บทความสุขภาพ

Knowledge

ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อรู้ทันโรคร้ายที่อาจมาเยือนโดยไม่รู้ตัว

พญ. พิมธิดา เลิศขจรสิน

หลายๆ คนอาจละเลยการตรวจสุขภาพประจำปี แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปแบบวิถีชีวิตในปัจจุบัน ทำให้เราเสี่ยงต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคภัย ทั้งการพักผ่อนน้อย ความเครียด อาหาร และมลภาวะต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญ


การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการตรวจที่ช่วยให้เรารู้ทันสภาพร่างกายของเรา ที่สำคัญหากตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ทำให้มีโอกาสรักษาหายขาดได้ ไม่ปล่อยให้โรคลุกลาม


การตรวจสุขภาพประจำปี สำคัญอย่างไร?


จุดประสงค์หลักของการตรวจสุขภาพประจำปี คือ


  1. ตรวจคัดกรองเบื้องต้นตามปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล โดยตรวจหาโรคแฝงที่เราเสี่ยงที่จะเป็น อาจด้วยพันธุกรรม หรือโรคที่พบบ่อย เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งในระยะแรกอย่าง มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
  2. ตรวจหาพฤติกรรมเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรค เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน เป็นต้น

ตรวจสุขภาพประจำปี-Fig-1-1024x1024.webp

อายุเท่าไหร่ ควรเริ่มตรวจสุขภาพประจำปี?


กลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่มีการแนะนำให้ตรวจสุขภาพประจำปี เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อความเสื่อมสภาพของร่างกายและโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น เป็นช่วงอายุของวัยทำงาน ซึ่งมักไม่มีเวลาดูแลตัวเอง เครียดจากการทำงาน ในขณะเดียวกัน เป็นวัยที่มีกำลังทรัพย์ สามารถเลือกกินอาหารตามใจตัวเองมากขึ้น อาจมีปัญหาทางด้านโภชนาการ


แต่กลับไม่ใช่ช่วงวัยที่สามารถซ่อม สร้าง เสริม ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับวัยเด็กหรือวัยรุ่น


ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม หากท่านมีความเสี่ยงของโรคมากกว่าคนทั่วไป เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรค ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพแต่เนิ่น ๆ


เริ่มดูแลสุขภาพวันนี้ ด้วยแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับวัย 30 ปีขึ้นไป

แพ็กเกจ Freshy Premium : แพ็กเกจครอบคลุม เช็กสุขภาพเชิงลึก เช่น ตรวจมะเร็งบางชนิด สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Freshy Premium (บุรุษ-สตรี)


ตรวจสุขภาพประจำปี-Fig-3-1024x1024.jpeg

การตรวจสุขภาพประจำปีในแต่ละช่วงอายุ


1. ผู้ที่มีอายุ 30 – 50 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่มักมีภาระความรับผิดชอบในการทำงานที่สูงกว่าวัยอื่น มีเวลาดูแลตัวเองน้อยและมีความเครียดอย่างที่กล่าวไปข้างต้น โดยการตรวจเบื้องต้นที่แนะนำ คือ


  • การตรวจร่างกายทั่วไป และหากมีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง เบาหวาน มะเร็ง หรืออื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบตอนซักประวัติ เพื่อรับข้อแนะนำที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสุขภาพ
  • ตรวจการได้ยิน และตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
  • การตรวจหาความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะซึมเศร้า
  • หากดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือมีประวัติใช้สารเสพติด ควรเข้ารับการตรวจประเมินสภาวะสุขภาพเพิ่มเติมเป็นพิเศษด้วย

ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ดังนั้น นอกจากการตรวจข้างต้นแล้วแนะนำให้ตรวจรายการเพิ่มเติมคือ


– ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละครั้ง หรือตามที่สูตินรีแพทย์แนะนำ

– อายุ 30 – 40 ปี หากประสงค์ตรวจเต้านม แนะนำตรวจคัดกรองด้วยการทำอัลตร้าซาวด์

– อายุตั้งแต่ 40 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


ข้อมูลเพิ่มเติม มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม


ผู้ที่อายุระหว่าง 40 – 50 ปี ควรตรวจวัดสายตาและสุขภาพดวงตาเพิ่มเติมด้วย


– คัดกรองโรคต้อหิน ภาวะความดันลูกตาสูง ความผิดปกติอื่น ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง


แนะนำแพ็กเกจ Fighting Advance — แพ็กเกจตรวจสุขภาพที่ออกแบบมาเพื่อวัย 40–50 ปี

แพ็กเกจตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมทุกมิติของปัญหาสุขภาพในวัยทำงาน รวมถึงการตรวจเชิงลึกเพื่อค้นหาโรคร้ายแรงในระยะเริ่มต้น

ตรวจเช็กให้ชัด ป้องกันได้ตั้งแต่ระยะแรก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Fighting Advance (สำหรับผู้หญิง) / Fighting Advance (สำหรับผู้ชาย)


2. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีเหมือนกับกลุ่มวัยทำงาน แต่จะมีการตรวจที่แนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม เนื่องจากอยู่ในวัยที่พบโอกาสที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น ได้แก่


  • ตรวจอุจจาระ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  • ตรวจปัสสาวะ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
  • การตรวจด้านภาวะทางโภชนาการ เช่น ระดับสารอาหารวิตามินต่าง ๆ
  • ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)
  • ควรตรวจวัดระดับน้ำตาล ตรวจไขมันในเลือด และประเมินภาวะการทำงานของไต ด้วยการตรวจวัดระดับครีอะทีนิน (creatinine) เป็นประจำ ตามที่แพทย์แนะนำ
  • ตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ และ ตรวจติดตามทุก 5-10 ปี ตามนัดหมายแพทย์
  • อายุ 60 ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน
  • อายุ 60 – 64 ปี ควรตรวจตาทุก 2 – 4 ปี
  • อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาทุก 1 – 2 ปี และตรวจประเมินสมรรถภาพสมอง

แนะนำแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 50 ปีขึ้นไป เพื่อให้การดูแลสุขภาพของคุณครอบคลุมและเหมาะสมกับช่วงวัย

👨 สำหรับผู้ชายอายุ 50+ แนะนำแพ็กเกจ Fitting Advance (ชาย)

👩 สำหรับผู้หญิงอายุ 50+ แนะนำแพ็กเกจ Fitting Advance (หญิง)


แพ็กเกจพรีเมียม สำหรับผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตรวจลึกขึ้น ครอบคลุมขึ้น พร้อมดูแลทุกระบบของร่างกายอย่างเหมาะสม

👨 สำหรับผู้ชายอายุ 60+ แนะนำแพ็กเกจ Fitting Premium (ชาย)

👩 สำหรับผู้หญิงอายุ 60+ แนะนำแพ็กเกจ Fitting Premium (หญิง)


ตรวจสุขภาพประจำปี-Fig-4-1024x1024.jpeg

3. ตรวจรายการเพิ่มเติมตามความเสี่ยง


โปรแกรมตรวจสุขภาพจะมีแพคเกจให้เลือกหลากหลาย โดยมักจะแบ่งตามช่วงอายุดังที่กล่าวไปข้างต้น


แต่หากสงสัยหรือพบว่าตนเองมีความเสี่ยง เช่น มีประวัติครอบครัว หรือมีอาการ/สัญญาณของโรคต่าง ๆ เช่น มีอาการแน่นหน้าอก ขับถ่ายผิดปกติ แขนขาอ่อนแรง หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ และสามารถเลือกการตรวจคัดกรองโรคที่สงสัยเพิ่มเติม หรือเลือกแพคเกจตรวจเป็นแพคเกจอื่นได้ แม้จะยังไม่ถึงช่วงอายุที่แนะนำ


ตรวจสุขภาพประจำปี-Fig-5-1024x1024.webp

ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร ?


การตรวจสุขภาพประจำปีไม่เพียงแต่ช่วยค้นหาโรคภัยต่าง ๆ เท่านั้น ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพยังสามารถบอกถึง ความแข็งแรง และความสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกายในปัจจุบันด้วย และยังเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนสุขภาพในอนาคต เช่น วางแผนการรับประทานอาหาร ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การวางแผนออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก การผักผ่อน ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพ และทำให้มีสุขภาพร่างกายที่ดีตามมาอีกด้วย


ตรวจสุขภาพประจำปี-Fig-6-1024x1024.jpg

สรุป


เรามักมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ หลายคนคิดว่าต้องรอให้มีอาการ หรือมีโรคประจำตัวก่อน แล้วค่อยไปตรวจ แต่ในความจริงแล้วการตรวจสุขภาพประจำทำให้เราทราบถึงสุขภาพร่างกายของเราในปัจจุบัน หรือหากตรวจพบโรค ก็จะเป็นการตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น โรคยังไม่รุนแรง ซึ่งทำให้รักษาได้อย่างทันท่วงที และมีโอกาศหายขาดได้ อีกทั้งยังเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนสุขภาพในอนาคต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคภัยอีกด้วย

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. พิมธิดา เลิศขจรสิน

พญ. พิมธิดา เลิศขจรสิน

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (13)

ดูทั้งหมด

Fitting Basic (สำหรับผู้หญิง)

Fitting Basic (สำหรับผู้หญิง)

เมื่ออายุเข้าสู่ช่วง 50 ปีขึ้นไป ร่างกายมักเริ่มแสดงสัญญาณของการเสื่อมถอยตามธรรมชาติ อีกทั้งความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและโรคที่พบบ่อยในวัยสูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งชนิดต่าง ๆ ภาวะกระดูกพรุน และโรคของระบบทางเดินอาหาร การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างละเอียดจึงมีบทบาทสำคัญในการคัดกรอง ป้องกัน และวางแผนการดูแลสุขภาพในระยะยาว

฿ 28,500

Fitting Basic  (สำหรับผู้ชาย)

Fitting Basic (สำหรับผู้ชาย)

เมื่ออายุเข้าสู่ช่วง 50 ปีขึ้นไป ร่างกายมักเริ่มแสดงสัญญาณของการเสื่อมถอยตามธรรมชาติ อีกทั้งความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและโรคที่พบบ่อยในวัยสูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งชนิดต่าง ๆ ภาวะกระดูกพรุน และโรคของระบบทางเดินอาหาร การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างละเอียดจึงมีบทบาทสำคัญในการคัดกรอง ป้องกัน และวางแผนการดูแลสุขภาพในระยะยาว

฿ 23,500

Fighting Basic (สำหรับผู้หญิง)

Fighting Basic (สำหรับผู้หญิง)

แพ็กเกจนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพอย่างครอบคลุมเพื่อวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว

฿ 11,200

Fighting Basic (สำหรับผู้ชาย)

Fighting Basic (สำหรับผู้ชาย)

แพ็กเกจนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพอย่างครอบคลุมเพื่อวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว

฿ 10,100

Fighting Advance  (สำหรับผู้หญิง)

Fighting Advance (สำหรับผู้หญิง)

แพ็กเกจนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพอย่างครอบคลุมเพื่อวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว

฿ 13,500

Fighting Advance (สำหรับผู้ชาย)

Fighting Advance (สำหรับผู้ชาย)

แพ็กเกจนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพอย่างครอบคลุมเพื่อวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว

฿ 16,200

Fitting Premium (สำหรับผู้หญิง)

Fitting Premium (สำหรับผู้หญิง)

เมื่ออายุเข้าสู่ช่วง 60 ปีขึ้นไป ร่างกายมักเริ่มแสดงสัญญาณของการเสื่อมถอยตามธรรมชาติ อีกทั้งความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและโรคที่พบบ่อยในวัยสูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งชนิดต่าง ๆ ภาวะกระดูกพรุน และโรคของระบบทางเดินอาหาร การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างละเอียดจึงมีบทบาทสำคัญในการคัดกรอง ป้องกัน และวางแผนการดูแลสุขภาพในระยะยาว

฿ 66,500

Fitting Premium (สำหรับผู้ชาย)

Fitting Premium (สำหรับผู้ชาย)

เมื่ออายุเข้าสู่ช่วง 60 ปีขึ้นไป ร่างกายมักเริ่มแสดงสัญญาณของการเสื่อมถอยตามธรรมชาติ อีกทั้งความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและโรคที่พบบ่อยในวัยสูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งชนิดต่าง ๆ ภาวะกระดูกพรุน และโรคของระบบทางเดินอาหาร การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างละเอียดจึงมีบทบาทสำคัญในการคัดกรอง ป้องกัน และวางแผนการดูแลสุขภาพในระยะยาว

฿ 62,500

Fitting Advance (สำหรับผู้หญิง)

Fitting Advance (สำหรับผู้หญิง)

เมื่ออายุเข้าสู่ช่วง 50 ปีขึ้นไป ร่างกายมักเริ่มแสดงสัญญาณของการเสื่อมถอยตามธรรมชาติ อีกทั้งความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและโรคที่พบบ่อยในวัยสูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งชนิดต่าง ๆ ภาวะกระดูกพรุน และโรคของระบบทางเดินอาหาร การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างละเอียดจึงมีบทบาทสำคัญในการคัดกรอง ป้องกัน และวางแผนการดูแลสุขภาพในระยะยาว

฿ 29,900

Fitting Advance (สำหรับผู้ชาย)

Fitting Advance (สำหรับผู้ชาย)

เมื่ออายุเข้าสู่ช่วง 50 ปีขึ้นไป ร่างกายมักเริ่มแสดงสัญญาณของการเสื่อมถอยตามธรรมชาติ อีกทั้งความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและโรคที่พบบ่อยในวัยสูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งชนิดต่าง ๆ ภาวะกระดูกพรุน และโรคของระบบทางเดินอาหาร การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างละเอียดจึงมีบทบาทสำคัญในการคัดกรอง ป้องกัน และวางแผนการดูแลสุขภาพในระยะยาว

฿ 25,900

Freshy Basic (บุรุษ-สตรี)

Freshy Basic (บุรุษ-สตรี)

แพ็กเกจนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้น อายุช่วง 20 ปีเป็นต้นไป การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นแนวทางสำคัญในการเฝ้าระวัง ปรับพฤติกรรมด้านสุขภาพและวางแผนป้องกันที่ถูกต้อง

฿ 2,750

Freshy Advance (บุรุษ-สตรี)

Freshy Advance (บุรุษ-สตรี)

แพ็กเกจนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้น อายุช่วง 30 ปีเป็นต้นไป การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นแนวทางสำคัญในการเฝ้าระวัง ปรับพฤติกรรมด้านสุขภาพและวางแผนป้องกันที่ถูกต้อง

฿ 6,100

Freshy Premium  (บุรุษ-สตรี)

Freshy Premium (บุรุษ-สตรี)

แพ็กเกจนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับกลุ่มคนวัยทำงานตอนต้น อายุช่วง 30 ปีเป็นต้นไป การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นแนวทางสำคัญในการเฝ้าระวัง ปรับพฤติกรรมด้านสุขภาพและวางแผนป้องกันที่ถูกต้อง

฿ 12,000

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital