บทความสุขภาพ

Knowledge

อาการโรคไทรอยด์! คุณกำลังมีอาการเหล่านี้หรือไม่?

ต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายผีเสื้ออยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตอีกด้วย อีกทั้งยังทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ควบคุมอุณภูมิร่างกาย และยังมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ


ดังนั้นเมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติไป ก็จะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์มากเกินไป (ไทรอยด์เป็นพิษ) ภาวะไทรอยด์น้อยเกินไป (ไทรอยด์ต่ำ) หรือความผิดปกติอื่น ๆ ของต่อมไทรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเหล่านี้จะมีอาการแตกต่างกันออกไป


บทความนี้จะอธิบายถึงอาการของโรคไทรอยด์แต่ละประเภท เพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตตัวเองเบื้องต้น และหากสงสัยก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

สัญญาณเตือนว่ากำลังมีอาการโรคไทรอยด์


เนื่องจากความผิดปกติหรือโรคของต่อมไทรอยด์เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไทรอยด์สูง ไทรอยด์ต่ำ เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งของต่อมไทรอยด์ มะเร็งไทรอยด์ ไทรอยด์อักเสบ ทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการที่แตกต่างกันได้ แต่อย่างไรก็ตามอาการของโรคไทรอยด์ที่มักพบได้บ่อยได้แก่


  • น้ำหนักลด หรือเพิ่มผิดปกติ
  • ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก หรือขี้หนาว รู้สึกหนาวตลอดเวลา
  • หงุดหงิดง่าย
  • นอนไม่หลับ
  • ตาโปน
  • ใจสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • ผมร่วง ผิวแห้ง
  • คอมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • คอพอก
  • กลืนลำบาก

อาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป


อาการไทรอยด์เป็นพิษ


ไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) หรือภาวะไทรอยด์สูงเกินไป เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการเหล่านี้


  • หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
  • หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน กระสับกระส่าย
  • เหงื่อออกง่าย
  • นอนไม่หลับ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • น้ำหนักลด
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ระคายเคืองตา ตาไวต่อแสง มองเห็นภาพไม่ชัด หรือตาโปน

อาการไทรอยด์ต่ำ


ภาวะไทรอยด์ต่ำ (hypothyroidism) เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งจะตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์เป็ยพิษ โดยมักมีอาการดังนี้


  • เหนื่อยง่าย
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ไวต่ออากาศเย็น ขี้หนาว
  • ผมแห้ง ผมบาง ผิวแห้ง
  • เสียงแหบ
  • หน้าบวม
  • มีปัญหาเรื่องความจำ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อย
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติในผู้หญิง
  • มีภาวะซึมเศร้า

แต่ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการชัดเจน ทำให้บางครั้งไม่ทราบว่าเริ่มมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์


อาการโรคไทรอยด์กลุ่มที่มีก้อนของต่อมไทรอยด์ที่ไม่ใช่มะเร็ง


ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจไม่มีอาการใด ๆ แต่พบว่ามีก้อนที่คอ หรือคอมีขนาดใหญ่ขึ้น ในผู้ป่วยรายที่มีก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่หรือมีหลายก้อน อาจทำให้มีอาการกลืนลำบาก


หรือหากก้อนเนื้องอกนั้นมีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ด้วย ผู้ป่วยก็จะมีอาการของไทรอยด์สูงร่วมด้วย


อาการของมะเร็งไทรอยด์


  • มีก้อนที่คอทั้งขนาดเล็ก ๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่
  • คอโตขึ้น รู้สึกแน่น ๆ ที่คอ
  • กลืนลำบาก
  • เสียงแหบ
  • หายใจลำบาก

อาการโรคไทรอยด์อักเสบ


ไทรอยด์อักเสบ (thyroiditis) เกิดได้จากหลายสาเหตุ รวมถึงภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำให้ต่อมไทรอยด์อักเสบซึ่งในทางการแพทย์เรียกโรคนี้ว่า Hashimoto disease ซึ่งทำให้มีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ


ผู้ป่วยมักไม่มีอาการในช่วงแรก แต่จะสังเกตได้ว่าต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้นอย่างช้า ๆ ทำให้คอด้านหน้าดูบวม และหากอาการเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น


  • เหนื่อยง่าย
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • หัวใจเต้นช้า
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ท้องผูก
  • ตาและใบหน้าบวม
  • ผิวแห้ง ผิวบาง ผมร่วง
  • หากเป็นผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จะมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติหรือมามาก ตั้งครรภ์ยาก
  • มีปัญหาด้านความจำ สมาธิ มีภาวะซึมเศร้า

อาการของโรคคอพอก


โรคคอพอกคือโรคที่มีต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยอาจมีหรือไม่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์หรือไม่ก็ได้ ผู้ที่เป็นโรคคอพอกอาจมีฮอร์โมนไทรอยด์สูง หรือต่ำกว่าปกติ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ


ผู้ป่วยที่เป็นคอพอกที่มีระดับฮอร์โมนสูงก็จะแสดงอาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยที่มีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำก็จะแสดงอาการของภาวะไทรอยด์ต่ำ หรือถ้าคอพอกมีขนาดใหญ่มากก็อาจทำให้กลืนลำบากได้

สรุป


ต่อมไทรอยด์มีความสำคัญต่อระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และยังมีผลต่อการทำงานของหลาย ๆ อวัยวะในร่างกาย หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์ เช่น เกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือไทรอยด์ต่ำ ก็จะมีอาการผิดปกติต่าง ๆ แสดงให้เห็น เช่น น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง ขี้ร้อน ขี้หนาว อ่อนเพลีย รอบตาบวม หน้าบวม ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ หรือสงสัยว่ากำลังมีอาการโรคไทรอยด์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital