บทความสุขภาพ

Knowledge

ผิวหนังในผู้หญิงแต่ละวัย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ในแต่ละช่วงชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ผิวหนังก็เช่นกัน โดยการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังในบางวัยก็จะก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังต่าง ๆ ตามมา เช่น การเป็นสิวในวัยรุ่น


เราจึงควรต้องทำความรู้จักกับผิวหนังและเกิดการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัย เพื่อเตรียมตัวดูแลผิวหนังให้สดใส สมวัย


เริ่มที่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่น เป็นช่วงที่ผิวหนัง มีการเปลี่ยนแปลงมากด้านการเจริญเติบโต คือ มีการเพิ่มขึ้นของผิวหนังตามขนาดน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วพื้นที่ผิวของผิวหนังจะขยายประมาณ 7 เท่า นับตั้งแต่แรกเกิดจนโตเต็มวัย อีกทั้งผิวหนังเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลของฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง โดยฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (growth hormone) และฮอร์โมนเพศ


การเปลี่ยนแปลงผิวหนังแต่ละวัย


  • วัยเด็ก ผิวหนังมักไม่ค่อยมีปัญหา นอกจากมีการผิดปกติของผิวหนังที่ได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรมอยู่แล้วจนเข้าสู่วัยเรียน เมื่อเข้าโรงเรียนจะมีโอกาสเกิดผิวหนังอักเสบติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น หัด หัดเยอรมัน สุกใส หูด หูดข้าวสุก แผลพุพอง จนไปถึงหิดและเหาซึ่งจะติดต่อกันง่ายในโรงเรียน
  • วัยรุ่น ด้วยอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ ทำให้มีขนขึ้นตามที่ต่าง ๆ ของร่างกาย และต่อมไขมันทำงานมากขึ้นจึงทำให้เกิดสิว ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ในวัยรุ่นเกือบทุกคน รวมถึงผื่นแพ้สัมผัสจากเครื่องสำอางก็สามารถพบได้เพราะวัยรุ่น เป็นวัยที่รักสวยรักงาม และเริ่มมีการใช้เครื่องสำอางต่าง ๆ มากขึ้น อีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย คือ ปัญหากลิ่นตัว เนื่องด้วยอิทธิพลของฮอร์โมน ทำให้ต่อมเหงื่อ ต่อมสร้างกลิ่นทำงานมากขึ้นนั่นเอง
  • วัยผู้ใหญ่วัยทำงาน เป็นวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีระดับฮอร์โมนเพศหญิงเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือน ซึ่งผิวหนังก็ได้รับอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วยที่พบได้บ่อย คือ ผิวหน้า เส้นผม รู้สึกมันขึ้นหรือแห้งลง ผิวหนังบวมน้ำขึ้น เป็นสิว ถ้ามีโรคผิวหนังอยู่แล้ว เช่น สะเก็ดเงิน ผื่นหน้าแดง เริม ช่วงมีรอบเดือนจะมีอาการของโรคนั้น ๆ มากขึ้นได้
  • วัยทำงาน ในบางอาชีพที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี โลหะบางอย่าง อาจทำให้เกิดผื่นผิวหนังต่าง ๆและโรคที่เกิดจากอาชีพการงานได้ ผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากเครื่องสำอาง ก็พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยนี้เพราะเป็นวัยที่มีการใช้เครื่องสำอางกันทั่วไป
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่าง ๆ มากมาย ส่งผลทั้งต่อร่างกายและจิตใจและส่งผลต่อผิวหนัง คือ มีการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนังบริเวณต่าง ๆ มากขึ้น เช่น หัวนม อวัยวะสืบพันธุ์ ผิวหนังบริเวณตรงกลางของหน้าท้อง ร่วมกับมีการขยายของผิวหนังมากในทุกส่วน ทั้งหน้าท้อง แขนขา ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแตกลาย และผื่นคันได้มากกว่าปกติ ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อก็ทำงานมากขึ้นระหว่างที่ตั้งครรภ์ จึงอาจพบว่ามีเหงื่อออกมากจนเกิดผื่น ผิวหนังอักเสบจากเหงื่อ ผิวจะมันขึ้นจนอาจพบสิวที่ใบหน้า หน้าอกและแผ่นหลังได้มากขึ้น เล็บ ผมและขนตามร่างกายก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน บางคนจะมีขนตามร่างกายมากขึ้นได้ เล็บมีการร่อนได้ ส่วนผมไม่พบว่ามีการร่วงมากขึ้นหรือขึ้นดกกว่าปกติ จนกระทั่งหลังคลอดซึ่งจะมีโอกาสเกิดผมร่วงบางหลังคลอดได้
  • วัยหมดประจำเดือน เมื่อเข้าสู่อายุ 45- 55 ปี ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ในวัยนี้ฮอร์โมนเพศจากรังไข่จะลดลงมาก ซึ่งมีผลต่อผิวหนังโดยตรง ทั้งผิวหนัง ร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ ผิวหนังจะเสียความยืดหยุ่นไป ผิวจะแห้งและบางลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของผิวหนังได้ง่ายขึ้น ผิวหนังที่แห้งก็เป็นผื่นได้ง่ายเช่นกัน การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยนี้ ก็มีผลโดยตรงต่อผิวหนัง โดยฮอร์โมนทดแทนสามารถกระตุ้นให้เกิดฝ้า หลอดเลือดฝอยที่ผิวหน้าขยาย ไฝที่มีอยู่เข้มขึ้น โตขึ้น นอกจากนี้มีรายงานว่าการให้ฮอร์โมนทดแทนอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดผื่นลมพิษเรื้อรัง และโรคผิวหนังบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับแสงแดด
  • วัยหลังหมดประจำเดือน ผิวหนังของผู้หญิงวัยนี้ จะเสียความยืดหยุ่นไปมาก อีกทั้งเกิดริ้วรอย จุดด่างดำมากโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด ซึ่งผิวหนังบางลงและมีเนื้องอกของผิวหนังต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ซีสต์ ใต้ผิวหนังและมะเร็งผิวหนังชนิดต่าง ๆ ต่อมไขมันทำงานน้อยลงมาก ส่งผลให้ผิวหนังแห้ง ในบางคนผิวจะแห้งมาก จนเกิดอาการคันที่ผิวหนังเรื้อรัง และอาการคันที่ผิวหนังเรื้อรัง บางครั้งก็เป็นอาการแสดงของโรคบางโรคได้ ผมจะบางลง และมีสีผมจางลง มีผมหงอกมากขึ้น หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังเปราะแตกง่าย จึงอาจเกิดรอยช้ำ จ้ำเลือดใต้ผิวหนังได้บ่อย

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital