บทความสุขภาพ

Knowledge

คืนความกระชับให้ผิวหน้าด้วย Ulthera

พญ. ณัฐินี จิตครองธรรม

ปัญหาเรื่องความหย่อนคล้อย หน้าไม่เรียว คิ้วตก หางตาตก แก้มและคางดูไม่กระชับ ซึ่งมาจากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก


โดยปัจจัยภายใน ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น การสูญเสียคอลลาเจนในผิวหนัง และปัจจัยภายนอกร่างกาย ได้แก่ มลภาวะ ฝุ่น แสงแดด ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของผิวพรรณ จนอาจทำให้ขาดความมั่นใจ ดังนั้นนอกจากการดูแลสุขภาพที่ดี การทำเลเซอร์ยกกระชับผิวเช่นการทำ Ulthera คืออีกหนึ่งทางเลือกในการคงความอ่อนเยาว์ให้ยืนยาว


Ulthera คือ เทคโนโลยีการรักษาโดยใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงที่มีความเฉพาะเจาะจงและแม่นยำ (Micro-focused Ultrasound) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ได้ผลดีที่สุดตัวหนึ่งในวงการแพทย์ผิวหนัง เป็นเทคโนโลยียกกระชับผิวบริเวณใบหน้าและลำคอที่หย่อนคล้อย ลดริ้วรอยบริเวณใบหน้าโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ทำให้เกิดบาดแผลภายนอก จึงไม่ต้องพักฟื้น โดยใช้เวลาในการรักษาเพียง 90-120 นาที ใบหน้าและลำคอจะยกกระชับหลังทำทันที ผลลัพธ์จะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆหลังการรักษาภายใน 1-3 เดือน โดยการรักษาเพียง 1 ครั้ง ผลลัพธ์สามารถอยู่ได้นาน 1-2 ปี


หลักการทำงานของเครื่อง Ulthera


คือ การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ความถี่สูงแบบเฉพาะเจาะจง (Micro-focused Ultrasound with Visualization) ยิงส่งไปยังใต้ผิวลงลึกถึงชั้น SMAS ซึ่งเป็นชั้นกล้ามเนื้อที่มีผลในการยกกระชับใบหน้าและลำคอ เพื่อให้เกิดความร้อนประมาณ 65-70°c ด้วยจุดพลังงานขนาด 1 mm ลักษณะเป็นจุดไข่ปลาเล็กๆเรียงกันเป็นเส้นตรง โดยเครื่องจะมีหน้าจอในการดูระดับความลึกของพลังงานที่ยิงลงไป จึงทำให้การรักษามีความแม่นยำสูง


ขั้นตอนการรักษาด้วย Ulthera


  1. วางแผนการรักษากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นที่พึงพอใจกับผู้เข้ารับการรักษา
  2. แพทย์จะทำการส่งคลื่นอัลตราซาวด์ลงสู่ชั้นใต้ผิวหนัง ลงลึกไปสู่ชั้น SMAS ขณะทำการรักษาแพทย์สามารถมองเห็นชั้นผิวของคนไข้ได้ผ่านหน้าจอเครื่อง Ulthera ทำให้มีความแม่นยำในการรักษา
  3. การรักษาใช้เวลาประมาณ 90-120 นาที

สำหรับการดูแลหลังการรักษาด้วย Ulthera ผู้เข้ารับการรักษาสามารถแต่งหน้าและทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ โดยไม่ต้องพักฟื้น

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. ณัฐินี จิตครองธรรม

พญ. ณัฐินี จิตครองธรรม

ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital