บทความสุขภาพ

Knowledge

Q-SWITCHED ND-YAG LASER


เป็นเครื่องเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 2 รูปแบบ คือ 1,064 นาโนเมตร และ 532 นาโนเมตร (Frequency-double mode) โดยความกว้างของคลื่น (Pulse Width) 10-20 นาโนเซค และความถี่ 10 เฮริ์ท พลังงานประมาณ 5-7 จูลต่อตารางเซนติเมตร ใช้ในการรักษาความผิดปกติของเม็ดสีอย่างได้ผล เนื่องจากเลเซอร์ชนิดนี้ออกฤทธิ์ทำลายเม็ดสีที่ผิดปกติโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็ดสีที่มีลักษณะเป็นสีน้ำเงินถึงดำคล้ำ โดยแสงเลเซอร์สามารถทะลุทะลวงลงไปใต้ผิวได้ ประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร จึงเหมาะที่จะใช้ทำลายรอยดำคล้ำที่อยู่ลึกๆ ในชั้นหนังแท้อย่างได้ผล เช่น ริมฝีปากดำคล้ำ รอยสักคิ้ว รอยสักตามบริเวณลำตัว และกระแดด ที่มีลักษณะเป็นวง (Solar Lentigenes) หรือ กระลึกบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง (Nevus of Ota or Hori’s nevus)ความถี่ของการยิงเลเซอร์


  • ปัญหาริมฝีปากดำคล้ำ ควรยิงอย่างน้อย 3 ครั้งโดยประมาณ แต่ละครั้งห่างกัน 1-2 สัปดาห์ รอยดำคล้ำจะดีขึ้นได้มากถึง 70-80%
  • รอยสัก ควรยิง 3-5 ครั้งโดยประมาณ แต่ละครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นกับความลึกของการสักและปริมาณเม็ดสีที่สักเข้าไปบริเวณผิวเลเซอร์ชนิดนี้สามารถกำจัดรอยสักได้ดีหากเป็นรอยสักที่มีสีดำ น้ำตาล ฟ้า และแดง แต่ไม่สามารถรักษารอยสักที่มีสีเขียวและเหลืองได้
  • กระแดงที่มีลักษณะเป็นวง การยิงเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้รอยดำจางลงได้มากถึง 80% ขณะที่กระลึกบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้างควรทำอย่างน้อย 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-6 สัปดาห์ หลังยิงกระลึกพบว่าบริเวณที่ได้รับการรักษาอาจมีสีน้ำตาลเข้มขึ้นกว่างเดิม เนื่องจากเลเซอร์ ได้ทำลายเชลสร้างเม็ดสีผิดปกติไป ทำให้เกิดการแตกตัวของเซลสร้างเม็ดสีเป็นส่วนเล็กๆ ที่เม็ดเลือดขาวสามารถกำจัดออกไปได้ เมื่อร่างกายกำจัดเม็ดสีเหล่านี้หมด ผิวบริเวณดังกล่าวก็จะค่อยๆ กลับสู่สภาพปกติซึ่งต้องใช้เวลา 2-3 เดือน โดยประมาณ


บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital