพทย์
  8. พบแพทย์ตรวจร่างกาย พร้อมฟังผล
  9. ติดต่อฝ่ายการเงินเพื่อชำระค่าบริการ

การตรวจสุขภาพตั้งแต่ก่อนมีอาการ โดยตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นการวางแผนการบริหารปัจจัยเสี่ยงต่อโรคที่จะเกิดในอนาคตได้ เป็นการช่วยป้องกันความรุนแรงของการเกิดโรคในอนาคตก่อนการแสดงอาการของโรค และ เป็นการตรวจคัดกรองโรคบางอย่างได้เร็วก่อนที่จะมีอาการแสดง


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. พิมธิดา เลิศขจรสิน

พญ. พิมธิดา เลิศขจรสิน

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital